‘โอมิครอน’ ปีเสือ-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

คงต้องตั้งสติกันดีๆ แล้วล่ะครับ

ประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดรอบใหม่ โอมิครอน จะเข้าแทนที่ เดลตา ในไม่ช้านี้

นี่ไม่ใช่ทิศทางของไทยเพียงประเทศเดียว

แต่โอมิครอนจะเป็นโควิดสายพันธุ์หลักทั่วโลก ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

แถลงการณ์ของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุถึง การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสองเท่าในทุก ๑-๓ วัน

เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่มากกว่าการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตา ทำให้ปัจจุบันมีประเทศที่ตรวจพบการติดเชื้อแล้ว  ๘๙ ประเทศ

แต่ WHO ยังคงมีข้อมูลที่จำกัดอย่างชัดเจน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการตรวจหาเชื้อและประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อ “โอมิครอน” ทำให้ยังไม่สามารถประเมินถึงสาเหตุของการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว

โดยเฉพาะในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนจำนวนมากจนเกิดภูมิคุ้มกันใน ยุโรป อเมริกา

ยังไม่ชัดเจนถึงการแพร่ได้อย่างรวดเร็ว ว่าเป็นเพราะ โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

หรือมีความสามารถในการแพร่กระจายที่สูงตามธรรมชาติ

หรือมีความสามารถทั้งสองอย่างรวมกัน

ขณะนี้ อัตราการเข้าโรงพยาบาลในอังกฤษ และแอฟริกาใต้ยังคงทวีความรุนแรง

และหากดูจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นในตอนนี้ก็เป็นไปได้ว่า  ระบบสาธารณสุขอาจมีปัญหา โรงพยาบาลอาจล้นไปด้วยผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว

กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่ ตัวเลขเมื่อวันเสาร์ อยู่ที่ ๙๐,๔๑๘ คน และเสียชีวิตเพิ่มอีก ๑๒๕ คน

เป็นจำนวนผู้ติดเชื้อ โอมิครอน เพิ่มขึ้นกว่า ๑ หมื่นคน  ในรอบ ๒๔ ชั่วโมง

เพียงแค่ ๒ วัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนเปลี่ยนจากหลักพันเป็นหลักหมื่น

แต่อัตราการเสียชีวิตยังต่ำ

นับตั้งแต่ โอมิครอน ระบาด เสียชีวิตไปแล้ว ๗ ราย

ขณะที่ชาวอังกฤษฉีดวัคซีนไปแล้ว ๑๒๔.๖ ล้านโดส

๒๖.๓ ล้านคน หรือเกือบ ๔๐% ของประชากร ได้เข็มกระตุ้น เข็ม ๓ ไปเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นมีแนวโน้มจะล็อกดาวน์ลอนดอน ในเร็วๆ นี้ โดยภาคธุรกิจเอกชนส่งสัญญาณ ปิดตัวเองก่อนรัฐบาลมีคำสั่งไปบ้างแล้ว

ตัวเลขที่น่าตกใจ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โอมิครอน ที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจาก ๘,๐๐๐ ราย เป็น  ๒๙,๐๐๐ ราย

เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ชาวอเมริกันเสียชีวิตเพราะโควิด ทุกๆ  ๔๕ วินาที

แม้จะยังไม่มีข้อมูลความรุนแรงของ โอมิครอน มากนัก  เท่าที่มีอยู่ในเวลานี้คือ อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา แต่อัตราการป่วยก้าวกระโดด

นั่นทำให้รัฐบาลชาติต่างๆ ทั่วยุโรป กำลังถกเถียงกันอย่างหนัก ว่าต้องนำมาตรการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ อย่างเข้มข้นกลับมาใช้อีกครั้ง

เนเธอร์แลนด์ ประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ยาวถึง ๑๔  มกราคม ปีหน้า เพราะ “โอมิครอน” กำลังเข้าแทนที่เดลตา

โรงเรียน ร้านค้า และบริการทุกชนิดที่ไม่จำเป็น รวมถึง ร้านอาหาร ร้านทำผม พิพิธภัณฑ์ และสถานออกกำลังถูกปิดทั้งหมด

เป็นการระบาดระลอกที่ ๕ ของเนเธอร์แลนด์แล้ว

การปิดประเทศของเนเธอร์แลนด์เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

วันคริสต์มาส และปีใหม่ อนุญาตให้แต่ละบ้านเปิดรับแขกได้มากสุด ๔ คน

นอกบ้านห้ามจับกลุ่มเกิน ๒ คน

นั่นคือการผ่อนปรนที่มากสุดแล้ว

เพราะหากไม่ดำเนินมาตรการควบคุมตั้งแต่ตอนนี้ อาจทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่บริหารจัดการไม่ได้

