รู้ทันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภัยเงียบใกล้ตัว เสี่ยงเป็นซ้ำแต่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุด

ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ เผยพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 600,000 รายต่อปี และในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละกว่า 7,000 ราย หรือ เทียบเท่า 19 รายต่อวัน มากขึ้นกว่าเท่าตัว นับเป็นโรคร้ายใกล้ตัว เนื่องจากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอับดับ 1 ของมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำในสองปีแรก

ทางชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย จึงจัดงาน ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข : Miracle is all AROUND 2021” เนื่องใน”วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก” ให้ความรู้ พร้อมพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาที่จะมาแนะนำแนวทางการรักษา และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้คนไข้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกคน มีคุณภาพชีวิต และแรงบันดาลใจที่ดี ในวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ผ่านระบบออนไลน์ Zoom โดยมีผู้ป่วยและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก

ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ประธานคณะทำงานการวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย (Thai Lymphoma Study Group) อดีต ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า พบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 600,000 รายต่อปี และในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละกว่า 7,000 ราย หรือ เทียบเท่า 19 รายต่อวัน มากขึ้นกว่าเท่าตัว นับเป็นโรคร้ายใกล้ตัว เนื่องจากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอับดับ 1 ของมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำในสองปีแรกหลัง  

โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Non-Hodgkin lymphoma หรือ NHL และ  ชนิด Hodgkin lymphoma หรือ HL  โดยในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจน แต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่

  • อุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ช่วง อายุ  60-70 ปี  อย่างไรก็ตามมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด HD สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุน้อยตั้งๆแต่ 20-30 ปีอีกด้วย
  • เพศ : เพศชายพบเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
  • การติดเชื้อ : พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร (H. pylori) การติดเชื้อไวรัส EBV (Epstein-Barr Virus)
  • ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย : ผู้ป่วยติดเชื้อ เอช ไอ วี (HIV) พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง  : ผู้ป่วยโรค เอส แอล SLE  พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง เป็นระยะเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ทางด้าน ดร.นพ.อาจรบ คูหาภินันทน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบัน กล่าวว่า ถึงแม้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบมาก แต่ก็เป็นโรคมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัญหาของผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเหมือนอาการอื่นๆ ที่พบได้ในภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นไข้ และน้ำหนักลด

ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดี รวมถึงการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโอกาสในการหายจากโรคได้มากขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วนั้น ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนสำคัญในการผลักดัน และให้กำลังใจผู้ป่วยระหว่างการรักษา ร่วมกับแพทย์ที่จะให้การรักษาที่ดีที่สุด และมีโอกาสหายมากที่สุด โดยทั่วไปอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะกินเวลานาน และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น เมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น

สำหรับวิธีการรักษาด้วยนวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ ได้แก่ การใช้เคมีบำบัด ยาแอนติบอดี้การฉายแสงสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดหรือก้อนมะเร็งที่โตเฉพาะที่ และการปลุกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำ   มีผู้ป่วย 60% ตอบสนองกับการรักษามาตรฐาน และอีกกว่า 40 % ที่ไม่ตอบสนองกับการรักษา ซึ่งแบ่งเป็น 15% ที่ดื้อต่อการรักษา และ 25 % ที่กลับมาเป็นซ้ำภายในระยะเวลา ปี ปัจจุบันในคนไข้กลุ่มที่ไม่ตอบสนองกับการรักษา มีแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ 1. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด สำหรับที่ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการปลูกถ่ายเซล์ต้นกำเนิดได้ 2.นวัตกรรมการรักษารวมไปถึงยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นทางเลือกให้คนไข้กลุ่มที่ไม่สามารถการปลุกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ ซึ่งผลการรักษาได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปัจจุบันถือว่าเป็นโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และทั่วโลก จึงยกให้วันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ตรงกับ “วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก” ในปีนี้ “ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย” ด้วยความร่วมมือจากโรงเรียนแพทย์ และสถานพยาบาลที่สำคัญของประเทศ รวม 13 แห่ง ได้จัดกิจกรรมน่าสนใจมากมาย อาทิ

  • เปิดงานด้วยหนังสั้น ตื๊อไม่หยุด : The Lymphoma War”
  • พูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา เกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบัน และไขทุกข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • นำทีมโดย เบลล่า ศิรินทิพย์ (อดีตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะเกินสุดท้าย)
  • ช่วง “เรื่องจริงประสบการณ์ตรง” กับอดีตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่จะมาแบ่งปันแรงบันดาลใจดีๆ พร้อมเคล็ดไม่ลับในการดูแลตัวเอง
  • และปิดท้าย กิจกรรม “Miracle is all around by ว่าน ธนกฤต

นอกจากนี้ในงานยังร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ป่วย กับการต่อสู้กับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยมีคุณพงศ์พันธุ์ พงษ์ภัทรากร ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Diffuse large B cell lymphoma กล่าวว่า เมื่อ 4 ปีก่อนได้ตรวจพบเริ่มจากมีก้อนที่คอจึงไปตรวจเพิ่มเติมพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้สึกตกใจและคิดว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่เมื่อได้ปรึกษาทางคุณหมอถึงแนวทางและขั้นตอนการรักษาพบว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่รู้ไว สามารถรักษาให้หายได้ จึงรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นและได้เข้ารับการรักษาครั้งแรกเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน

โดยให้คีโมทั้งหมด 6 เข็ม หลังจบการรักษาแล้ว  โรคสงบเป็นระยะเวลาเกือบ ปี แต่ในช่วงที่ติดตามอาการ ตรวจพบโรคกลับเป็นซ้ำอีกครั้งโดยเริ่มมีก้อนที่คางอีกครั้งทำให้หน้าบวมไม่เท่ากัน จึงทำการรักษาอีกครั้งตามขั้นตอนทางการแพทย์แม้ว่าการรักษาครั้งที่ 2 ยาคีโมจะแรงกว่าการรักษาครั้งแรกก็ตาม แต่มีกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญจากคนใกล้ตัว ซึ่งตัวเองมีลูกสาวและภรรยาดูแลอย่างดีและใกล้ชิด โดยคอยสังเกตอาการ ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พาไปหาหมอตามนัดตลอดทุกครั้ง ทำให้มีกำลังใจที่ดีขึ้นเพื่อที่จะต่อสู้และมีความหวังจากการรักษาว่าจะต้องหายจากโรคได้อย่างแน่นอน  เชื่อมั่นในขั้นตอนการรักษาและวิธีการรักษาใหม่ๆ  ปัจจุบันโรคสงบอีกครั้งหลังเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2

 

Written By
More from pp
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มอบรางวัล “Krungsri IMAX Video Contest 2023” นักศึกษา ม.กรุงเทพ คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมโอกาสต่อยอดสู่การเป็นครีเอเตอร์มืออาชีพ
ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยกับการประกวดคลิปวีดีโอ “Krungsri IMAX Video Contest 2023” เส้นทางความฝันสู่การเป็นครีเอเตอร์ จัดโดย บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป...
Read More
0 replies on “  รู้ทันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภัยเงียบใกล้ตัว เสี่ยงเป็นซ้ำแต่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุด”