ผีพุ่งไต้

ในเวลากลางคืนเดือนมืด บางครั้งเรามองเห็นวัตถุในท้องฟ้าพุ่งผ่านไปในอากาศอย่างรวดเร็ว คล้ายดวงไฟสุกสว่าง แล้วดับหายไป คนโบราณเรียกว่า “ผีพุ่งไต้” (คำว่า ไต้ ใช้สระไอไม้มลาย) ส่วนคนปัจจุบันเรียกว่า “ดาวตก” หรือ “อุกกาบาต” (อ่านว่า อุก-กา-บาด) ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า “อุกฺกา” กับคำว่า “บาต”.

อุกฺกา แปลว่า คบเพลิง ส่วน บาต แปลว่า ตก.

อันที่จริงคำว่า ผีพุ่งไต้ เป็นคำที่เหมาะสม เพราะในสมัยโบราณเราใช้ไต้สำหรับจุดไฟให้แสงสว่างหรือทำเชื้อเพลิง เมื่อเกิดมีดาวตกซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ก็เลยตั้งชื่อให้ว่า ผีพุ่งไต้ หมายถึง คบไฟหรือดวงไฟที่ผีพุ่งผ่านไปในท้องฟ้า.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

Written By
More from pp
ผู้ว่าฯ สมุทรสงคราม แจง แม่ค้าขายหมูอัมพวา ไม่ใช่ ผู้กระจายเชื้อ – คลัสเตอร์ใหม่
นายชรัส บุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม แจง “ข่าวคลาดเคลื่อน” ว่าอัมพวา ไม่ใช่คลัสเตอร์ใหม่ ไม่ใช่แหล่งแพร่ระบาด และแม่ค้าขายหมู มิใช่ผู้กระจายเชื้อ หรือทำให้อัมพวาเป็นคลัสเตอร์ใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริง...
Read More
0 replies on “ผีพุ่งไต้”