‘โอมิครอน’ มาแล้ว-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

มาเร็วกว่าที่คิด

เผลอแป๊บเดียว พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทยแล้ว ๖๓ คน

อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเกือบทั้งหมด เดินทางมาจากต่างประเทศ

ถูกกักตัวไปเรียบร้อย

แต่มีอยู่ ๑ ราย เป็นสตรีชาวไทย ถือเป็นรายแรกที่ติดเชื้อ โอมิครอน ภายในประเทศ

สาเหตุเพราะสามีเป็นนักบิน สัญชาติโคลอมเบีย เดินทางจากไนจีเรียเข้าไทย โดยติดเชื้อมาจากต่างประเทศ

ขณะที่ภรรยาติดเชื้อไม่มีประวัติเดินทางไปไหน

แต่ดูไทม์ไลน์ของสามีแล้วถือว่ามีความเสี่ยง จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม

ตอนนี้จึงถือว่าเส้นทางของ โอมิครอน เข้ามาป้วนเปี้ยนในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว

ส่วนจะไปต่อได้แค่ไหน ก็ขอให้จำตอน เดลตา เข้ามาใหม่ๆ ไว้

ไม่มีประเทศไหนเอา เดลตา อยู่

ต่างกันที่เจอช้าหรือเร็วเท่านั้น

ดูเวียดนามเป็นตัวอย่าง ช่วงที่อาเซียนระบาดหนัก เวียดนามดูเหมือนจะรอด

ขณะนี้ เวียดนามติดเชื้อวันละ หมื่นห้า ยืนพื้น ขณะที่ชาติอื่นในอาเซียน ล้วนอยู่ในช่วงขาลงของเดลตา

แต่แล้ว ทุกประเทศ ต้องเจอการระบาดรอบใหม่

รอบนี้เป็นของโอมิครอน

ก็เป็นไปตามที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเอาไว้วานนี้ (๒๐ ธันวาคม)  ครับ

———————————-

…โควิด-๑๙ โอมิครอน มาแน่ ไม่อยากได้เป็นของขวัญปีใหม่

เมื่อมองย้อนอดีตสายพันธุ์อังกฤษ แอลฟา ระบาดในอังกฤษตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๓ พบผู้ป่วยเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เป็นชาวอังกฤษ เดือนมกราคม ๒๕๖๔ ทุกคนที่เข้ามาจะต้องกักตัว ๑๔ วัน

เราควบคุมได้ดี

จนกระทั่งปลายเดือนมีนาคม ก็เข้าสู่ประเทศไทยจนได้ โดยเข้ามาทางชายแดนด้านตะวันออก

สายพันธุ์อินเดีย เกิดในประเทศอินเดีย เดลตา ในต้นปี 2564  พบในแคมป์คนงานก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว มาแทนที่สายพันธุ์แอลฟาในเวลาต่อมา

ใช้เวลาเพียงเดือนกว่าๆ เท่านั้น ก็กระจายทั่วประเทศไทย จนถึงวันนี้

ขณะนี้การเดินทางเข้าประเทศไทย ใช้ test to go ไม่มีการกักตัว ยกเว้นคนที่ตรวจพบด้วย RT-PCR เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเดินทางทั้งครอบครัว ๔ คนพ่อแม่ลูก ตรวจพบเฉพาะลูก ๑ คน ก็จะกักตัวลูกไว้รักษา และปล่อยผู้ที่ตรวจเป็นลบทั้งหมด และให้ทำ ATK  รายงานผลมา ทุกคนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อถือเป็นความเสี่ยงสูง โอกาสผู้ที่ปล่อยไปจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปได้สูงที่จะแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้

บทเรียนจากต่างประเทศ โควิด-๑๙ สายพันธุ์โอมิครอน กระจายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

ขณะนี้ร่วม ๙๐ ประเทศ ที่ตรวจพบ

มีอัตราเร่งกระจายในพื้นที่ยุโรป และอเมริกาอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ๒ เข็มก็ติดได้

ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ไม่จำกัดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเป็นยุโรป และอเมริกาที่จะมีโอกาสนำเชื้อเข้ามา

ปัจจุบันนี้ วัคซีนในส่วนที่สร้างภูมิต้านทานเฉพาะ spike หนามแหลมเท่านั้น ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างมาก เพราะการกลายพันธุ์ โอมิครอน จะกลายพันธุ์มากในส่วนหนามแหลม

