นายกฯ ประชุม ศบค. เตรียมปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ระยะ 2 ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม

นายกฯ ประชุม ศบค. เตรียมปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ระยะ 2 ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม (พฤษภาคม 2565) แต่ขอประเมินช่วงสงกรานต์ก่อน พร้อมสั่งการระดมสรรพกำลังบุคลากรทางการแพทย์ฯ เตียง ยา เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการดูแลผู้ติดเชื้อ

8 เมษายน 2565 เวลา 09.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 6/2565 รับทราบร่างการปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2 ทั้งนี้ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมว่า ต่างประเทศชื่นชมการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ของไทยที่ผ่านมา พบว่าสัดส่วนผู้ที่เดินทางเข้ามาติดเชื้อน้อย และหลังจากที่ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ มีการเดินทางเข้าใหม่มากขึ้น โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มบุคลากรในการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและประสิทธิภาพการบริการด้วย สำหรับการประชุม ศบค.วันนี้ เพื่อรับทราบสถานการณ์ ติดตามประเมินสถานการณ์ภายหลังจากที่ได้มีการผ่อนคลายหลักเกณฑ์มาตรการเดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565

แต่ยังคงมาตรการการเดินทางเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ซึ่งเป็นภาวการณ์ที่หลายประเทศก็มีการผ่อนคลายการเข้าประเทศ และบางประเทศได้เปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่ต้องกักตัว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยวได้ฟื้นตัวและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ จะมีการพิจารณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับช่วงเทศกาลสงกรานต์ และการเดินทางเข้าประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยวันนี้จะเห็นว่าชาวต่างชาติได้ทยอยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ถึงแม้จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็มีอัตราการติดเชื้อที่สูง ติดเชื้อได้ไว และหากการควบคุมทำได้ไม่ดีพอ จะส่งผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก และจำนวนผู้เสียชีวิตที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่อัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขอให้พิจารณาให้ผู้ป่วยกลุ่ม 608 และเด็ก สามารถเข้ารับการรักษาในระบบ UCEP Plus ในสถานพยาบาลได้ โดยไม่ต้องรอรักษาตามอาการ และขอให้ ศปก.สธ. ศปก.ศบค. และศปม. ช่วยกันระดมสรรพกำลังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เตียง ยา และเวชภัณฑ์ ให้มีเพียงพอต่อการดูแลผู้ติดเชื้อทั้งในขณะนี้และช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์

ขณะที่แนวทางการดูแลประชาชนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขอให้เพิ่มจำนวนคู่สายของสายด่วน 1330 เพิ่มช่องทางติดต่ออื่น ๆ และเตรียมความพร้อมของระบบให้รองรับความต้องการในปริมาณมากได้ รวมถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับเรื่องเข้าระบบและให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วที่สุด

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คงจะยังไม่จบง่าย ๆ และองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่สามารถแพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ ในเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะเกิดได้จากการเดินทางกลับบ้าน แล้วมีการพบปะสังสรรค์กันจำนวนมาก

จึงอาจส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้ที่เคยป่วยโควิดแล้วก็อาจจะติดเชื้อซ้ำได้อีก ซึ่งเป็นข้อมูลจากทางสาธารณสุข ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนมาแล้วก็ตาม ถ้าหากไม่ระวังตัวเอง จึงขอให้ ศปก.สธ. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อในประเทศไทย เพื่อเตรียมการรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายกรัฐมนตรีย้ำให้เร่งให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 (Long COVID) เพราะการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ แม้หายแล้วก็จะมีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติระยะยาวในผู้ป่วยบางราย จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการกำกับติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเต็มความสามารถต่อไป รวมถึงเตรียมแผนรับมือกับภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 เพื่อดูแลผู้ป่วยที่อาจประสบปัญหา Long COVID จนทำให้บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการติดตามความคืบหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19 มีความสำคัญมาก ขอให้เป็นวาระรายงานในที่ประชุม ศบค. เป็นระยะ ๆ เป็นแนวทางให้ประชาชนได้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนให้ป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างสูงสุดต่อไปอีก จะต้องไม่ประมาท โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์

