“บริษัทได้นำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดที่มาจากพื้นที่มีกิจกรรมการเผาตอซัง เพื่อให้บริษัทจัดทีมงานลงพื้นที่ ดำเนินการถ่ายทอดความรู้และเพิ่มความตระหนักในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หยุดเผาเศษวัสดุทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยว หันมาใช้ประโยชน์ตอซัง เน้นการไถกลบเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชน และตอกย้ำความมุ่งมั่นในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรม” นายวรพจน์กล่าว
ภายใต้นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟมุ่งมั่นจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้อย่างครบถ้วน เพื่อสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรทางธรรมชาติ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร ผ่านการดำเนิน โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” มาตั้งแต่ปี 2558 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายที่ช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ และส่งเสริมให้เกษตรกรขายผลผลิตเข้าโรงงานโดยตรง ได้ราคารับซื้อที่เป็นธรรม โดยโครงการฯ แบ่งปัน และถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐานแก่เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ปรับวิธีการปลูกให้เหมาะสม ลดการใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกร สามารถรับมือภาวะภัยแล้ง โรคและศัตรูพืช ที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 9,500 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกกว่า 241,200 ไร่ มีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ขึ้นร้อยละ 32 เป็นการช่วยเสริมรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร มีความรู้ในการเพาะปลูกที่ถูกต้อง ช่วยสร้างอากาศชุมชนดี ดินคุณภาพดี สิ่งแวดล้อมดี และสุขภาพดี
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ ยังร่วมมือกับ เทศบาลตำบลบัลลังก์ ดำเนินโครงการ “บัลลังก์โมเดล” โดยสนับสนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา แบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่ายผลผลิต ผ่านการบริหารจัดการทรัพยากรแบบเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ยกระดับคุณภาพผลผลิตได้ตรงตามความต้องการของโรงงาน และที่สำคัญ สนับสนุนเกษตรกรไถกลบตอซังหลังเก็บเกี่ยวแทนการเผา ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของดิน และสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน
บริษัทเปิดจุดรับซื้อผลผลิตใกล้แหล่งปลูกของเกษตรกรทั้งในอ.โนนไทย จ.นครราชสีมา และอ.ลานสัก จ.อุทัยธานี เพื่อช่วยเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตข้าวโพดในราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และลดภาระต้นทุนการขนส่งผลผลิตเข้าโรงงานอาหารสัตว์ โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังสนับสนุนและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการเก็บเกี่ยวให้แก่เกษตรกรร่วมโครงการฯ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำระบบตรวจสอบย้อนกลับไปขยายผลใช้กับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ในเขตประเทศเมียนมา โดยเริ่มรับซื้อผลผลิตข้าวโพดจากแหล่งผลิตที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องภายใต้ระบบตรวจสอบย้อนกลับเท่านั้นตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่ยั่งยืน