วาทกรรม “ไพร่” เมื่อพ่ายสภา

และแล้ว………..
งานลงรักปิดทองนายกฯ ประยุทธ์ของฝ่ายค้าน เมื่อวาน (๑๘ กย.๖๒) ก็ผ่านไป พร้อมสภาปิดสมัยประชุม
เปิดอีกที ก็ พฤศจิกา.โน่น!
ติดตามฟังกันหรือเปล่าล่ะ ถ้าฟังบางท่านอาจสงสัย นี่งานอภิปราย หรืองาน “ไล่นายกฯ” กันแน่?
เพราะตั้งแต่เปิดหัวตอนเช้า ยันปิดตูดตอนเย็น ฝ่ายค้านงุ่นง่านอยู่ ๒ ประเด็น
๑.พร่ำเพ้อให้นายกฯ “ลาออก”
๒.ประชด-ประชัน “นายกฯ ทำอะไรก็ไม่ผิด”
ในประเด็นให้ลาออก จับใจความได้ว่า นอกจากพ่อเขา “ทักษิณ” หรือพวกเขา “ระบอบทักษิณ” แล้ว

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

นอกนั้น……..
ใครมาเป็นนายกฯ “ผิด-ใช้ไม่ได้” ทั้งนั้น!
ในประเด็น “นายกฯ ทำอะไรก็ไม่ผิด” ขุนพลเหลือเดนของฝ่ายค้าน ท่าทางจะเป็นเอามาก
“ประชดนายกฯ” ไม่เป็นไร
แต่การกระแทกแดกดันไปถึง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ที่วินิจฉัยคำร้องนายกฯต่างๆ ผลออกมาไม่เป็นดั่งใจตน นั้น
ชักจะออกลายเดิมในสมัยยิ่งลักษณ์อีกแล้ว ที่ทั้งพรรค ทั้งสภาเพื่อไทย เมื่อไม่เป็นดังใจ ก็ประกาศ “ไม่รับอำนาจศาล”
มันไม่ใช่เรื่อง “นายกฯ ทำอะไรก็ไม่ผิด” หรอก
แต่เป็นเรื่อง “ฝ่ายค้านเคยทำอะไรถูก” หรือไม่ตะหาก เพราะแต่ละเรื่องที่ปั้นไปกล่าวหาเขาน่ะ
ทั้งเรื่องถวายสัตย์ฯ ไม่ครบ เรื่อง “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”
“ผิด-ไม่ผิด” ศาลฯ ก็แจกแจงให้ทราบด้วยข้อกฎหมายในทุกคำวินิจฉัย
จึงไม่ควรสร้างวาทกรรมบิดเบือน “เป็นลิ่ม” ตอกให้สังคมแตกแยก ด้วยหลงเข้าใจผิดๆ ถูกๆ

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

เรื่องถวายสัตย์ปฏิญาน…….
ศาลฯ ก็บอกแล้วเมื่อ ๑๑ กย.๖๒ ว่า เป็นเรื่องการเมือง ระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่รับคำร้องไว้พิจารณา
ในหลักปฏิบัติ เรื่องนี้ คนมีสำนึกชอบตามกรอบ มันจบแล้ว จะไม่หยิบขึ้นมาเป็นประเด็นเค้นสอบเชิง “หาเรื่อง” อีก
แต่เพราะแรงแค้นเหนือสำนึกค้าน……
จึงทำเดียงสาตาใส ใช้คราบสภาเป็น “วังจระเข้” หวังลากนายกฯ ลงไปฟัดในน้ำ
เจตนาต้องการให้นายกฯ ตอบ
ไม่ใช่อยากรู้………
แต่ต้องการ “จับผิด-โยงประเด็น” จากคำตอบนายกฯ ในเมื่อเป็นเรื่องเฉพาะรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
เมื่อตอบ ก็แน่นอน ย่อมหนีไม่พ้นที่ต้องกล่าวถึงในความต่อเนื่อง
และนั่น ขบวนการโซเชียลแปลงสารของเขา ก็จะลงมือละเลงกันทันที
นายกฯ “นิ่งเสียตำลึงทอง” ดีที่สุด!
ประเด็นถวายสัตย์ปฏิญาน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา นั้น

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

เพราะอะไร …….
ผมจะเอาความชัดๆ มาให้อ่านกันอีกที เพื่อขจัดปัญหาพวกขยุ้มคำไปสุมฟืน-ใส่ไฟ ดังนี้
“ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฎว่านายภาณุพงศ์ ได้ยื่นคำร้อง และผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า การกระทำที่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดสิทธิ์และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (11) และมาตรา 46 ก็ตาม
แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47 (1) บัญญัติว่า
“การใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 46 ต้องเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ และต้องมิใช่เป็นกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) การกระทำของรัฐบาล และมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติว่า “…ถ้าศาลเห็นว่า เป็นกรณีต้องห้าม ตามมาตรา 47 ให้ศาลสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา”
เห็นว่า การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำทางการเมือง(Political Issue)ของคณะรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์
อันอยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล(ACT of Government)ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47 (1)
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้ ตามมาตรา 46 วรรคสาม
ประกอบกับเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2562 เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี
นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

หลังจากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณจบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส เพื่อให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน
ต่อมา เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2562 เวลา 09.00 น. นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐมนตรี ได้เข้ารับพระราชดำรัสในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
ซึ่งพระราชทานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย โดยเข้ารับต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ทำเนียบรัฐบาล
การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
เอาหละ….ประเด็นถวายสัตย์ฯ จบไปแล้ว
เมื่อวาน (๑๘ กย.๖๒) ก็ถึงเรื่อง “นายกฯคสช.เป็น “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” หรือไม่?
มีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญออกมา สรุป ดังนี้
มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า ………..
คสช.ได้ยึดอำนาจเมื่อ 22 พ.ค. 57 ต่อมาออกประกาศเรื่องควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการรักษาความสงบแห่งชาติ
มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช.และมีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รวมถึง ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช.
และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 โดยมาตรา 42 วรรค1 บัญญัติให้ คสช. เป็น คสช. ต่อไป
ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เม.ย.60 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 โดยมาตรา 264 วรรคหนึ่ง
บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นคณะรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญจะเข้ารับหน้าที่
โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ คสช. ยังคงอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่หลังเลือกตั้ง จะเข้ารับหน้าที่
ซึ่งในประเด็นความเป็นรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือไม่?
ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ซึ่งใช้รัฐธรรมนูญปี 2540
โดยเป็นมาตรา 109 (11)ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 98 (15)
สรุปได้ว่า………
การพิจารณาความหมายคำว่า”เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”ตามมาตรา 109 (11) ของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. จึงต้องตีความอย่างแคบ
และได้กำหนดลักษณะ”เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”ไว้ว่า
1.ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
2.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำ
3.อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐ และ
4.มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย
ส่วนคำว่า”เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”………
รัฐธรรมนูญ 60 ไม่ได้บัญญัตินิยาม “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามมาตรา 98(15)ไว้
การตีความคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”………
จึงต้องตีความให้สอดคล้องกับบริบทและเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติถึงคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ”

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

กล่าวคือ รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่จะไม่ให้ข้าราชการเข้ามาเป็นนักการเมืองตามที่บัญญัติไว้ก่อนแล้วในมาตรา 98 (12)คือเป็นข้าราชการที่มีเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง
แต่คำว่า “ข้าราชการ” ยังไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีลักษณะเดียวกับข้าราชการ จึงได้บัญญัติมาตรา 98(15)ไว้อีกว่า
เป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
อันเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่นอกจากไม่ต้องการให้ข้าราชการเป็นนักการเมืองแล้ว
ยังให้รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจด้วย
ถ้อยคำที่บัญญัติถึง “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” เป็นการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีคุณสมบัติและสถานะเช่นเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น
ประกอบกับ “ลักษณะต้องห้าม” เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิบุคคล จึงจำเป็นต้องตีความอย่างแคบ
การตีความถ้อยคำที่มีความหมายทั่วไปต่อท้ายคำเฉพาะหลายคำที่นำหน้ามาก่อนนั้น
จึงต้องตีความทั่วไปให้มีความหมายสอดคล้องกับคำเฉพาะและแคบกว่าความหมายธรรมดาทั่วไป
โดยต้องมีความเฉพาะประเภทเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลโดยทั่วไป
ตำแหน่งหัวหน้าคสช. ………
มาจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.57
ต่อมามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ
การแต่งตั้งหัวหน้าคสช.ผลสืบเนื่องจากการยึดอำนาจ และเป็นตำแหน่งที่ใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
เห็นได้จากการออกประกาศ หรือคำสั่งหลายฉบับ หัวหน้า คสช.ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐใด
และเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมายใด ตำแหน่งได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย ไม่มีกฎหมายใดกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่ง
มีอำนาจหน้าที่เฉพาะชั่วคราว ช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศของประชาชน

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ดังนั้น………..
ตำแหน่งหัวหน้า คสช.ไม่มีสถานะตำแหน่งหน้าที่ หรือลักษณะงาน ทำนองเดียวกันกับพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
และไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามมาตรา 98 (15)
เนี่ย……….
ทุกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ใช้สักแต่ว่าตัดสินผิด-ถูก หากแต่ในทุกคำตัดสิน ท่านต้องแจกแจกที่มา-ที่ไปตามตัวบทกฎหมายให้ทราบทุกขั้นตอน
ดังนั้น การพล่อยๆว่า “นายกฯ ทำอะไรก็ไม่ผิด” เป็นการใช้ความรู้สึก “ได้ประโยชน์-เสียประโยชน์” ฝ่ายตน เป็นตัวตัดสิน
คำพูด-สันดาน-หน้าตา……….
ที่เคยสถาปนาตัวเองเป็นพวก “ไพร่” นั้น ถูกต้องแล้ว!

Written By
More from plew
อีแร้ง “พิทักษ์ศพ” #เปลวสีเงิน
เปลว สีเงิน หนีเที่ยว ๓-๔ วัน… เป็นการหาความสนุกใส่ตัว “ตุนไว้ก่อน” ตอนต้นเดือน เพราะ “กลางเดือน-ปลายเดือน” อาจมีเรื่องไม่สนุกเกิดขึ้นก็ได้ ชีวิตจะได้ไม่ขาดทุน!...
Read More
0 replies on “วาทกรรม “ไพร่” เมื่อพ่ายสภา”