สถานประกอบการต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เจ้าหน้าที่ต้องไม่หละหลวม ไม่ปล่อยปละละเลย หากตรวจพบจะต้องลงโทษสถานหนักทุกพื้นที่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาด ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้เสียชีวิตให้ได้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับโควิดได้โดยไม่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ขอฝากทุกคนให้ช่วยกันดูแลด้วย และนายกรัฐมนตรียังกำชับให้มีการเตรียมความพร้อมมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเปิดภาคเรียนวันที่ 17 พฤษภาคมนี้

สำหรับมติที่ประชุม ศบค. ที่สำคัญมีดังนี้

1. รับทราบร่างการปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2 (พฤษภาคม 2565) ที่มีแผนงาน
  1. ประกอบด้วย ระบบการลงทะเบียน – ปรับหลักฐานที่ต้องใช้ในระบบ Thailand Pass
  2. ผลตรวจก่อนเดินทาง – ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม
  3. ประกันภัย – ผ่อนคลายวงเงินประกัน หรืออื่น ๆ
  4. ปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อ เมื่อมาถึง และระหว่างพำนัก กรณี Test & Go – ปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อฯ เมื่อเดินทางมาถึง กรณี Quarantine ลดระยะเวลากักตัว กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะฯ และลูกเรือ ลดระยะเวลากักตัว หรือผ่อนคลายอื่น ๆ
  5. กรณีผู้เดินทางติดเชื้อฯ และกรณีเป็นผู้เสี่ยงสูง (HRC) – ผู้ติดเชื้อฯ อาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยสีเขียว) ผ่อนคลายอื่น ๆ – ผู้เสี่ยงสูง (HRC) ยกเลิกการกักตัว หรือผ่อนคลายอื่น ๆ

2. เห็นชอบแผนการจัดหา Long-acting antibody (LAAB) สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ที่มีหลักการ ฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Passive immunity) ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีน มีรายละเอียดในเอกสารกำกับยา คือ

  1. เป็น Antibody ชนิด long-acting antibody มีส่วนประกอบ 2 ชนิด (150 mg tixagemab co-packaged with 150 mg cilgavimab)
  2. ผ่านการรับรองใช้แบบฉุกเฉิน EUA โดย US FDA เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564
  3. ขึ้นทะเบียนยาโดยบริษัท AstraZeneca ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 มีข้อบ่งใช้ คือ

กลุ่มเป้าหมายผู้มีความเสี่ยงสูงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ โดยให้ก่อนการสัมผัสโรค สำหรับเชื้อไวรัสโควิด ขนาดการใช้ ฉีดเข้ากล้ามทุก 6 เดือน ภูมิต้านทานสามารถป้องกันโควิด19 ได้ 6 -12 เดือนต่อการให้ 1 ครั้ง

ประสิทธิผล ร้อยละ 83 ในการลดความเสี่ยงของอาการรุนแรงของโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron subvariants BA.1 BA.2 และ BA.1.1 สำหรับกระบวนการจัดหา หารืออัยการสูงสูงสุดแนะนำให้ปรับสัญญากับบริษัท AstraZeneca โดยเปลี่ยนจากวัคซีน AstraZeneca บางส่วน โดยอยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่ ครม. อนุมัติแล้วและไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่ม (ข้อมูล ณ 8 เมษายน 2565)

นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการจัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยนโยบายของรัฐบาล และ ศบค. ขอให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมของตัวเองในการเดินทาง เคารพกฎจราจร ปลอดภัยจากโควิดและเดินทางปลอดภัย พร้อมย้ำว่า ขอให้รักตนเอง รักครอบครัว รักผู้อื่น


Written By
More from pp
อย. แนะ 4 ทริค จัดชุดสังฆทานยาถวายพระ คนรับสุขกาย คนให้อิ่มบุญ เสริมมงคลให้ชีวิต
เนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มักมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่นิยมถวายชุดสังฆทานยา อย. จึงขอแนะชาวพุทธ 4 ทริค “3 เลือก 1 ห้าม” เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของพระภิกษุ หากพบยาหมดอายุในชุดสังฆทาน...
Read More
0 replies on “นายกฯ ประชุม ศบค. เตรียมปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ระยะ 2 ยกเลิกตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i 0 || bottom > 0) && top