“ไทยสร้างไทย” แนะ 8 แนวทางบริหารจัดการมวลน้ำ ป้องกัน อุทกภัยใหญ่ จี้ภาครัฐ จับตาอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อาจทำให้เกิดพายุในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้

www.plewseengern.com

“ไทยสร้างไทย” แนะ 8 แนวทางบริหารจัดการมวลน้ำ ป้องกัน อุทกภัยใหญ่ จี้ภาครัฐ จับตาอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อาจทำให้เกิดพายุในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้
5 กันยายน 2565-คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย แสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย

โดยเฉพาะล่าสุดพบว่าอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้หย่อมความกดอากาศต่ำ และคาดการณ์อาจมีพายุเข้าในช่วงเดือนกันยายน ถึงตุลาคมนี้ส่งผลให้มีฝนเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่อีสานและภาคตะวันออกและจะมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมรับมือโดยเฉพาะการบริหารจัดการมวลน้ำในลุ่มเจ้าพระยาต้องใช้เขื่อนเจ้าพระยา จัดจราจรน้ำร่วมกับเขื่อนพระราม 6 ในแม่น้ำป่าสักโดยพิจารณาดังนี้

1.หน่วง/ ชะลอ น้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาและปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้ระดับในอ่างอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำสุด

2. พิจารณาปรับการผันน้ำเข้าทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกตามปริมาณน้ำเหนือที่ไหลผ่านนครสวรรค์และปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ผันน้ำมาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านแม่น้ำสุพรรณบุรี คลองมะขามเฒ่าอู่ทองในสัดส่วนที่มากขึ้นตามสถานการณ์น้ำฝน น้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน

โดยพยายามรักษาเกณฑ์การบริหารน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ไม่ควรมากกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลและระยะเวลาการเคลื่อนตัวของน้ำเหนือโดยเฉพาะในวันที่ 8-10 กันยายนวันที่ 22-26 กันยายนวันที่ 5-10 ตุลาคมและวันที่ 26-31 ตุลาคมเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

3. ฝั่งตะวันออกมี ปริมาณน้ำในพื้นที่ค่อนข้างมากต้องเร่งระบายและเร่งพร่องน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนและการผันน้ำจากเหนือเขื่อนเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสักในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม

4. เตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำพร้อมรับน้ำเข้าทุ่ง 11ทุ่ง ตามแผนที่กำหนด เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จหลัง 15 กันยายน

5. ใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เร่งระบายน้ำออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตามจุดเดิมที่เคยติดตั้งในปีน้ำมากโดยกองทัพเรือ

6. ในส่วนแม่น้ำท่าจีนตอนล่างที่มีความคดเคี้ยวมากให้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในบริเวณต่างๆตามที่เคยดำเนินการไว้ในปีน้ำมาก เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล

7. เร่งระบายน้ำและพร่องน้ำในแม่น้ำและคลองสายหลัก สายซอย เช่นคลองชายทะเล คลองสำโรงคลองแสนแสบ คลองสนามชัย-มหาชัย รวมถึงแก้มลิงผ่านประตูระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำรวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติมให้เพียงพอเพื่อรอรับน้ำฝนที่อาจจะเกิดขึ้น

8. ทุกจังหวัดตรวจสอบสถานะเครื่องสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำ ที่เปราะบาง หรือฟันหลอของทุกหน่วยงานให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน



Written By
More from pp
TOA มอบชุด PPE จำนวน 10,000 ชุด ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ป้องกันไวรัสโควิด-19
ละออ ตั้งคารวคุณ และ จตุภัทร์ – ภญ.ดร.อรุณี ตั้งคารวคุณ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด...
Read More
0 replies on ““ไทยสร้างไทย” แนะ 8 แนวทางบริหารจัดการมวลน้ำ ป้องกัน อุทกภัยใหญ่ จี้ภาครัฐ จับตาอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อาจทำให้เกิดพายุในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้”