ชังชาติล่มสลาย-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

เรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ

มีการแชร์ภาพในโซเชียลของเด็กชังชาติ เป็นภาพสถานีรถไฟฟ้าในฉงชิ่ง ประเทศจีน พร้อมเขียนข้อความกำกับดังนี้

…หลายปีก่อนมีคนแชร์ภาพ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ว่าตั้งอยู่กลางป่าเขา .. แต่ๆๆๆ แค่  ๖-๗ ปีต่อมาเขาก็พัฒนารอบๆ จนมีสภาพสวยงาม ตามที่เห็น ..

จีนใช้เวลาในการพัฒนาเมือง แปปๆๆ ก็พลิกโฉมได้ .. ในขณะที่ไทย ๑๐-๒๐-๓๐-๔๐ ปี ยิ่งเน่าลงเรื่อยๆ จนรอวันประเทศล่มสลาย…

คิดว่าหลายๆ คนน่าจะเคยเห็นภาพนี้มาก่อนเช่นกัน  และน่าจะมีความเห็นสอดคล้องกันคือ จีนเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับการขยายของเมือง

เป็นวิสัยทัศน์ที่น่าชื่นชมครับ เพราะสถานีกลางป่าในวันนั้น กลายเป็นสถานีกลางเมืองในวันนี้

จีนพัฒนาไปในทุกด้านจริงๆ

แต่การเอาการพัฒนาในฉงชิ่งมาเปรียบเทียบกับไทย แล้วสรุปว่า ยิ่งเน่าลงเรื่อยๆ รอวันล่มสลาย ดูเป็นการชังชาติกันมากเกินไป

การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของจีนกับไทยมีความต่างกันในหลายแง่มุม

กฎหมายไม่เหมือนกัน

รัฐบาลจีนอยากสร้างอะไรตรงไหนชี้นิ้วเอาได้

แต่ไทยเราทำแบบนั้นไม่ได้ นอกจากกฎหมายแล้วยังต้องผ่านด่าน ชุมชน เอ็นจีโอ

เงินทุนก็เช่นกัน จีนมีเหลือเฟือ แต่ไทยมีอย่างจำกัด

ส่วนการบอกว่า ไทยรอวันล่มสลาย เป็นการแสดงความเห็นราวกับเคียดแค้น ชิงชังประเทศตัวเอง ชนิดอยากให้ฉิบหายกันไปข้าง

เป็นการดูถูกประเทศตัวเอง ในขณะที่ข้อเท็จจริง ไทยไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอกขนาดนั้น

ครับ…ในแวดวง คนเกลียดรัฐบาลประยุทธ์ เอาเรื่องนี้ไปแชร์ต่อๆ กัน

หนึ่งในนั้นไม่ใช่เด็กแต่เป็นผู้ใหญ่ “วีรพร นิติประภา”  มีดีกรีเป็นถึงนักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์เฟซบุ๊ก Veeraporn Nitiprapha

“…รัฐไม่ฉลาดจะคิดว่าเมืองหรือที่ที่ไม่มีคนหรือธุรกิจความเจริญจะมีขนส่งดีๆ ไปถึงทำไม รัฐที่ฉลาดคือรู้ว่ามีขนส่งที่ดีไปถึงที่ไหน มันก็จะนำความเจริญไปถึงที่นั่น

#รอลูกรังหมด…”

เกลียดจนตาบอด กลายเป็นคนไร้เหตุผล

จะพิมพ์จะเขียนอะไรให้สาธารณะได้อ่าน ใช้อารมณ์ ความชอบ ไม่ชอบ โดยไม่สนใจข้อเท็จจริง

นี่ไม่ได้พูดถึงการแสดงความเห็นในโซเชียลของบุคคลทั่วไปดาดๆ นะครับ

เป็นถึงนักเขียนรางวัลอันทรงเกียรติ อยู่กับการขีดเขียน แต่กลับไม่ได้ให้ความจริงแก่สังคมเลย

ถามกลับครับ ทำไมยังคิดว่าต้องรอลูกรังหมดก่อน ถึงจะมีโครงสร้างพื้นฐานดีๆ

ไปซึมซับความคิดเต่าล้านปีนี้มาจากไหน

ตรวจสอบข้อมูลก่อนหรือเปล่าว่า รัฐบาลนี้โง่ ไม่ยอมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเลยตามที่เขียนไว้จริงหรือเปล่า

มีข้อมูลเป็นวิทยาศาสตร์มานำเสนอครับ

เพจ Bangkok I Love You เค้าเรียบเรียงมาให้เรียบร้อย ถอยหลังไปตั้งแต่ยุคทักษิณ รัฐบาลไหนอนุมัติ และสร้างรถไฟฟ้า หรือรัฐบาลไหนเอาแต่โม้ไปวันๆ

————–

….รถไฟฟ้าสายไหน ใครอนุมัติ ???

สรุปให้สั้นๆ ว่ารัฐบาลไหน อนุมัติก่อสร้างรถไฟฟ้าสายไหนบ้าง

ยุคคุณทักษิณ อนุมัติ ๑ สาย คือ สาย Airport Link  ระยะทาง ๑๘.๕ กม.

ยุคพลเอกสุรยุทธ์ อนุมัติ ๒ สาย คือ สายสีแดงเข้ม  (บางซื่อ-รังสิต) สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทางรวม ๔๑.๓ กม.

ยุคคุณสมัคร อนุมัติ ๑ สาย คือ ต่อขยาย สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ระยะทาง ๑๓ กม.

