อว. เผยความก้าวหน้าของการวิจัยวัคซีนโควิด 19 โดยนักวิจัยไทยความคาดหวังของประเทศ

การวิจัยและพัฒนาวัคซีนโดยทีมแพทย์และนักวิจัยไทย ถือเป็นอีกความหวังของประเทศในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเผยวัคซีน 4 ชนิด เริ่มนำมาทดสอบในคนระยะแรกแล้ว

กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยว่า จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจของโลกและประเทศเป็นอย่างมาก วัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชน ต้องเป็นวัคซีนที่ผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ จนมีความปลอดภัยสูงที่สุด และส่งผลข้างเคียงน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบัน คนไทยให้ความสนใจและฝากความหวังไว้กับการพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพของนักวิจัยไทยเป็นอย่างมาก
วัคซีน ChulaCov19 ซึ่งเป็นการพัฒนาวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 SARS-Cov-2 โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไวเตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ
[ส่งฟรี ขั้นต่ำ 200.-] Protex โพรเทคส์ ฟอร์เมน สปอร์ต 65 กรัม ซื้อ 4 แถม 1 รวม 5 ชิ้น สบู่ก้อน
เมื่อวัคซีน mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด ภายหลังประสบความสำเร็จจากการทดลองในลิงและหนู พบว่าช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงได้ผลิตและทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัครคนไทย เพื่อหาปริมาณวัคซีน ChulaCov 19 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดvและกำลังเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 2 ในเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
สามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส ได้นาน 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 2 สัปดาห์ อีกทั้ง วัคซีนชนิด mRNA สามารถผลิตได้เร็ว ไม่ต้องรอเพาะเลี้ยงเชื้อ สังเคราะห์ในหลอดทดลอง ไม่เกิน 4 สัปดาห์ ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่ และสามารถปรับแต่งวัคซีนต้นแบบตามพันธุกรรมของเชื้อกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท Bionet Bionet Asia เพื่อผลิตได้ทันที โดยการวิจัยและพัฒนาวัคซีนนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย
โดยวัคซีน ChulaCov19 สามารถป้องกันโรคโควิด-19 และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมากในหนูทดลอง โดยใช้หนูทดลองชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-19 ได้ เมื่อหนูได้รับวัคซีน ChulaCov19 ครบสองเข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ และรับเชื้อโคโรนาไวรัสเข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูไม่ให้ป่วยเป็นโรคและยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดได้ รวมทั้งสามารถลดจำนวนเชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย 10,000,000 เท่า ส่วนหนูที่ไม่ได้รับวัคซีนจะเกิดอาการแบบโควิด-19 ภายใน 3 -5 วันและทุกตัวมีเชื้อสูงในกระแสเลือดในจมูกและปอด
ด้าน วัคซีนใบยา โดยการพัฒนาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างนวัตกรรมการใช้เซลล์ใบยาสูบในกระบวนการสร้างวัคซีน ชี้ให้เห็นว่า จากการทดลองวัคซีนในหนู สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก และมีความปลอดภัย จึงวางแผนการพัฒนาวัคซีนเป็น 2 Generation คือ การขยายผลทดลองในมนุษย์ในระยะที่ 1 ในเดือนกันยายน 2564 เพื่อหาขนาดของวัคซีนที่เหมาะสมในการกระตุ้นภูมิ รวมถึงมีความปลอดภัย เพื่อนำข้อมูลไปใช้กับวัคซีน Generation ที่สอง คือ การปรับสูตรให้สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ต่าง ๆ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น โดยได้เตรียมทดสอบในมนุษย์ ระยะที่ 1 และ 2 ในเดือนธันวาคม 2564 ต่อไป
เช่นเดียวกับ องค์การเภสัชกรรม และมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้พัฒนาวัคซีน DNV-HXP-S ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายโดยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ที่ผลวิจัยพบว่า มีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีในสัตว์ทดลอง ถือเป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้เริ่มการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ขณะนี้ได้ทดสอบในระยะที่ 2 เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา คาดว่าปลายปีนี้จะได้ทราบผล และจะทดสอบในระยะที่ 3 ต่อไป โดยการพัฒนาในครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงานใหม่ และได้รับความร่วมมือในระดับนานาชาติ จาก องค์การ PATH และ ผู้ผลิตทั้งเวียดนามและบราซิล จึงมีความปลอดภัยสูง
ฝั่งภาคเอกชน บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จากัด ผู้สร้างนวัตกรรมวัคซีนโควิด-19 ชนิดดีเอ็น เผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติกับสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ภายในเดือนตุลาคม 2564 นี้ และคาดว่าจะเริ่มทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 และ 3 ภายในปี 2564 ในขณะเดียวกันได้มีการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว กับอาสาสมัคร 150 คน แบบขนานกันไป บริษัทฯ ยืนยันว่ามีความพร้อมในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ทั้งชนิดดีเอ็นเอและเอ็มอาร์เอ็นเอ หากเป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ ที่บริษัทศึกษาวิจัยเอง จะสามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรมได้เร็ว
จากความก้าวหน้าการวิจัยวัคซีนดังกล่าว ส่วนหนึ่งคือการวิจัยและพัฒนาภายใต้การสนับสนุน จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ดำเนินการวิจัยโดยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ ในการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด-19 เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 และช่วยลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างทันท่วงที โดยเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทยได้ในระดับสากล เนื่องจากการวิจัยและพัฒนามีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง


Written By
More from pp
เดอะมอลล์ และเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ มอบความสุขให้ทุกคนในครอบครัวรับเทศกาลปีใหม่ กับแคมเปญ “THE GREAT HAPPY NEW YEAR” พบหลากหลายกิจกรรมสุดยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี 2564
ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ และเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ ร่วมส่งความสุขให้ทุกคนในครอบครัวรับเทศกาลปีใหม่ ผนึกกำลังพันธมิตร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน), ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย,บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด...
Read More
0 replies on “อว. เผยความก้าวหน้าของการวิจัยวัคซีนโควิด 19 โดยนักวิจัยไทยความคาดหวังของประเทศ”