กรมที่ดิน ยืนยัน ไม่เพิกถอนโฉนดเข้ากระโดง ดำเนินการตาม คณะกรรมการสอบสวน มาตรา 61 ของคำพิพากษาศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลาง และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องครบถ้วน

กรมที่ดิน ยืนยัน ไม่เพิกถอนโฉนดเข้ากระโดง ดำเนินการตาม คณะกรรมการสอบสวน มาตรา 61 ของคำพิพากษาศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลาง และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องครบถ้วน เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย พร้อมแจ้งให้ รฟท.พิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาล ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมที่ดิน ได้ออกเอกสารชี้แจง กรณี คณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณเขากระโดง

1.การดำเนินการตามคำพิพากษาศาศาลยุติธรรม จำนวน 3 คดี 1.1 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นกรณีที่ราษฎร จำนวน 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องการถารถไฟแห่งประเทศไทยเนื่องจากโจทก์ทั้ง 35 ราย ได้ยื่นคำขอออออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดปรีรัมย์ การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งศาลฎีกาออกโฉนดที่ดินได้ กรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดปรีรัมย์ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวนของราษฎร จำนวน 35 ราย ที่ฟ้องคดี พร้อมทั้ง จำหน่าย ส.ค. 1 ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้ว

1.2 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เป็นกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟแฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากโจทก์ได้ยื่นคำขออออกโฉนตที่ดินต่อสำนักงานที่ดิน จังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนตที่ตินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการถไฟฯ โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท อธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่ง ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ให้แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. 3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (บางส่วน) ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้ว

1.3 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 เป็นกรณีที่การรถไฟฯ เป็นโจทก์ฟ้องราษฎร เรื่อง ขับไล่ เพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษาว่าว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 2971 , 5272 และ น.ส. 3 เลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมื่อเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ ได้แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษา ของศาล ซึ่งกรมที่ตินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการหมายเหตุการเพิกถอนโฉนตที่ดิน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามดำพิพาพิษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว

ทั้ง 3 คดี ตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม กรมที่ดินได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆให้ถือว่าผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีของศาลที่มีคำพิพาพากษาหรือคำสั่งนั้น ตามนัยมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยกรมที่ดินไม่ได้เข้าไปเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวแต่อย่างใด

2.การดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครอง ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม ๒๕๖๖ ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด พร้อมทั้งตั้งตั้งสังเกต เกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ซึ่งอธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งที่ 1195 – 1196/2566 ละวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าวแล้ว

และคณะกรรมการสอบสวนฯ ตาม ม.61 ได้กำหนดกรอบแนวทางในการรังวัดเพื่อตรวจสอบหาแนวทางเขตที่ดินที่ของทางรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 โดยที่ประชุมได้ขัอยุติว่าการดำเนินการรังวัดทำแผนที่ดังกล่าว กรมที่ดินต้องถือปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการรับคำขอรังวัด การรังวัด และการเรียกคำใช้จ่ายในการรังวัด เฉพาะราย พ.ศ. 2567 ซึ่งในการนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดทำแผนที่บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และจะส่งข้อมูลค่าพิกัดกรอบพื้นที่บริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้คณะกรรมการสอบสวนภายในกรอบระยะเวลาต่อไป ซึ่งต่อมาคณะทำงานร่วมโนการรังวัดได้รายงานสรุปผลการรังวัด นำชี้แนวเขตร่วมระหว่างสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ และการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเป็นการรังวัดเพื่อตรวจสอบตำแหน่งขอบเขตโดยรอบและจัดทำแผนที่ทางกายภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ ม. 61