ยุคคุณสมชาย ไม่มีอนุมัติสักเส้นทาง เนื่องจากมีเวลาบริหาร ๒ เดือน

ยุคคุณอภิสิทธิ์ อนุมัติ ๒ สาย คือ สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) สายสีน้ำเงินต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ ระยะทางรวม ๔๖ กม.

ยุคคุณยิ่งลักษณ์ อนุมัติ ๑ สาย คือ สายสีเขียวต่อขยาย หมอชิต-คูคต ระยะทาง ๑๙ กม.

ยุคลุงตู่ (คสช.+ประยุทธ์) อนุมัติไปทั้งสิ้น ๑๐ สาย  ระยะทางรวม ๒๐๔.๙ กม. ได้แก่

๑.แดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ๑๔.๘ กม.

๒.แดงเข้ม (รังสิต-ธรรมศาสตร์) ๘.๙ กม.

๓.สายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ๒๓.๖ กม.

๔.สายสีทอง (กรุงธนบุรี-ประชาธิปก) ๒.๗ กม.

๕.แดงอ่อน (พญาไท-หัวหมาก) แดงเข้ม (บางซื่อ-หัวลำโพง) รวม ๒๕.๙ กม.

๖.สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ๒๒.๕ กม.

๗.สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ๓๔.๕ กม.

๘.สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ๓๐.๔ กม.

๙.สายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ๓๕.๙ กม.

๑๐.สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ๕.๗ กม.

อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ

๑.สายสีน้ำตาล (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง ๒๑ กม.

๒.สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) ระยะทาง ๑๖.๒๕  กม.

ซึ่งรัฐบาลนี้ก็เดินหน้าต่อจากโครงการเดิมโดยการผลักดันตามความสำคัญ ซึ่งฝ่ายข้าราชการประจำเป็นผู้ผลักดันโครงการ เพื่อเดินหน้ากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้ ผมขอให้เครดิตรัฐบาลนี้ ที่เดินหน้าต่อเนื่องอย่างทันที ซึ่งเท่าที่ผมทราบได้แก่

โครงการรถไฟฟ้า กรุงเทพฯ ๗ สายทาง

โครงการรถไฟทางคู่ ๓ ทิศทาง เหนือ อีสาน และใต้

โครงการรถไฟความเร็วสูง ๒ สายทาง โคราช และ ๓  สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

โครงการมอเตอร์เวย์ ๓ สายทาง กาญจนบุรี โคราช  และมาบตาพุด

โครงการสนามบินใหม่ ๑ แห่ง คือ เบตง และขยายสนามบินขอนแก่น กระบี่ นครศรีธรรมราช

—————–

ครับนั่นคือสิ่งที่สืบค้นได้ เพราะถูกบันทึกเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีอะไรยากเลยสำหรับคนที่เล่นโซเชียลในการค้นหาข้อเท็จจริง

แต่น่าประหลาดใจทำไมคนบางจำพวกถึงยังยึดติดอยู่กับข้อมูลเท็จ

ชูคอมองไปรอบๆ ครับ มีข้อเท็จจริงอยู่ทั่วไป อย่าจมปลักอยู่กับวาทกรรมสิ้นคิด ที่มีแต่ลดรอยหยักในเนื้อสมอง

และอย่าลืมนะครับ ทุกอย่างถูกบันทึกไว้หมด อาทิ  เมื่อครั้งพรรคไทยรักไทยหาเสียงเลือกตั้งชูนโยบาย รถไฟฟ้า ๑๐ สาย

ไม่ใช่ครั้งเดียว

หาเสียงเลือกตั้งปี ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๘ ใช้นโบาย รถไฟฟ้า ๑๐ สาย หลอกประชาชนมาโดยตลอด

สุดท้าย ๕ ปีกว่า สร้างได้สายเดียว คือ สาย Airport  Link ซึ่งเป็นภาคบังคับจากการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ

รัฐบาลพี่โกหกประชาชนไม่พอ รัฐบาลน้องโกหกซ้ำ

เพื่อไทย ตามรอย ไทยรักไทย ชูนโยบายรถไฟฟ้า  ๑๐ สายอีกรอบ

แถมกำหนดค่าโดยสารที่ ๒๐ บาทตลอดสายในทุกเส้นทาง

๒ ปีกับ ๒๗๕ วัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำได้แค่สายสีเขียวต่อขยาย หมอชิต-คูคต ระยะทาง ๑๙ กม.

๒๐ บาทตลอดสายกลายเป็นเรื่องโกหกประชาชน

นั่นคือผลงานรัฐบาลที่ “วีรพร นิติประภา” เคารพบูชา

ก็ลองเปรียบเทียบกับรัฐบาลปัจจุบันดูครับ รถไฟฟ้าหลายสายลากยาวไปชานเมือง ก็คล้ายกับที่ ฉงชิ่ง ประเทศจีน

เมืองขยายไปตามแนวรถไฟฟ้าแน่นอน

ถ้าบอกว่านี่คือการรอวันประเทศล่มสลาย ก็ไม่เป็นไรจะย้ายประเทศไปก่อนก็ได้ครับ

สนับสนุนเต็มที่



Written By
More from pp
พาไปชมผลงาน 4 ยัง อาร์ตติสท์ เจเนอเรชั่นใหม่ ‘Mathayom Art Exhibition’ แสดงงานศิลปะรูปแบบต่างๆ สะท้อนชีวิตเด็กไทยในรั้วโรงเรียน
‘Mathayom Art Exhibition’ (มัธยม อาร์ต เอ็กซิบิชั่น) งานนิทรรศการศิลปะจากฝีมือนักเรียนเกรด 12 ของโรงเรียนนานาชาติ กรุงเทพ (ISB) ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่...
Read More
0 replies on “ชังชาติล่มสลาย-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();