น่าคิด “ศิธา” ย้ำ MOU ยกระดับการเมืองดีขึ้นจริงหรือเปล่า เสนอแก้บทเฉพาะกาล สว. แบ็ก 2 ลุง ถ้าพรรคใหญ่แพแตกก็รอเสียบ!

ตอนนี้กลายเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่คนรุ่นใหม่ขอยกให้เป็นแด๊ดดี้ สำหรับ “ศิธา ทิวารี” ที่ล่าสุดได้มาออกรายการ “คนดังนั่งเคลียร์” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 หลังจากที่มีประเด็นร้อนแรงทางด้านการเมือง ในเรื่องที่ได้ออกมาพูดถึงเรื่อง MOU ทำให้สังคมออกมาตั้งคำถามว่า แด๊ดดี้คนนี้อาจจะมีข้อมูลลับเบื้องลึกที่ไม่ชอบมาพากลกันแน่

ครั้งนี้ศิธาขอเคลียร์ชัด ถึงประเด็นนี้ ว่าแท้จริงเป็นอย่างไร และเบื้องหลังสว.เลือกนายกฯ มีคนหนุนหลังจริงไหม แล้วถ้าพรรค 2 พรรคใหญ่แตกคอกัน 2 ลุงจะกลับมาได้อย่างไร แฟนๆสามารถติดตามคำสัมภาษณ์เต็มๆได้ทางยูทูบช่อง 8 https://youtu.be/8ZA8RLwfypk เท่านั้น

สถานการณ์ MOU (Memorandum of Understanding) ตอนนี้ไปถึงไหน เป็นอย่างไรบ้างคะ?

จากวันนั้นนะครับ ก็ได้มีการพูดคุยกัน แล้วก็อาจจะมีประเด็นที่แบบพูดกลับมาแบบนี้ครับ แล้วพอเราตอบไปก็เหมือนกับว่า โอเค ต่างฝ่ายก็ต่างเคลียร์จากกันแล้วอะไรแบบนี้ครับ ผมก็เลยบอก ผมไม่ไปแตะตรงนี้แล้วกันเพราะในส่วน MOU ก็ได้ลงนามกันเรียบร้อยแล้ว

ในใจของเรา เราเชียร์ฝ่ายในประชาธิปไตยทุกพรรค ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง อาจารย์ก็เห็นผมก็บอกชอบเพื่อไทยก็กา 29 ชอบก้าวไกลก็กา 31 ชอบไทยสร้างไทยก็กา 32 เราก็พูดชัดเจน

MOU ก็คือ Memorandum of Understanding ใช่ไหมคะ เป็นการบันทึกของการเข้าใจร่วมกัน ทุกพรรคเวลาไปหาเสียงก่อนเลือกตั้งก็บอกว่าจะให้นั้น ให้นี่ พอจับมือกันก็ต้องมาเกลี่ย เพราะแต่ละคนไปบอกจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ไม่เท่ากัน?

จริงๆ นะครับ เวลาเข้าไปมันต้องมีนโยบาย มีกฎหมายที่ต้องผลักดันในสภาเยอะมาก แต่ว่า MOU มันเป็นการยกระดับการเมืองไทยเข้ามา ไอ้สิ่งที่เราพูด อันไหนที่เราคิดว่าทำได้แน่ๆ ตกลงเห็นพ้องต้องกัน ประกาศให้ประชาชนรู้เลย

อย่างน้อยก่อนจัดตั้งรัฐบาลเขาจะรู้แล้วว่า เดี๋ยวเราจะเจออะไร 1 2 3 4 เพราะอย่างแกนนำคือก้าวไกล เขาก็บอกเลยว่า 100 วันแรก หรือ 3 เดือนแรก เขาจะทำอะไร ปีนึงทำอะไร 4 ปีทำอะไร ก็เอามารวมกันทั้งหมด

แล้วอีกอันนึงก็คือ นโยบายที่เห็นประชานิยมอย่างนี้ พรรคนี้ก็เสนอ พรรคนู้นก็เสนอ มันไม่สามารถทำ 3 ประชานิยมได้ เลือกเอาอันใด อันนึงก็มาคุยกัน หรือไม่ 3 อัน ก็ลดขนาดเข้ามาทั้งคู่ แล้วก็ใช้ร่วมกันอะไรแบบนี้ก็ได้หมดครับ

เกลี่ยไป เกลี่ยมาลงหลุมแห่งการพอใจทุกพรรคไหมคะ?