3. ประเด็นการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวนฯ และกรมที่ดินพิจารณายุติเรื่องการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งได้ดำเนินการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าแผนที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชม กบร. จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มสมัชชาคนจน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539 โดยผู้ฟ้องคดีนำแผนที่ดังกล่าว ไปใช้ใช้ในการต่อสู้คดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 – 876/2560 และ ที่ 8027/2561 จึงไม่ใช่แผนที่แบบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ พระพุทธศักราช 2564 ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตของที่ดินการรถไฟซึ่งมีการกล่าวอ้างว่ามีระยะทาง 8 กิโลเมตร แต่จากการตรวจสอบรายงานผลการถ่ายทอดแนวเขตที่ดินการถไฟฯ ของคณะทำงทำงานดำเนินการถ่ายทอดแนวเขตที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 681/2566 ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบทางรถไฟ โดยใช้วิธีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2497 , พ.ศ. 2511 , พ.ศ. 2529 และพ.ศ. 2577 ปรากฏว่าทางรถไพมีระยะทางประมาณ ๖.๒ กิโลเมตร และได้ลงสำรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่จริงตัวยการรังวัดค่าพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ (RTR) สามารถยืนยันตำแหน่งทางรถไฟที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศว่า ตรงกับตำแหน่งรางรถไฟบนที่ดินจริง ประกอบกับการตรวจจสอบจากแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุดที่ L708 ซึ่งเป็นแผนที่ภูมิประเทศชุดแรกในประเทศไทยจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร (ในช่วง ปี พ.ศ.2495-2500) มีความยาวของทางรถไฟประมาณ 6.2 กิโลเมตรเช่นกัน โดยมีข้อสังเกตที่สำคัญจากการดำเนินการของคณะทำงานดังกล่าวคือ จุดสิ้นสุดรางรถไฟในแต่ละชั้นปีที่ดำเนินการถ่ายทอด มีระยะสิ้นสุดไม่เท่ากันและมีความแตกต่างกันในช่วงปลาย ตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 6 ถึงจุดสิ้นสุด มีทิศทางที่แตกต่างกัน โดยหากพิจารณาจากรางรถไฟจริง จุดสิ้นสุดของกิโลเมตรที่ 8 จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก และความกว้างของแนวเขตทางรถไฟ จากการตรวจสอบข้อมูลของคณะทำงานศึกษา แสวงหาหลักฐานและบรณาการข้อมูลประวัติที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 91/2567ลงวันที่ 18 มกราคม 2567 ที่ได้ศึกษาคันคว้าเทียบเคียงจากพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง และจากหนังสือกระทระทรวงโยธาธิการฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 127 สันนิษฐานได้ว่าการกำหนดเขตสร้างทางรถไฟ จะมีการกำหนดไว้เพียงระยะข้างละไม่เกิน 40 เมตร หรือ 20 วา

สำหรับกรณีที่ศาลปกตรองกลางตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดิน ที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่สามารถร่วมกับการรถไฟฯ เพื่อตรวจสอบแนวเขตรถไฟตามข้อสังเกตของศาลปกครองกลางได้ เนื่องจากเป็นการร่วมกับคู่กรณี ในการพิจารณาทางปกครองทำให้สูญเสียความเป็นกลางและมีผลทำให้ความเห็นหรือหรือมติ ของคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว เห็นว่า เป็นการดำเนินการไปตามชั้นตอนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับเมื่อพิจารณาประเด็นคำคัดค้านพยานหลักฐานของผู้มีส่วนได้เสียแล้วเห็นว่า รับฟังได้ คณะกรรมการสอบสวนฯ จึงมีมติยืนยันความเห็นว่าไม่สมควรที่จะเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วยมติเป็นเอกฉันท์ จนกว่าจะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จริงให้เป็นที่ยุติได้ รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟฯ

ดังนั้น การดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยรับฟังทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏในการพิจารณาคดีของศาลยุติธธรรม พยานหลักฐานของการรถไฟฯ และพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนฯ แสวงหามาประกอบการพิจารพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่า พยานหลักฐานที่รวบรวมได้ ยังมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะนำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ การที่จะนำพยานหลักฐานที่ยังไม่เป็นที่ยุติใช้ให้เกิดผลกระทบในทางเสียหายต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการนำไปใช้ใช้ใช้ในการจัดทำคำสั่งทางปกครอง อาจส่งผลกระทบให้คำสั่งทางทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉมดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอน หรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการสอบสวน และการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดย คลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 อธิบดีจึงได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอยุติเรื่องในกรณีนี้ ตามความความเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ได้เสนอมา ว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฎชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกอนหรือแก้ไขตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่า ก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดิน จะต้องไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป

0 replies on “กรมที่ดิน ยืนยัน ไม่เพิกถอนโฉนดเข้ากระโดง ดำเนินการตาม คณะกรรมการสอบสวน มาตรา 61 ของคำพิพากษาศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลาง และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องครบถ้วน”