นิพนธ์ ลุยเมืองชล ติดตามแผนป้องกันอุทกภัย-ผลกระทบ EEC พร้อม เน้นย้ำ นโยบายความปลอดภัยทางถนน พื้นที่ภาคตะวันออก

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีมอบนโยบายแนวทางในการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ปัญหาที่ดิน การป้องกันและลงอุบัติเหตุทางถนน และติดตามรับฟังผลกระทบของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีนายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะเมืองพัทยาสิ่งที่ต้องแก้ปัญหาคือต้องมาทบทวนแผนเผชิญเหตุและจุดอ่อนไหวที่ล่อแหลม จุดไหนอ่อนไหวที่สุด และให้ความสำคัญกับจุดนั้นก่อน เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวจะปล่อยให้น้ำท่วมเป็นประจำไม่ได้ เพราะมันจะกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและการลงทุน

ฝากให้การตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์การใช้งานการระบายน้ำ เช่น เครื่องสูบน้ำ พาหนะ เรือท้องแบน ควรจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานในการขนย้ายอพยพ

สิ่งสำคัญที่ควรเน้นย้ำ คือ การกำหนดจุดพื้นที่ปลอดภัยต่อการอพยพคนที่เรียกว่าศูนย์พักพิงชั่วคราว ต่อสิ่งล่อแหลมจากสถานการณ์น้ำท่วม และควรมีการซักซ้อมประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์จริงใครจะเข้าถึงสถานการณ์เป็นกลุ่มแรกและกลุ่มต่อไปเพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ความพร้อมการแจ้งเตือนประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ถือเป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถช่วยลดการสูญเสียได้ จากบทเรียน กรณี พายุโพดุล และพายุปลาบึก ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิตเพียง 1 รายเท่านั้น ทำให้เห็นความแตกต่างของตัวเลขความสูญเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้ามีส่วนสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการเตรียมการยังไม่เข้มแข็ง ทำให้เห็น ได้ชัดเจนว่าการแจ้งเตือนประชาชนอยู่ในระดับต่ำมาก ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้สามารถทำได้หลายช่องทาง Facebook Fanpage เว็บไซต์ ไลน์ วิทยุชุมชน ของหน่วยงานต่างๆก็ตาม ถือเป็นการแจ้งเตือนภัยได้ทั้งประเทศ

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างเช่นเมืองพัทยา ถือเป็นอีกเมืองที่มีความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งเพราะเป็นเมืองปลายทาง แต่ก็ต้องดูว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมจะสามารถกักเก็บน้ำในส่วนที่ดีไม่มีสิ่งเจือปนไว้ใช้ได้อย่างไร และส่วนไหนควรที่จะปล่อยทิ้งลงทะเล

ซึ่งเรื่องนี้กรมชลประทานจะต้องเข้ามาดูแลบริหารจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงความต้องการน้ำในการอุปโภคบริโภคของประชาชน กับปริมาณน้ำฝนที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ กักเก็บน้ำมีจำกัดไม่สามารถรองรับการขยายตัวดังกล่าวได้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ


การแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ EEC ต้องเริ่มจากการสร้างระบบให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยนำน้ำเสียจากทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และชุมชน กลับมาบำบัดเพื่อนำมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เป็นการลดปริมาณการใช้น้ำและแก้ปัญหามลพิษน้ำเสีย

นอกจากนี้ รมช.มท. กล่าวถึง ความปลอดภัยทางท้องถนนในช่วงวันหยุดยาว 25 -​ 28 ก.ค. นี้ ขอให้ทางจังหวัดเตรียมความพร้อมการจราจรและดูแลความปลอดภัยการเดินทางของประชาชนจำนวนป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช่น ขับรถเร็ว เมาขับ และการฝ่าฝืนข้อบังคับจราจร

ทั้งนี้ ได้กำชับให้เพิ่มการเฝ้าระวัง รวมทั้งมีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหากับพื้นที่ล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากข้อมูลสถิติที่มีต่อเนื่องกันมา โดยขอให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมทำงานกับจิตอาสาในพื้นที่เพื่อร่วมกันลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้น

ดังนั้น จึงให้จังหวัดได้ดำเนินการจัดการประชุมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)​ ในทุกระดับทั้ง จังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น ให้ติดตามงานและจัดการประชุมสรุปผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อม ทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสูญเสียบนท้องถนนให้ได้มากที่สุด

ต่อมา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะทำงานลงพื้นที่ติดตามการดูแลความปลอดภัยการท่องเที่ยวแบบ New Normal พร้อมติดตามการบริหารจัดการบำบัดน้ำเสียบนเกาะเสม็ดให้มีประสิทธิภาพ

นายนิพนธ์ฯ กล่าว่า มาติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำเสียของจังหวัดระยองซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ 2 ของประเทศ การวางแผนระบบน้ำเสีย อยากให้ทำเป็นระบบเพื่อรองรับในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเสียเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ในฐานะที่องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลอยู่

โดยให้ท้องถิ่นจับมือกับ อจน.ดูแลแก้ไข แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บูรณาการในพื้นที่ร่วมกันให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบ พร้อมส่งเสริมให้เกิดการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กับประชาชนในการบริหารจัดการน้ำเสียรวมถึงการตอกย้ำในความร่วมมือของหน่วยงานภาคีด้านการบริหารจัดการน้ำเสียในการร่วมกันบำบัดน้ำเสียเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับนายก อบจ.ระยอง ถึงแนวทางการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียบนเกาะเสม็ดและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อการรักษาระบบนิเวศที่ดีต่อไป


รมช.มท. กล่าวถึงการท่องเที่ยวแบบ New Normal ว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่ให้การกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว การจำกัดนักท่องเที่ยว รวมทั้งความพร้อมเพื่อการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหากเกิดกรณีฉุกเฉิน โดยกำชับเจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด การ์ดต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำอีก

Written By
More from pp
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์...
Read More
0 replies on “นิพนธ์ ลุยเมืองชล ติดตามแผนป้องกันอุทกภัย-ผลกระทบ EEC พร้อม เน้นย้ำ นโยบายความปลอดภัยทางถนน พื้นที่ภาคตะวันออก”