Calcium score ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ

3D human heart illustration rendering with stone material isolated on gray background and clipping path for use on any backdrop

โดย พญ.พิชชญา บุญดี
แพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
โรงพยาบาลพระรามเก้า

ร่วมรณรงค์ดูแลหัวใจให้แข็งแรงเนื่องในวันหัวใจโลก ด้วยในปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและตันเฉียบพลันเป็นการเจ็บป่วยที่สำคัญของคนไทย โดยที่มีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคนี้มากขึ้น  อาการที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือ เจ็บหน้าอก และเหนื่อย ไม่สามารถออกกำลัง หรือปฏิบัติภารกิจทางกายได้ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดที่ตีบ และการเสียชีวิตก็มักจะเกิดมาจากมีภาวะการตายเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากหลอดเลือดที่อุดตันโดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน

พญ.พิชชญา บุญดี แพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า การตีบของหลอดเลือด หรือ การตันของหลอดเลือดนั้น มักเกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นภาวะเสื่อม (Degenerative Change) อย่างหนึ่งของร่างกาย โดยไขมันในผนังหลอดเลือดนี้ก็จะมีแคลเซียม หรือ หินปูนสะสมร่วมไปด้วย จนทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็ง  การตรวจวัดหินปูนหรือแคลเซียมที่เกาะอยู่กับหลอดเลือดหัวใจ ก็เปรียบเสมือนการตรวจวัดการเกาะหรือสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดนั่นเอง  ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจเพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น การตรวจระดับไขมันในเลือด การวัดความดันโลหิต การเดินสายพาน (Exercise Stress Test)เป็นต้น การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Detection) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งมีหลักฐานการศึกษาวิจัยรองรับมากมาย ว่าระดับหรือค่าที่ตรวจพบได้ สามารถทำนายโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ชัดเจน  CT Coronary Calcium Score สามารถตรวจวัดระดับแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และสามารถตรวจวัดได้ก่อนมีอาการของโรคหัวใจนานหลายปี ค่าที่วัดได้จาก CT Coronary Calcium Score นี้ จะนำไปใช้เพื่อการบอกโอกาสการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากขึ้นหลายเท่าตัว จึงควรได้รับการตรวจเพื่อที่จะนำข้อมูลไปประกอบการคำนวณอัตราเสี่ยง         และมาตรการตรวจรักษา ป้องกัน ที่เหมาะสมกับบุคคลได้ สำหรับผู้ที่ควรตรวจ CT calcium score คือ ผู้ป่วยทั่วไปที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางของการเกิดโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคไตวาย เป็นต้น

ทั้งนี้ หากทุกคนให้ความใส่ใจดูแลร่างกายและหัวใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่ประโยชน์ ไขมันต่ำ หวานน้อย เค็มน้อย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพร่างกายทุกปี ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและตันเฉียบพลันได้

Written By
More from pp
“สุทธวรรณ” กังขา ลานคอนกรีต กทม. ใน ‘สนามหลวง’ ขออนุญาตแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ คือผิดมาแต่แรก เผยอัตลักษณ์บ่งชี้โบราณสถานคือสนามหญ้า การปัก ‘หมุดคณะราษฎร 2’ จึงไม่ใช่การทำผิดกฎหมาย
‘สุทธวรรณ’ โฆษกก้าวไกล ทวงถาม ‘กรมศิลปากร’ เร่งตามหา ‘อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ หากยังเฉยเข้าข่ายผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ กังขา ลานคอนกรีต กทม. ใน ‘สนามหลวง’...
Read More
0 replies on “Calcium score ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ”