10 ธันวาคม 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3
การกระตุ้นเข็ม 3 ตามหลังวัคซีนเชื้อตาย ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร VACCINE เป็นการกระตุ้นด้วย AstraZeneca ได้ผลดี ดังรายละเอียดอ่านได้จากวารสาร https://doi.org/10.1016/j.vaccine.2021.11.083
ดังรายละเอียดดังรูป
ส่วนการศึกษา การกระตุ้นเข็ม 3 ตามหลังวัคซีนเชื้อ ด้วยวัคซีนชนิดต่างกัน ได้แก่ กระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตาย (Sinopharm) ไวรัส Vector (AstraZeneca) หรือ mRNA (Pfizer) ที่ระยะเวลา 3 เดือนหลังเข็ม ที่ 2 ได้ส่งไปในวารสารแล้ว พร้อมกับเผยแพร่ใน MedRxiv https://medrxiv.org/cgi/content/short/2021.12.03.21267281v1
จะเห็นว่าทั้ง 3 วัคซีนที่ใช้กระตุ้น สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานขึ้นได้ ในระดับที่แตกต่างกัน
ถ้าวัดภูมิต้านทานต่อ Spike โปรตีน การกระตุ้นด้วย mRNA จะได้ภูมิต้านทานสูงสุด รองลงมาคือ virus Vector แล้วตามด้วยเชื้อตาย
วัคซีนเชื้อตายมีส่วนของไวรัสทั้งตัวจึงมี nucleocapsid จึงตรวจพบภูมิต้านทานต่อ nucleocapsid
การตรวจวัดซีรั่ม IgA การตอบสนองสูงใน mRNA และไวรัส Vector มากกว่าวัคซีนเชื้อตาย
ตามที่เคยกล่าวมาแล้ว วัคซีนเชื้อตายเป็นตัวเริ่มต้นที่ดี แต่เป็นตัวกระตุ้นที่ไม่ดี ในการกระตุ้น ควรใช้วัคซีน virus vector หรือ mRNA