รู้ให้ทันภาวะหัวใจล้มเหลว.. อันตรายต่อชีวิต

“หัวใจ” เป็นอวัยวะที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดหล่อเลี้ยงปริมาณออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยมีลิ้นหัวใจช่วยในการควบคุมการไหลเวียนเลือดให้เป็นไปตามทิศทาง โดยไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเมื่อมีการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากลิ้นหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ การทำงานของลิ้นหัวใจมีความผิดปกติจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทํางานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดภาวะต่างๆ ตามมา เช่น ภาวะหัวใจโต ภาวะเลือดคั่งในหัวใจ และอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุของเสียชีวิตได้ในที่สุด

นพ.ชัยณรงค์ ศิริกาญจนโกวิท อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรค สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจมีผลทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือรับเลือดกลับสู่เข้าหัวใจได้ตามปกติ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจล้มเหลวจะแสดงอาการ..

  1. เหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ หายใจไม่สะดวก
  2. เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. บวมตามบริเวณเท้าและขา กดแล้วบุ๋ม จากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เกิดน้ำคั่งที่อวัยวะภายใน เช่น ตับและม้ามโต

          ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถรักษาได้โดยการใช้ยารักษา การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ทั้งนี้ควรงดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ การบริโภคเกลือและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอและควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยเป็นสำคัญ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิตลอด 24 ชั่วโมง และมีบริการรถ Mobile ICU เพื่อรองรับผู้ป่วยฉุกเฉิน สายด่วนศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ โทร. 08-18703538-40

 


Written By
More from pp
สูงวัย กาย-ใจต้องฟิต อาจารย์จุฬาฯ แนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านอย่างปลอดภัย ไกลโรค (โควิด-19)
ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด จุฬาฯ ชวนผู้สูงวัยออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสโควิด-19 แม้ต้องเก็บตัวที่บ้านก็แข็งแรงได้ พร้อมแนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านง่ายๆ ในช่วงล็อกดาวน์
Read More
0 replies on “รู้ให้ทันภาวะหัวใจล้มเหลว.. อันตรายต่อชีวิต”