คือมันมี 2 นัยนะ คือ เกลี่ย ถ้าการเมืองเดิมเนี่ย การเกลี่ยคือแต่ละคนมาแบ่งผลประโยชน์กัน ก็มาบอก ไล่ว่ากระทรวงเกรด A มีงบประมาณเท่านี้ เป็นงบประจำเท่านี้ เป็นงบที่จะมีเงินถอนมีอะไรเท่านี้ นั่นเป็นเกรด A B C ใช่ไหม

มีเรื่องอย่างนี้จริงๆเหรอ? แต่ในเรื่องนี้ ในเรื่อง MOU ที่ทำเนี่ย มีนยกระดับการเมืองไทย คือมาดูในเนื้องานว่าคุยกันแล้ว ในเนื้องานของใครที่พอไปได้ แล้วสนับสนุนกันแล้วเดิน แล้วมันดีตรงนี้อาจารย์ปกติ นักการเมืองจะแย่งกัน อันนี้นโยบายฉัน อันนี้นโยบายเธอ

สมมติ อ.ยิ่งศักดิ์กับผม เราบอกว่าเราอยากช่วยเด็กกำพร้า พอถึงเวลาเราเอาเงินไปให้เด็กกำพร้า อ.ยิ่งศักดิ์บอกโอ้ย มาแย่งฉัน การช่วยเด็กกำพร้าต้องมาให้ฉัน เพราะฉันจะได้หน้า อย่างนี้มันไม่ใช่ผลประโยชน์ที่เด็ก แต่มันต้องการพีอาร์ตัวเราถูกไหม

แต่ถ้า MOU ตกลงร่วมกัน อาจารย์บอกจะช่วยเด็กกำพร้า ผมบอกอาจารย์เยี่ยม ผมบอกจะช่วยเขาด้วยเพิ่ม อาจารย์บอกศิธายอด แบบนี้มันก็ไปด้วยกันได้ คือการตกลงหน้าที่ใครเป็นอย่างไรใช่ป่ะ? ใครที่ทำประโยชน์ประชาชนแล้วเราเห็นพ้องต้องกันก็ช่วยกันทำ

เดี๊ยนฟังก็ว่ามันดี แต่ทำไปพี่อุตริ แอดวานซ์ MOU เดี๊ยนมองไม่เห็นประโยชน์ของมันคืออะไรคะ?

ผมชอบอาจารย์เวลาจะโยงเข้าคำถาม เราจะไม่กลับไปพูดแล้วเนอะว่าต้องทำหรือไม่ต้องทำ แต่ที่อธิบายก็คือ MOU ก็คือการเป็นแฟน แอดวานซ์ ก็เหมือนกับการหมั้น คือพัฒนาการของความสัมพันธ์ขึ้นมาอีกระดับนึง

แล้วการที่จัดตั้งรัฐบาลเนี่ยก็คือ การจัดงานแต่งงานกัน เราก็คิดแบบนั้น แต่ถ้าเกิดเราถามไป สมมุติมีฝ่ายเจ้าบ่าว หรือเจ้าสาวบอกตกลง อีกฝ่ายบอกเสียมารยาท ไปถามอะไรตอนนี้เราก็ต้องถอยออกแค่นั้นเอง

เป็นผู้ใหญ่แล้วทำไมทำแบบนี้ ไปถามอะไรไม่ดูกาลเทศะ?

ก็เราไม่ได้เล่นหมากรุก เรากำลังพูดเพื่อความเจริญของประเทศ แล้วเราก็สนับสนุนประชาธิปไตยทุกฝ่าย เหมือนเราเชียร์ให้เขาสมรสกันเท่านี้ สมรสเท่าเทียมเนอะ ที่เต็มไปด้วยความจริงใจ จะได้รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น จะได้รู้ว่าประชาธิปไตยเรามีวี่แววความสำเร็จ? ใช่ก็บอกระยะ จุดของผมมันชัดเจน เพราะว่าก่อนเลือกตั้งทุกคนต้องพูด เพื่อให้ได้คะแนนตัวเองใช่ไหม

แต่ผมก็ไม่อยากไอ้นี่ก็ชั่ว ไอ้นี่ก็เลว ฉันดีคนเดียว ผมไม่ได้ ผมบอกนี่ดีหมดเลย อยากเลือกเขาก็เลือก อยากเลือกทางนี้ก็เลือก แต่ถ้ามองอยากเลือกผม อยากให้กำลังใจผมก็เลือกเท่านั้นเอง ก็ได้มาเท่านี้ ไม่เยอะแยะ ที่เหลือเขาก็พรรคใหญ่

