มือใหม่เริ่มต้น “วีแกน” กับข้อควรรู้เกี่ยวกับมื้ออาหารสไตล์วีแกนเพื่อสุขภาพดี

มีหลายคนหันมาเลือกวิธีการรับประทานอาหารแบบ “วีแกน” ด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน บางคนอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม บางคนไม่อยากฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ในขณะที่บางคนตั้งเป้าหมายเพื่อดูแลสุขภาพหรือต้องการลดน้ำหนักโดยเฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด เราก็คงเคยได้ยินเรื่องมื้ออาหารสไตล์วีแกน หรือแม้กระทั่งรู้จักใครบางคนที่รับประทานอาหารวีแกนอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

หากคุณคิดจะลองรับประทานอาหารสไตล์วีแกนดูบ้าง สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำคือเลือกอาหารให้เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ เนื่องจากคุณอาจต้องงดรับประทานอาหารบางประเภทที่เป็นแหล่งสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย เช่น โปรตีน สังกะสีและแคลเซียม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้คนทั่วโลก โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 28,000 คนใน 30 ประเทศ เพื่อศึกษาวิจัยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีผลต่อวิธีการรับประทานอาหารของพวกเขาอย่างไรบ้าง

โดยผลสำรวจพบว่า

•      ร้อยละ 83 ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร โดยหลายคนยกเหตุผลด้านสุขภาพและการลดน้ำหนักเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญ

•      ร้อยละ 43 รับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง

•      ร้อยละ 51 หันมารับประทานผักและผลไม้มากขึ้น

•      ร้อยละ 46 เปิดใจกับเทรนด์ plant-based foods หรืออาหารที่เน้นพืชเป็นหลักและไม่ผ่านการปรุงแต่ง และเมนูเนื้อทางเลือกที่ทำจากผัก หรือ “meatless meat” มากขึ้น

หากคุณกำลังคิดจะเริ่มรับประทานอาหารแบบวีแกน ก็ควรต้องรู้ข้อดีข้อเสียของวิธีการรับประทานอาหารนี้อย่างชัดเจนก่อน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพจริง ๆ

ประโยชน์ของมื้ออาหารแบบวีแกน

เพื่อไม่ให้สับสนกับการรับประทานอาหารมังสวิรัติที่ไม่กินเนื้อสัตว์ การรับประทานอาหารแบบวีแกนจะค่อนข้างเคร่งครัดกว่า เพราะไม่ใช่เพียงแค่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่สายวีแกนยังไม่รับประทานทุกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ เช่น นม ไข่ และน้ำผึ้งด้วย

แม้จะต้องงดรับประทานอาหารบางอย่าง แต่ประโยชน์จากการรับประทานอาหารแบบวีแกนนั้นมีมากมาย โดยเห็นได้จากผลการศึกษาวิจัยล่าสุดในวารสารวิชาการ American Journal of Clinical Nutrition ดังนี้

•      มื้ออาหารแบบวีแกนมีเส้นใยอาหาร แมกนีเซียม กรดโฟลิก วิตามินซีและอี ธาตุเหล็ก และสารพฤกษเคมี (phytochemicals) มากกว่าการรับประทานอาหารจากทั้งพืชและสัตว์

•      เมื่อเทียบกับคนที่รับประทานอาหารทั้งพืชและสัตว์ ชาววีแกนจะรับประทานผักผลไม้และถั่วในปริมาณที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

•      เมื่อเทียบกับคนรับประทานมังสวิรัติ ชาววีแกนจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า มีระดับคอเลสเตอรอลรวม หรือระดับ LDL ที่ต่ำกว่า รวมถึงความดันโลหิตอยู่ในระดับต่ำและเหมาะสมกว่าด้วย

•      นอกจากจะได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณมากแล้ว ชาววีแกนยังได้บริโภคเต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนที่ครบถ้วนสมบูรณ์

ข้อควรระวังของมื้ออาหารสไตล์วีแกน

เพราะการรับประทานอาหารแบบวีแกนค่อนข้างเคร่งครัด ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารบางประเภทได้ ดังนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ต้องการ อย่างเช่น เมื่อบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมไม่ได้ เราก็ต้องหาแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีมาเติมเต็มในปริมาณที่เหมาะสม ผักใบเขียวและเต้าหู้ รวมถึงนมถั่วเหลืองและน้ำส้มสามารถให้แคลเซียมแก่ร่างกายได้ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมอื่น ๆ ก็เต็มไปด้วยวิตามินดี เช่นเดียวกับซีเรียลอาหารเช้า และยังมีอีกหนึ่งแหล่งวิตามินชั้นดีได้แก่ เห็ดต่าง ๆ

