ชื่นชมสตรีที่เป็นผู้นำ ส่งเสริมสิทธิที่เท่าเทียม รวมถึงสตรีที่เป็นแนวหน้าในการจัดการปัญหาโควิด-19 ส่วน International Woman Day หรือ IWD ได้จัดแคมเปญ #ChooseToChallenge กระตุ้นให้ผู้หญิงออกมาประกาศว่าตนเองจะเอาชนะเรื่องใด หรือต่อต้านสิ่งใด และให้ร่วมกันลงมือทำจึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
แต่เหตุใดผู้นำประเทศของไทยอย่างพลเอกประยุทธ์ ที่ต้องการจะเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ แต่ยิ่งอยู่อันดับความเท่าเทียมทางเพศยิ่งตกต่ำลง หากดูรายงานของ World economic forum ที่จัดอันดับความเหลื่อมล้ำทางเพศทั่วโลก หรือ The Global Gender Gap Report พบว่า ในปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย
อันดับความเหลื่อมล้ำทางเพศของไทยอยู่ลำดับที่ 65 แต่ในปี 2563 ที่มีพลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ความเหลื่อมล้ำทางเพศของไทยตกไปอยู่อันดับ 75 ทั้งที่มีการผลักดัน พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 แล้ว แต่ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้บรรจุแผนพัฒนาสตรีไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ที่เน้นย้ำการยอมรับความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย แต่ผ่านมากว่า 10 ปี รัฐบาลพลเอกประยุทธ์แม้จะมียุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2564 บรรจุในพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564) แต่ไม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเพศลดลง
ทั้งที่นานาชาติรณรงค์ให้เกิดการยอมรับความหลากหลายทางเพศแล้ว นอกจากนี้อยากให้พลเอกประยุทธ์ให้ความสำคัญกับกองทุนพัฒนาสตรี ที่มีงบประมาณในการส่งเสริมอาชีพสตรีในแต่ละท้องถิ่น ให้มีศักยภาพที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้ แต่พบว่าขณะนี้กองทุนนี้ไม่ได้รับการส่งเสริมต่อยอดซึ่งน่าเสียดายโอกาสของสตรี แทนที่จะลืมตาอ้าปากได้เป็นที่พึ่งให้กับครอบครัวแต่ก็ต้องสะดุดลง เพราะการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาลประยุทธ์
น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ความเท่าเทียมทางเพศในบริบทของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่ร่างขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจของ คสช. แม้มีบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเพศ แต่ในความเป็นจริงค่านิยมผู้ชายมีสิทธิเหนือกว่าผู้หญิงยังคงอยู่ โดยเฉพาะการทำร้ายร่างกายที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องในครอบครัว
ซึ่งตนอยากให้สังคมไทยปรับความคิดในเรื่องนี้ใหม่ นอกจากนี้ในเรื่องการทำแท้งเสรี ในรัฐธรรมนูญมาตรา 77 มีบทบัญญัติว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย แต่เหตุใดยังเอาผิดกับผู้หญิงที่ทำแท้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ผู้หญิงเจ้าของร่างกายนั้น พิจารณาเองว่าจะทำอะไรกับร่างกายโดยมีกฎหมายรองรับและปลอดภัย และอาจถือว่าเป็นการคุมกำเนิดวิธีหนึ่ง