ผมก็เรียกเป็นพี่ใหญ่พี่รองอะไรแบบนี้อยู่แล้ว ถ้าทำไปเนี่ยมันเป็นประชาธิปไตยที่สวยงาม และก็รวมกันได้ร่วม 300 เฉพาะแค่ 2 พรรคนี้ มันก็เป็นตัวเลขที่สวยมาก

ถ้าทำไม่ได้ แล้วลุงกลับมา เขาจะกลับมาจริงไหมคะ เดี๊ยนว่าเขาน่าจะไปเลี้ยงหลาน เขาน่าจะเหนื่อย?

ผมว่าทัศนคติที่มองลุงเนี่ย ยกตรงนี้ก่อน โดยเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ เขามองแทบจะเห็นพ้องต้องกันแล้ว เพราะคะแนนที่เลือกลุงก็ประมาณนึงก็เห็นอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นตรงนี้ สิ่งที่มันได้ก็คือ ฝ่ายที่เป็นฝ่ายค้านเดิมที่อยู่ตรงข้ามกับลุง แล้วลุงก็รัฐประหารยึดอำนาจมา 4-5 ปี แล้วก็เป็นรัฐบาลมีอีก 4 ปี รวมกัน 9 ปีแล้ว

ตรง 9 ปีที่ลุงทำมา คนรู้อยู่แล้วแหละว่ามันเป็นอย่างไร ตอนนี้เหมือนกับฉันทมติของประชาชนเนี่ย เขาเลือกฝั่งที่ตรงข้ามกับลุงจะแบ่งไป เพื่อไทย ก้าวไกล แล้วก็ไปพรรคอื่นอีกเล็กๆน้อยๆ 2 พรรคนี่มันใหญ่อยู่แล้ว

สิ่งที่เราประชาธิปไตยต้องสู้คือ สิ่งที่ลุงฝังเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ฝังไว้ถาวร รัฐธรรมนูญถาวรพอใช้ได้ สามารถที่จะใช้ได้ก็ควรจะปรับเป็นฉบับประชาชน แต่ว่าไม่ต้องเร่งด่วน

แต่ที่ต้องแก้เร่งด่วนก็คือบทเฉพาะกาลที่บอกว่าให้ สว. 250 คนที่ลุงเลือกมา มาเลือกนายกฯ แบบนี้มันเป็นปัญหาทำให้รัฐบาลที่รวมกันได้ร่วม 300 เสียงเนี่ย ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

มันเป็นกลไกซึ่งอันอื่นยืนยันได้ว่า เขาร่างรัฐธรรมนูญมาเพื่อประชาธิปไตย เพื่ออะไรก็ตามแล้วแต่ แต่ว่าการที่สว.มาเลือกนายกฯเนี่ย มันเพื่อประโยชน์ของลุงเท่านั้น

สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือถ้าเกิดตัว 300 จับกันไม่ดี เขาก็ยังพยายามอยู่ พยายามที่จะแซะ พยายามที่จะบอกเดี๋ยวเขาจะช่วยนะ มี สว.อยู่ตรงนี้เดี๋ยวมาช่วยโหวต คุมองค์กรอิสระ เดี๋ยวจะช่วยนู้น ช่วยนี่เนี่ย ถ้าใครแกว่ง ก็จะคิดว่ามันไม่ได้

ถ้าเกิดจับกันให้ดี ไม่ต้องพูดถึง แอดวานซ์ MOU หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เขาเชื่อมั่นว่าเป็นแบบนี้ ถึงเวลาเขาก็จะเลิก

เลิกคืออะไรก็บอกสว.ว่าอย่าไปขวางเขาเลย เขาเลือกกันมาประชาชนเลือกกันมา 60% ของประเทศให้เขาทำงานเถอะอย่างนี้ มันก็ไปได้ เอาผมออกสมการได้เลย ไม่ต้องเอาไปร่วมรัฐบาลนะ แต่เราจะโหวตให้ด้วย

สิ่งหนึ่งที่เดี๊ยนอยากทราบ และคิดว่าประชาชนก็อยากทราบพรรคใหญ่ 2 พรรคได้รับเลือกจากประชาชนเข้ามาจำนวนมากแบบนี้ มันมีความสำคัญที่ต้องจับติดกันไหม แยกปุ๊บหายนะมาทันที เราซีเรียสมากไปไหม?

คือเราต้องยอมรับว่าสิ่งที่บรรจุไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญมันซีเรียส และมันก็เป็นภัยต่อประชาธิปไตย อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นกลไกที่ผมบอกเนี่ย มันสามารถที่จะเอาเผด็จการไปจากการเมืองได้ ปัจจุบันทันด่วนเลยก็ได้ ถ้าเราเข้มแข็งพอหรืออย่างมากไม่เกิน 1 ปี

ซึ่งกลไกนี้ในฝ่ายของก้าวไกลไม่เข้าใจ หรือเพื่อไทยไม่เข้าใจ คนในเพื่อไทยก็เข้าใจเยอะ คนที่เข้าใจสูงสุดคือคุณจาตุรนต์ ฉายแสง พูดออกมาในโมเดลเดียวกันเลย แต่ไม่ได้ออกมาในมุมแอดวานซ์ MOU

ซึ่งผมไม่คิดว่าจะเอากลับมาใช้แล้วก็ไม่ต้องหมั้น เป็นแฟนกันก็แต่งงานกันเลยก็มีเยอะแยะ ก็ปล่อยเขา มันคือการไว้เนื้อเชื่อใจกัน เราก็ต้องไว้เนื้อเชื่อใจ เราก็ไม่สามารถไปกำหนดอะไรได้

คนต่อมาคือณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สิ่งที่เขาพูด ณ เวลานี้ เขาเขยิบตามคุณจาตุรนต์มาครึ่งทางแล้ว เขาบอกกันว่าถ้าจับกันให้มั่นจริงๆ แล้วออกไปไหน ก็ไปได้ แล้วเวลามันก็ปีนึง ในที่สุดถ้าพี่น้องประชาชนไม่ได้มองว่าใครเป็นต้นเหตุ ตัวป่วน ใครเป็นข้ออ้างให้เขาไม่รวมกัน แล้วก็ต้องเป็นแพะรับบาปเนี่ย เราก็ต้องเงียบ

เพราะการที่พูดมากไป ไปแตะเรื่องนู้นก็จะกลายเป้ฯแพะรับบาป แต่สิ่งที่เราต้องการพูด อาจจะเป็นการดักทางก็แล้วแต่ให้เห็น และผมไม่ได้ส่งสัญญาณถึงก้าวไกล หรือเพื่อไทย

ผมต้องการส่งถึง สว.หรือคนที่คุมอำนาจ สว.อยู่ว่าเขาไม่ยอม เขารวมกันแล้ว คุณจะเป็นไอ้เข้ขวางคลองไปอีกปีนึง คุณก็ต้องปิดวิกกลับบ้านอยู่แล้ว ดังนั้นให้เขาเริ่มเดย์วันตอนนี้ดีกว่าไหม

เจตนาคืออยากเห็นประเทศชาติไปในรูปแบบประชาธิปไตย 100% ใช่ไหมคะ?

ผมต้องการให้ประเทศชาติ อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 100% แต่ไม่ใช่ว่าประชาธิปไตยอันมี สว.มาเลือกนายกฯ ประชาธิปไตยอันมี พลเอกประยุทธ์ พลเอกประวิตรมาสั่ง สว.ให้เลือกนายกฯได้

ซึ่งมันจะกลายเป็นการสืบทอดอำนาจไปอีก 4 ปี กลับไปคำเดิมว่าบทเฉพาะกาลที่กำหนดให้สว.เลือกนายกฯ มีไว้เพื่อสืบทอดอำนาจของ 2 3 ลุงแน่นอน

แฟนๆ สามารถติดตามรายการ “คนดังนั่งเคลียร์” ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.15 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27 และรับชมย้อนหลังได้ทางยูทูบช่อง 8 เท่านั้น!

Written By
More from pp
อุปโลกน์ตัวเอง?
ผสมโรง สันต์ สะตอแมน ชักให้สงสัยแล้วสิ.. ตกลง ผิดไปจากนายพิชัย นริพทะพันธุ์ ใครมาเป็น “รัฐมนตรี” ที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ ต้องมือไม่ถึง ไร้น้ำยา...
Read More
0 replies on “น่าคิด “ศิธา” ย้ำ MOU ยกระดับการเมืองดีขึ้นจริงหรือเปล่า เสนอแก้บทเฉพาะกาล สว. แบ็ก 2 ลุง ถ้าพรรคใหญ่แพแตกก็รอเสียบ!”