เห็นได้ชัดว่าประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก

และปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่าภูมิต้านทานแบบลูกผสม เกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับวัคซีน จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าภูมิต้านทานจากวัคซีน  spike อย่างเดียว รอการศึกษาจากวัคซีนเชื้อตาย ที่มีแอนติบอดีหลากหลายกว่า spike

ประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้น ที่จะระบาดของสายพันธุ์นี้ ในอนาคตอันใกล้นี้

จะเลยปีใหม่หรือไม่ยังไม่ทราบ

และมีโอกาสที่จะเกิดเป็นคลัสเตอร์ กระจายอย่างรวดเร็ว ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันในการดูแล ป้องกันซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่

ข้อมูลในต่างประเทศ อเมริกาหรืออังกฤษ เริ่มมีการระบาดมา  อัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วย มีจำนวนน้อยลงมาโดยตลอด

แต่ถ้ามีผู้ป่วยจำนวนมาก จำนวนผู้ป่วยที่จะต้องเข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตก็จะเพิ่มในอัตราเพิ่มขึ้น

และสิ่งที่สำคัญก็คือ จะมีบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งเกิดติดเชื้อ และจะทำให้ขาดบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลรักษา

สิ่งที่น่าสนใจ ติดตามในการพยากรณ์ของอังกฤษ ประชากรใกล้เคียงประเทศไทย ถ้ามีการระบาดขนาดนี้ ไม่กี่เดือนข้างหน้า ก็จะมีผู้ติดเชื้อเกือบครึ่งประเทศ

ประชากรครึ่งประเทศจะมีภูมิต้านทานโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่ดีกว่าวัคซีน

โรคจะสงบลงหรือไม่ เป็นไปได้ ถ้าฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากร่วมกับการติดเชื้อ จะทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ก็จะทำให้โรคนี้สงบได้เร็วขึ้น โดยจะต้องไม่มีการสูญเสียชีวิต หรือสูญเสียให้น้อยที่สุด เพราะเราผ่านมา ๒ ปีแล้ว

สถานการณ์ทั่วโลก ขณะนี้แสดงให้เห็นว่า โอมิครอน มาแน่

เราไม่อยากได้ เป็นของขวัญปีใหม่ “โอมิครอน”

อย่างน้อยก็ขอให้เลยไปก่อน หรือช้าที่สุด…

————————————–

ครับ…ทุกคนไม่อยากได้ของขวัญปีใหม่แบบนี้

ขณะเดียวกัน ทุกคนต้องเอาตัวรอดจาก โอมิครอน ในช่วงปีใหม่ให้ได้

ไม่ตั้งวงฉลองกันแบบข้ามปี จะเป็นการดีมาก

ขณะที่หลายประเทศเคลื่อนไหวก่อนไทยเพราะเขาเริ่มติดกันเยอะ

อังกฤษติดเชื้อโอมิครอนวันละหลักหมื่นคน

ยุโรปทยอยล็อกดาวน์

ฝั่งอเมริกา คุณหมอแอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้ออันดับหนึ่ง เป็นหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน อภิปรายในวาระแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ว่า

…”จะเกิดความตึงเครียดเรื่องระบบโรงพยาบาลในบางพื้นที่ของประเทศ”

โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีระดับการฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ ที่ต่ำ และเรียกร้องให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข้ารับการฉีดวัคซีน และผู้ที่ได้รับวัคซีน ๒ โดสแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา ที่เป็นชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือบูสเตอร์

แม้วัคซีนจะป้องกันเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่การต่อสู้เพื่อเอาชนะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙  จะไม่สามารถเป็นไปได้ หากปราศจากวัคซีน…

สำหรับประเทศไทยจะถึงขั้นต้องล็อกดาวน์อีกครั้งหรือไม่ ยังตอบไม่ได้

วันนี้เราฉีดวัคซีนทะลุ ๑๐๐ ล้านโดสไปแล้ว

อย่างว่า…ฉีด ๒ เข็มแล้วก็ติดได้

ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ยังน่าจะรอด

แต่สงกรานต์ยังต้องลุ้น อาจไม่ได้สาดน้ำเช่นเคย



0 replies on “‘โอมิครอน’ มาแล้ว-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();