อย่าได้กลัวเสียหน้า?-สันต์ สะตอแมน

ผสมโรง

สันต์ สะตอแมน

            ไม่ได้ดู “ให้รักพิพากษา”

            แต่..ได้ดูซีรีส์เรื่อง “สเตรนเจอร์” (STRANGER) ของประเทศเกาหลีทาง Netflix มาตั้งแต่ซีซั่นแรก จนครึ่งของสองซีซั่นสองแล้วณเวลานี้

            ก็..ยอมรับล่ะว่าเป็นซีรีส์ (เกาหลี) อีกเรื่องที่ชวนให้ติดตาม อาจจะเป็นด้วยถูกจริตกับตัวเองที่ชื่นชอบแนวสืบสวน สอบสวนที่มีการ “หักมุม” เป็นทุนอยู่ก็ได้หนึ่ง..

Shopee Mid Month Sale | โปรวันที่ 15 โค้ดลด 50% ดีลเด็ด 15.- ช้อปได้คุ้มถูกสุดวันนี้! กับ Shopee Mid Month Sale รวมทุกโปรโมชั่นทุกกลางเดือน ให้คุณช้อปเพลินไปกับโค้ดลด 50% จัดส่งฟรีทั่วไทยไม่มีขั้นต่ำ! และสินค้าดีลปังราคาเพียง 15.-

            กับสอง..เป็นการเล่าเรื่องคอรัปชั่นในวงการอัยการและตำรวจที่ทำให้ได้เปิดหู-เปิดตา ได้รู้ว่าคอรัปชั่นและการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในทางที่ผิด ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย!

            และให้รู้ซึ้งว่า “อัยการ” ก็เป็นแค่มนุษย์ปุถุชน จะให้มีแต่เฉพาะ “คนดี” ไปเสียทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้

            กระนั้น ผู้กำกับฯ ก็ไม่ได้จะเหยียบย่ำ-ด้อยค่าองค์กรอัยการ-ตำรวจให้ดูไร้เกียรติ-ไร้คุณธรรม เพราะระหว่างตีแผ่ด้านมืดนั้น ก็มีด้านสว่างนำเสนอให้ได้เห็นควบคู่ไปด้วย

            ซึ่งก็เชื่อว่าทั้งตอนเขียนบท และขณะถ่ายทำ จะได้มีอัยการ-ตำรวจคอยให้คำปรึกษา คอยชี้แนะ-ชี้นำ เพื่อให้เนื้อหาไม่พลาดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง..

ตามแบบอย่างการทำหนัง-ทำละครที่มีเนื้อหาสาระ เรื่องราว ตัวบุคล สถานที่ที่มีอยู่จริง!

            นี่..ว่าไปแล้ว ละครไทยเรื่อง “ให้รักพิพากษา” ก็น่าจะใช้วิธีการเดียวกันนี้ แต่ที่นายอดิศร ไชยคุปต์ รองอธิบดีอัยการ บอกว่า..

“บทละครผู้เล่นบทพนักงานอัยการมีการส่อถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการที่ไม่ชอบขัดต่อความเป็นจริง และไม่ตรงต่อหลักการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ 

ที่ต้องมุ่งค้นหาความจริงให้ปรากฏในศาลเพื่อความยุติธรรม พนักงานอัยการไม่ใช่คู่แพ้ชนะกับผู้ต้องหาและจำเลย และการเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานอัยการต้องมีการสอบเข้า

โดยมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับการสอบเข้าเป็นผู้พิพากษา อันเป็นบทบัญญัติตามกฎหมาย บทละครดังกล่าว ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในวิชาชีพพนักงานอัยการ

ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพนักงานอัยการและองค์กรอัยการ และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นการไม่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อสังคม”

มองในมุมอัยการก็ถูก และไม่ควรที่จะถูกตำหนิ ถากถาง เยาะหยัน เพราะนายอดิศรก็มีสิทธิที่จะปกป้ององค์กร-อาชีพของเขา

ละครก็คือละครไม่ใช่สารคดี..ฟังผิวเผินเออก็ถูก-จริง แต่ก็ควรรู้ไว้ด้วยว่า ละครก็ดี-สารคดีก็ดี มันมีทั้งแนวสนุกเพื่อความบันเทิง กับแนวที่เสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

อย่าง “ให้รักพิพากษา” เมื่อต้องการจะนำเสนอให้รู้-ให้เห็นถึงการทำงานของคนในองค์กร-หน่วยงานที่มีอยู่จริง..

ผู้กำกับ-ผู้เขียนบทก็จักต้องตระหนักและใช้ความระมัดระวังให้มาก เพื่อจะไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใด องค์กรหนึ่งองค์กรใดเสียหาย

ที่สำคัญเมื่อพลาดผิด และมีผู้ท้วงติง ก็ควรรีบออกมากล่าวคำขอโทษ และรีบแก้ไขให้ถูกต้องเสีย..

อย่าห่วงฟอร์ม-ห่วงหน้าให้มากนักเลย!



Written By
More from pp
‘ในหลวง’ พระราชทานดอกไม้และตะกร้าสิ่งของมอบแก่ตร.บาดเจ็บเหตุระเบิดนราธิวาส
29 ก.ย.64 – เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เชิญดอกไม้และตะกร้าสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...
Read More
0 replies on “อย่าได้กลัวเสียหน้า?-สันต์ สะตอแมน”