ผู้ป่วยโควิด-๑๙ จะล้นโรงพยาบาล

ระบบสาธารณสุขล่ม

การเคลื่อนไหว ของเนเธอร์แลนด์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่หลายประเทศในยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส ไซปรัส และ ออสเตรีย พากันกลับมาใช้มาตรการคุมเข้ม เช่นกัน

ฝรั่งเศส สั่งยกเลิกการจุดพลุในคืนวันส่งท้ายปีเก่า การระบาดครั้งนี้เป็นรอบที่ ๕ เช่นกัน

กรุงปารีส ยกเลิกงานเฉลิมฉลองที่ฌ็องเซลิเซ ในวันสิ้นปี

เดนมาร์กสั่งปิดโรงภาพยนตร์ สถานที่แสดงคอนเสิร์ต  สวนสนุก และพิพิธภัณฑ์

ไอร์แลนด์ ให้ผับ บาร์ เปิดได้ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. พร้อมจำกัดจำนวนคน ที่จะเข้าร่วมงานกิจกรรมต่างๆ ทั้งในร่ม และกลางแจ้ง

สำหรับยุโรป อเมริกา นี่คือการย้อนกลับไปสู่การระบาดอย่างหนักหน่วง ในช่วงปลายปี ๒๕๖๓ ถึง ต้นปี ๒๕๖๔

และขณะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ โอมิครอน เท่านั้น ยังไม่ใช่จุดสูงสุด ที่ยังคาดเดาไม่ได้ว่าจะไปถึงจุดไหน แต่ความรู้เบื้องต้นในขณะนี้คือ ระบาดรวดเร็วกว่า เดลตา

นั่นคือสถานการณ์ของ โอมิครอน ที่ควรรับรู้เสียแต่เนิ่นๆ

วันหนึ่งประเทศไทยอาจไม่รอด

ที่จริงน้อยประเทศที่จะรอด

เมื่อรู้แล้วก็เพลาๆ เรื่องการเมืองกันหน่อย

ไม่ว่าจะโหนโควิดเพื่อล้มรัฐบาล

หรือชุมนุมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ขู่ฟ่อจะคิกออฟหลังปีใหม่

ท่องให้ขึ้นใจ โอมิครอน ติดเร็ว ติดง่ายกว่า เดลตา ๗๐  เท่าตัว

กลับมาดูสถานการณ์รอบๆ ไทย เจอ โอมิครอน แล้วหลายประเทศ

มาเลเซีย

สิงคโปร์

กัมพูชา

ที่น่ากังวลคือเมียนมา เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อ เชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่แรงงานผิดกฎหมายทะลักเข้าไทยทุกวัน

ถ้าไม่อยากให้ โอมิครอน เดินตามรอย เดลตา คุมชายแดนให้ดี

และที่คุณหมอเกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอเรื่อง  COVID Safe Area ให้รัฐบาลพิจารณาอนุญาตให้มีการผ่อนปรนการสวมหน้ากากอนามัยในบางพื้นที่ เช่น สวนสาธารณะ  หรือชายหาด

แม้จะทำภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์ภาพรวมของประเทศสามารถควบคุมได้ดี การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุม โดยมีข้อกำหนดในการปฏิบัติเพิ่มเติม

เช่น การรักษาระยะห่าง ห้ามขายอาหาร และการลดความแออัด เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชนได้รู้สึกถึงการใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติและผ่อนคลายมากขึ้น ต้องขอร้องดังๆ ว่า อย่าเพิ่ง!

ในสถานการณ์ โอมิครอน ลูกผีลูกคน ประชาชนอยากสวมหน้ากากอนามัยมากกว่าครับ

เพราะปลอดภัยกว่า

อย่าไปเอาอย่างฝรั่ง งอแงจะถอดหน้ากากตลอดเวลา

ขนาด โอมิครอน ระบาด บนท้องถนนในลอนดอน เวลานี้ ประชาชนยังถอดหน้ากากอนามัยออกมาเดินครึ่งต่อครึ่ง

ที่น่าตกใจคือ ให้เหตุผลว่าที่ไม่สวมเพราะ อยู่ในที่สาธารณะ สถานที่เปิด ไม่ติดโควิด

ที่สาธารณะที่ว่าคือแหล่งกิน แหล่งช็อปปิ้ง มีผู้คนแออัด  เดินกันไหล่เบียด

ครับ…สถานการณ์โควิดปีเสือทองในไทยจะดุแค่ไหน ไม่เกินสงกรานต์ได้รู้กัน



Written By
More from pp
“องอาจ” สส.สระบุรี ขานรับ “โครงการกองทุนหมู่บ้าน” ของรัฐบาล มุ่งเเก้ปัญหาความยากจน เดินหน้าสร้างศักยภาพให้ชุมชนเข้มเเข็ง พึ่งพาตัวเองได้
นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้รับหนังสือจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน เเละชุมชนเมือง จังหวัดสระบุรี เพื่อขอความสนับสนุนการจัดงาน...
Read More
0 replies on “‘โอมิครอน’ ปีเสือ-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();