ข่าวปลอม!!!!!!! การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารประเด็นเรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการให้ข้อมูลที่ระบุว่าผู้ว่าการรถไฟประเทศไทย ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกา ที่ตัดสินคดีให้ยึดที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นดังกล่าวว่า สำหรับที่ดินที่มีข้อพิพาท รฟท. ได้ยึดแนวทางในการดำเนินการทุกขั้นตอนบนหลักการว่าประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการ และอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต

โดยจะต้องมีการดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดจากกระบวนการสำรวจ และออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อนในอดีตทำให้เกิดกรณีของการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน ซึ่ง รฟท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ์ และขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด

สำหรับปัญหาที่ดินของ รฟท. บริเวณเขากระโดง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน มีผู้บุกรุกประมาณ 83 ราย ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกตามขั้นตอนภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด และ

2. ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน และมีความสลับซับซ้อน เกิดขึ้นจากกระบวนการสำรวจการออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อน

ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา รฟท. ได้เสาะหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด โดยล่าสุดเมื่อต้นปี 2564 รฟท. ได้ดำเนินการสำรวจที่ดินบริเวณเขากระโดงโดยไม่ได้มีการสำรวจที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ

พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย น.ส.3ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์จำนวน 53 แปลง และอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง

โดยการดำเนินการกรณีประชาชนฟ้อง รฟท. ประชาชน ได้ฟ้อง รฟท. โดยอ้างสิทธิ์ตาม ส.ค.1 และ นส.3 ก. และ รฟท. ได้เข้าต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาในคดีเหล่านั้นเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดย รฟท. ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. ซึ่ง รฟท. ได้ดำเนินบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในแต่ละคดีแล้ว

อย่างไรก็ดีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีโดยไม่ผูกพันบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความตามคดีนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 การดำเนินการกรณีไม่มีข้อพิพาทในศาล รฟท. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อหาข้อยุติในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์บนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้กรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เพื่อพิจารณาทบทวนการใช้อำนาจดังกล่าว

โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 รฟท. ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้กรมที่ดินดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใด โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้” ทั้งนี้ รฟท. ยืนยันที่จะดำเนินการในเรื่องนี้จนถึงที่สุด และหากในอนาคตจะปรากฏผลการวินิจฉัยอันถึงที่สุดเป็นประการใด รฟท. ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเคร่งครัดต่อไป

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมไม่ฟ้องประชาชนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีที่กรมที่ดินได้มีหนังสือหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ซึ่ง รฟท. ไม่ทราบว่ากรมที่ดิน ได้หารือประเด็นใดรวมถึงการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเพียงใด

อย่างไรก็ดี รฟท. ได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาในการดำเนินการแล้วเห็นว่า การที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับบนที่ดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. เป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต รฟท. จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ

แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการ จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และมีข้อเท็จจริงปรากฏตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ทำให้ รฟท. เชื่อได้ว่าการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่บริเวณเขากระโดงโดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมาย

ย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการรถไฟฯ จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่ เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com หรือโทร Call Center 1690



Written By
More from pp
บี.กริม เพาเวอร์ รุก “โซลาร์ รูฟท็อป” และ “โซลาร์ ลอยน้ำ” ขยายตลาดในประเทศ – ต่างประเทศ  ลุยปั้นโมเดล “พลังงานสะอาด” ตอบโจทย์ลูกค้าใหม่ทั้งภาครัฐ เอกชน
จากนโยบาย ของ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานสะอาดตามวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก สร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดได้ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) 
Read More
0 replies on “ข่าวปลอม!!!!!!! การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();