ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอายุราว 40 ปี มารักษาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็น ๆ หาย ๆ อยู่หลายครั้ง แต่ไม่รู้สึกเหนื่อย รู้สึกว่าเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกทุกครั้ง มักจะเป็นในช่วงขณะมีประจำเดือน จึงมีอยู่ช่วงหนึ่งมีอาการเจ็บหน้าอกมากจึงรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

หลังจากการตรวจสอบเอกซเรย์ พบว่าเป็นโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงหากไม่ทำการรักษา จึงรีบรับการรักษาตัวเข้าโรงพยาบาล

ซึ่งโดยปกติแล้วโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดจะมีจาก 3 สาเหตุ ได้แก่

1) เกิดขึ้นได้เอง (Spontaneous Pneumothorax) มักเกิดในคนที่มีอายุน้อย ผอม สูง,

2) เกิดจากอาการมีโรคร่วม (Secondary Pneumothorax) พบในผู้ป่วยที่มีภาวะถุงลมโป่งพอง,

3) ลมรั่วขณะมีประจำเดือนที่เกิดจากช็อตโกตแลตซีสต์กระจายมา (Endometriosis Migration)

โดยโรคลมรั่วขณะมีประจำเดือนนั้น โอกาสการเกิดโรคนี้ค่อนข้างยาก พบเจอไม่บ่อยมากนัก ผู้ป่วยเพศหญิงส่วนมากมักมาด้วยสาเหตุด้วยลมรั่วในปอดราว 20-30 % โดยภาวะลมในเยื่อหุ้มปอดชนิดนี้ เจอในเฉพาะเพศหญิงช่วงอายุ 32-37 ปี โดยอาจจะสัมพันธ์กับช็อตโกแลตซีสต์ในช่องท้อง หรือ มดลูกหรือไม่ก็ได้ โดยสาเหตุการเกิดของโรคนั้นยังไม่แน่ชัด

ทั้งนี้ อาการที่เกิดมักจะสัมพันธ์กับประจำเดือน ส่วนมากมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือหายใจไม่สุด ในบางครั้งอาจมีอาการเหนื่อย โดยมักจะเป็นในช่วง 24-72 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนมาในวันแรก

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า

จากการวินิจฉัย ส่วนมากการทำ X-Ray หรือ ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Chest) หรือ MRI อาจพบได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการตรวจใดมีประสิทธิภาพที่สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้โดยตรง โดยในบางรายอาจพบถุงลมบริเวณยอดของปอดร่วมด้วยได้ (Lung Bleb)

ในส่วนของการรักษาในโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดนี้ ประกอบด้วย 2 อย่าง ได้แก่

1)การรักษาด้วยการผ่าตัด(ส่องกล้อง) และ

2)การรักษาด้วยยา

โดยรักษาด้วยการผ่าตัดภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดขณะมีประจำเดือนนั้น ในปัจจุบันภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดสามารถทำได้โดยการผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง (Video Assisted Thoracoscopic Surgery; VATS) หรือ การผ่าตัดเปิดแบบดั้งเดิม (Open Thoracotomy)โดยเป้าหมายของทั้ง 3 วิธี ได้แก่

1. จัดการสาเหตุของลมรั่ว โดยการหาสาเหตุของลมรั่วจากปอดให้พบ เช่น ถุงลม (blebs, bullae) ที่แตกและทำการซ่อมแซมหรือตัดบริเวณส่วนนั้น

2. การทำสร้างพังผืด (Surgical Pleurodesis) ระหว่าง Parietal และ Visceral Pleura เพื่อทำให้เกิดการอักเสบ เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การลอกเยื่อหุ้มปอด (Pleurectomy) หรือ การขูดบริเวณเยื่อหุ้มปอด (mechanical pleural abrasion ) และใส่สารเคมีบริเวณเยื่อหุ้มปอด (Chemical Pleurodesis) และ

3. ตัดบริเวณกระบังลมที่มีการกระจายตัวของช็อตโกแลตซีสต์ (Resection of Fenestrated Diaphragm)

โดยผลของการผ่าตัดเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดเปิดกับผ่าตัดส่องกล้องพบว่าผ่าตัดส่องกล้อง สามารถลดภาวะเสี่ยงได้ ดังนี้

1. ลดภาวการณ์ปวดหลังจากการผ่าตัด

2. ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และ3.ลดภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด

นอกจากนี้หลังจากการผ่าตัดส่องกล้อง เราควรรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยยาที่เราเลือกใช้ควรเป็นกลุ่ม Gonadotrophin-Releasing Hormone (GnRH) Analogue ควรใช้อย่างน้อย 6-12 เดือน นับตั้งแต่หลังจากการผ่าตัด สำหรับผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรในคนไข้กลุ่มนี้ควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเพื่อวางแผนการรักษา

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไป โรคนี้ยังคงมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ โดยพบอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำ 20-30% โดยสาเหตุอาจเกิดจากการคุมตัวช็อตโกแลตซีสต์ไม่อยู่ ฉะนั้นผู้ป่วยคนไหนมีอาการดังกล่าวให้รีบมาโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์นะครับ

หากท่านใดสงสัยสามารถสอบถามผ่านทาง inbox ได้หรือทาง lineofficial account; @lungsurgeryth #ผ่าตัดปอด #ผ่าตัดส่องกล้อง #มะเร็งปอด #ลมรั่วในเยื่อหุ้มปอดโดยปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอด รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com

Written By
More from pp
กรมธนารักษ์ จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 130 ปี องค์กรอัยการ โดยจัดทำเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทธรรมดา มีลวดลาย
27 กรกฎาคม 2566 ณ กรมธนารักษ์ นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก...
Read More
0 replies on “ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด”