ฝน – สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

Monstera leaf on a rainy day

ฝน เป็นคำเรียกน้ำที่ตกลงมาจากฟากฟ้า มองเห็นเป็นสาย น้ำฝนที่ตกลงมามีลักษณะต่างกันแล้วแต่ปริมาณของน้ำ  ถ้าตกน้อย ๆ เห็นเป็นละอองฝอย เรียกว่า ฝนตกเป็นเยี่ยวจักจั่น เรียกละอองฝอยนั้นว่า ละอองฝน ถ้าตกมากขึ้นเป็นฝนโปรย ฝนที่ตกหนักมาก ใช้คำขยายว่า ฝนตกจั้ก ๆ เรียกว่า ฝนตกอย่างฟ้ารั่ว หรือฝนตกไม่ลืมหูลืมตา

อาการที่ฝนตกมีหลายลักษณะ เช่น ฝนเม็ดใหญ่ ที่ตกลงมาอย่างแรงและเร็วซู่เดียว เรียกว่า ฝนไล่ช้าง ฝนที่ตกเบา ๆ นาน ๆ เรียกว่า ฝนพรำ  ฝนที่ตกในฤดูที่ไม่ใช่ฤดูฝน เรียกว่า ฝนหลงฤดู ฝนที่ตกในช่วงเดือน ๓ ซึ่งใกล้ฤดูนวดข้าวของชาวนา ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน  ส่วนชาวสวนจะเรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง เพราะมะม่วงกำลังออกช่อ ฝนทำให้มะม่วงติดผลได้มาก ฝนที่ตกหนักแล้วเบาลง เรียกว่า ฝนซา และเมื่อหยุดตกเรียกว่า ฝนหยุด ส่วนฝนที่ตกหนักมากตอนท้ายฤดูฝน เรียกว่า ฝนสั่งฟ้า

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

Written By
More from pp
จากเลี้ยงกระบือสู่ “โคเนื้อวากิวสุรินทร์” อาชีพทำเงินสมาชิกสหกรณ์ฯวากิวยางสว่าง จก.
“เนื้อวากิว” เป็นอีกเมนูเด็ดไว้ต้อนรับผู้นำในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิกหรือเอเปก 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน2565 โคเนื้อวากิวนิยมเลี้ยงกันในในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะ จ.สุรินทร์ถือเป็นถิ่นโคเนื้อวากิวที่ชาวบ้านมีการเลี้ยงเป็นอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จนสามารถสร้างรายได้อย่าง...
Read More
0 replies on “ฝน – สำนักงานราชบัณฑิตยสภา”