ภาวะวิตกกังวลหรือปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ของมนุษย์ โดยทั่วไปคนเราเวลาเจอภาวะวิกฤตจะทำให้เกิดอารมณ์ 4 ด้าน คือ ความกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้า รวมไปถึงความโกรธ โดยในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เราเจออยู่นั้น ล้วนส่งผลทำให้ทุกคนเกิดความเครียดและความวิตกกังวลใจ
ดร.พญ.ประวีณ์นุช เพ็ญภาสกานต์ จิตแพทย์ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์และความเครียดของมนุษย์ในแต่ละคน มีความแตกต่างกันตามสถานการณ์ โดยการตอบสนองนั้นมาจากพื้นฐานสุขภาพร่างกาย สภาพจิตใจ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงการเลี้ยงดูของคนครอบครัว
โดยความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอันตรายต่อสถานการณ์ที่ตนเองนั้นไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ ช่วยให้เราวางแผนรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งวิธีเตรียมตัวรับมือขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต
การปรับตัวหรือการมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการทบทวนว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร และพิจารณาเรียงลำดับของปัญหาตามสถานการณ์นั้นๆ หรือแม้แต่ทัศนคติและการปรับตัวของแต่ละบุคคล โดยคนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันเราควรมีวิธีรับมืออย่างเข้าใจ ดังนี้
- หากมีความเครียด ลดการติดตามข่าวสารสถานการณ์ ที่ก่อความเครียด
- ป้องกันตนเองปฏิบัติตามคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข
- คลายความวิตกกังวลโดยการหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือทำกิจกรรม ที่ผ่อนคลาย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และพักผ่อนให้เพียงพอ
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และส่งผลให้หลายคนเกิดความเครียดและวิตกกังวลสะสม การดูแลสุขภาพตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อความสร้างเข้มแข็งให้ตนเองมีภูมิคุ้มกันพร้อมที่จะรับมือกับความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ หรือปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อช่วยประเมินอาการเบื้องต้น
คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์เฉพาะทาง พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการให้บริการปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคทางจิตเวชต่างๆ พร้อมด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยทำให้การรักษาสามารถทำได้อย่างครบวงจร และคลินิกอายุรกรรมพร้อมเปิดบริการตั้งแต่ 07.00 – 24.00 น.