โรงพยาบาล พญาไท 2 ชวนเฝ้าระวังผู้ใหญ่ในครอบครัว กับความเสี่ยงวัย 75 ปี ขึ้นไป ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ทำให้มีการตรวจพบโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมตามวัยมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้น คือ ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ หมดความยืดหยุ่น และมีไขมันหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดและปิดได้สนิท ส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบรุนแรง โดยพบได้บ่อยในลิ้นหัวใจห้องซ้ายล่าง บริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติกเพราะเป็นส่วนที่ทำงานหนักที่สุด มีการกระแทกลิ้นหัวใจเปิดปิดแรงเพราะต้องส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย
เมื่ออายุมากขึ้นหัวใจทำงานหนักมานานจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอโดยทั่วไปแล้วโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเริ่มมีอาการมักจะรุนแรงจนมีอันตรายแก่ชีวิตได้
ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันเข้ามาช่วยให้การรักษาเป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยการใช้เทคนิค TAVI (Trans catheter Aortic Valve Implantation) เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาของ TAVI จะเป็นการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ แล้วใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดกับขดลวดพิเศษ ส่งขึ้นไปถึงตำแหน่งลิ้นหัวใจเอออร์ติกด้วยระบบท่อนำทาง
จากนั้นจะปล่อยลิ้นหัวใจเทียมให้กางออกเพื่อทำหน้าที่แทนลิ้นหัวใจเดิม ซึ่งวิธีนี้ผู้ป่วยจะไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณหน้าอกหรือใต้ราวนมเหมือนกับการผ่าตัดแบบมาตรฐานหรือผ่าตัดส่องกล้อง จะมีเพียงแผลที่บริเวณขาหนีบจากการใส่สายสวนเท่านั้นลดภาวะแทรกซ้อน
ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และผู้ป่วยจะมีแผลมีขนาดเล็กมากทำให้ฟื้นตัวได้เร็วใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็กลับบ้านได้ การรักษานี้จึงเข้ามาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและไม่บาดเจ็บ สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างรวดเร็ว
การรักษาด้วย TAVI จะทำได้กับกลุ่มคนไข้ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เช่น อายุมากแล้ว เคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จากการศึกษาพบว่าการรักษาด้วย TAVI มีผลดีกว่าการผ่าตัดแบบปกติมาก เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า เสียชีวิตน้อยกว่า และผลของการรักษาได้ผลดีในระยะยาว
ทุกการรักษาที่ซับซ้อนรวมไปถึงการซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ TAVI จำเป็นจะต้องมีทีมแพทย์ผ่าตัดหัวใจ แพทย์สวนหลอดเลือด วิสัญญีแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรทางห้องสวนหัวใจ รวมถึงการใช้ห้องผ่าตัดอัจฉริยะ หรือ Hybrid Operating Room เพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
ที่จำเป็นต้องได้รับรักษาด้วยวิธีสายสวนทางหลอดเลือด ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะต้องผ่าตัดแก้ไขหากเกิดปัญหาหรือมีภาวะแทรกซ้อน อันเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการรักษา ที่ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำและทำการรักษาเพิ่มเติมได้ทันทีในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย
สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจตีบ มักมีความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย และไม่แสดงอาการจนกระทั่งเกิดการตีบอย่างรุนแรง โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น แน่นหน้าอก หน้ามืด อาจเป็นลมหมดสติ และหัวใจวาย หากตีบรุนแรง และอาการบ่งชี้มักจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น เนื่องจากหัวใจไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม
โรคนี้จึงพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในคนไข้สูงอายุที่มาตรวจหัวใจแพทย์จะใช้วิธีฟังเสียงหัวใจ หากมีเสียงที่ผิดปกติก็ต้องหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไปเพื่อหาอาการให้ตรงจุด ก่อนจะทำการรักษาต่อ
หากผู้ใหญ่ในครอบครัวมีอาการน่าสงสัย สามารถโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 12 อาคาร Aโรงพยาบาลพญาไท 2 โทร.0-2617-2469 หรือ Call Center 1772