เนื่องจากโปรตีนจากสัตว์ถือเป็นแหล่งสารอาหารชั้นดี ทั้งธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบี12 เราจึงต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อเติมเต็มสารอาหารเหล่านี้ รวมถึงวิตามินบี 12 ที่ไม่ค่อยพบในพืชมากนัก ชาววีแกนต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินบี12 และ/หรือ อาหารเสริมช่วย ในขณะที่สังกะสีสามารถพบได้ทั่วไปในพืช ไม่ว่าจะเป็นข้าวโอ๊ต ถั่ว เมล็ดธัญพืช และเต้าหู้

เพราะมื้ออาหารแบบวีแกนจะไม่รับประทานทุกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ชาววีแกนจึงต้องวางแผนเรื่องโภชนาการให้ดี โดยต้องให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม โดยอาจเลือกจากแหล่งโปรตีนในพืช เช่น ถั่ว ถั่วเลนทิล เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี (ควีนัวหรือข้าวโอ๊ต) รวมถึงเต้าหู้

เติมเต็มโปรตีนให้เพียงพอสำหรับไลฟ์สไตล์แบบวีแกน

นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาหารจากพืชส่วนใหญ่มักขาดกรดอะมิโนสำคัญอย่างน้อยหนึ่งชนิด จึงถือว่าอาหารเหล่านี้ให้ปริมาณโปรตีนได้ไม่ครบถ้วน และร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม

แม้ว่าโปรตีนจากพืชส่วนใหญ่จะเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีวิธีการง่าย ๆ ที่เราสามารถเติมเต็มมื้ออาหารของเราได้อย่างสมดุล เมื่อโปรตีนจากพืชล้วนมีชนิดกรดอะมิโนแตกต่างกัน เราก็สามารถเลือกรับประทานอาหารจากพืชอย่างหลากหลายได้เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายจะได้รับปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นซึ่งเป็นหน่วยโครงสร้างสำคัญของโปรตีนตามที่ต้องการ เมื่อเรารับประทานโปรตีนจากพืชอย่างหลากหลายตลอดวัน เราก็จะได้รับชนิดกรดอะมิโนครบถ้วน

ยกตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนจำเป็นที่มักไม่พบในถั่วและถั่วเลนทิล กลับพบมากในเมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี ในขณะเดียวกัน กรดอะมิโนที่เมล็ดธัญพืชไม่มีก็พบได้ในถั่วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เราไม่จำเป็นต้องรับประทานถั่วและเมล็ดธัญพืชพร้อมกัน แต่เราจะพบ “แหล่งโปรตีนที่เติมเต็มกัน” เหล่าน้ำด้ในเมนูอาหารวีแกน เช่นข้าวกับถั่ว หรือซุปถั่วเลนทิลที่รับประทานคู่กับขนมปังเมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น

นอกจากนี้ อีกหนึ่งคุณประโยชน์ดี ๆ ของโปรตีนพาวเดอร์จากพืช (โดยโปรตีนมาจากแหล่งอาหารอย่างถั่วเหลือง ถั่ว ข้าว ควีนัว และเฮมพ์) คือให้โปรตีนในปริมาณสัดส่วนแคลอรี่ที่ต่ำและยังได้รับการคิดค้นเพื่อให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดอย่างครบถ้วน โปรตีนเหล่านี้ยังสามารถใส่เติมลงไปในมื้ออาหารได้อย่างสะดวก เช่น โปรตีนเชค โอ๊ตมีล และซุป เพื่อเพิ่มโปรตีนให้แก่ร่างกาย และเรายังสามารถกำหนดได้ว่าต้องการปริมาณโปรตีนพาวเดอร์เท่าไหร่ ตามแต่ไลฟ์สไตล์และความต้องการของแต่ละบุคคล

กดไลค์เราที่เฟซบุ๊ค พร้อมพบอีกหลากหลายเคล็ดลับดี ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ได้ที่ www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial  และ www.instagram.com/HerbalifeThailandOfficial

Written By
More from pp
“จุรินทร์” โชว์ศักยภาพ เจรจาเปิดด่านการค้ากับทุกทิศ ผ่าวิกฤตโควิดฉลุย เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนไทย แย้ม พาณิชย์จัดงบ 19.3 ล้านบาท เตรียมจัดงาน “พลอยนานาชาติ” จันทบุรี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ขึ้นชี้แจงในการประชุมสภาวาระด่วน เรื่องการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึงกรณีการค้าชายแดน ว่า
Read More
0 replies on “มือใหม่เริ่มต้น “วีแกน” กับข้อควรรู้เกี่ยวกับมื้ออาหารสไตล์วีแกนเพื่อสุขภาพดี”