สัตวแพทย์ ชู ระบบไบโอซีเคียวริตี้ยกระดับความปลอดภัยอาหาร ย้ำต้องปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน  

Authentic chef cooking meat steak in frying pan on stove, using kitchen utensils and tasty ingredients. Male cook preparing meal with culinary recipe for restaurant food menu cuisine.
สัตวแพทย์ ม.เกษตร เผย ระบบไบโอซีเคียวริตี้ช่วยป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์ ใช้อาหารที่มีคุณภาพและน้ำสะอาดในการเลี้ยงดู ทำให้สัตว์แข็งแรง ปลอดภัย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือวัคซีนในการรักษา สอดคล้องกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงวัตถุดิบอาหารที่ปลอดเชื้อ ปลอดภัย แนะเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายน่าเชื่อถือ มีตราปศุสัตว์ OK ปรุงสุกก่อนรับประทาน

อ.น.สพ.พิชัย จิรวัฒนาพงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ กำแพงแสน ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความพิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น ยังไม่นับรวมถึงโรคระบาดในสัตว์อย่าง ASF ซึ่งถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยมีมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง ช่วยคนไทยมีแหล่งอาหารโปรตีนจากเนื้อหมูอย่างเพียงพอ

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วย โรงเรือนระบบปิดที่มีการป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่น นก หนู สุนัข แมว แมลงต่างๆ ไม่ให้เข้าไปในฟาร์ม รวมถึงอาหารและน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ต้องมีความปลอดภัย มั่นใจว่าปลอดเชื้อ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา นอกจากนี้ ต้องทำความสะอาดสถานที่ในบริเวณการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมการเข้าออกในฟาร์มอย่างเคร่งครัด ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนผู้ปฏิบัติงานและพาหนะเข้าไปในฟาร์ม เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ติดต่อจากสุกรสู่คน แต่หากประมาทอาจทำให้เชื้อโรคระบาดในฟาร์ม และสร้างความเสียหายกับผู้เลี้ยงสุกรได้ 

ข้อดีของการมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ คือช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดอื่นๆในฟาร์มสุกร ยังช่วยเกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการใช้ยาและวัคซีน ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์ดูแลเอาใจใส่อย่างดีตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ อาหารและน้ำที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องมีคุณภาพ สะอาด และเพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่สบาย ส่งผลให้สุกรแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ นับเป็นการยกระดับความปลอดภัยอาหารให้ผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทาง 

อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ผู้บริโภคต้องมีความตระหนักในความปลอดภัยอาหาร จากการเลือกซื้อ และวิธีการบริโภค ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่มีมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของภาครัฐ อย่าง “ปศุสัตว์ OK” ของ กรมปศุสัตว์ เลือกจากลักษณะของเนื้อสุกรที่ดี สีชมพูธรรมชาติไม่แดงเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีตุ่มก้อนนูนผิดปกติ เป็นต้น 

สำหรับขั้นตอนการเก็บรักษาและการนำไปประกอบอาหาร ต้องล้างเนื้อสุกรให้สะอาด เก็บในช่องแช่แข็ง และต้องปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน เนื่องจากความร้อนจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคอื่นๆ เช่น เชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส สาเหตุของไข้หูดับ ซึ่งหากผู้บริโภคได้รับเชื้ออาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยขอให้ผู้บริโภคท่องจำให้ขึ้นใจว่าต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน


Written By
More from pp
ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน 16 ตุลาคม 2562
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราวร้อยละ 1 เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนตัว  หลังได้รับปัจจัยกดดันจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยืดเยื้อ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2562 มีแนวโน้มเติบโตช้าที่สุดนับตั้งแต่หลังวิกฤตด้านการเงินในปี 2551-2552 โดยคาดว่าการขยายตัวของ...
Read More
0 replies on “สัตวแพทย์ ชู ระบบไบโอซีเคียวริตี้ยกระดับความปลอดภัยอาหาร ย้ำต้องปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน  ”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i 0 || bottom > 0) && top