ปตท. ดูแลความมั่นคงทางพลังงาน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่ถือว่าเป็นพิษร้ายอย่างหนึ่งของมนุษยชาติและสร้างความโกลาหลเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันนี้ เพราะนอกจากจะคร่าชีวิตของประชาชนเกือบทุกชาติในโลกนี้ไปแล้ว ยังแถมผลกระทบที่เป็นวงกว้างให้กับทุกวงการ ทั้งด้านธุรกิจ การค้าขาย การส่งออก หรือนำเข้า รวมทั้งยังชะลอการลงทุนขนาดใหญ่หลายๆ โครงการไปอีก และกระทบไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราในทุกวันนี้ที่ต้องกักกันตัวเองอยู่ในบ้านหรือที่พักอาศัยเพียงอย่างเดียว เพื่อไม่ให้ตัวเองไปอยู่ในวงจรที่เป็นผู้แพร่เชื้อ หรือรับเชื้อมาจากคนอื่น

แม้ว่าหลายหน่วยงานจะมีมาตรการลดความแออัดในสถานที่ทำงาน ด้วยการประกาศให้พนักงานสามารถทำงานอยู่บ้าน หรือ Work Form Home ได้ แต่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถทำได้แบบนั้น เพราะมีบางธุรกิจก็ต้องเดินหน้าอยู่ตลอดเวลา  เพราะเป็นงานที่ส่งผลต่อปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจด้านพลังงาน ที่แม้ว่าจะมีคนออกมาใช้ชีวิตมากน้อยแค่ไหน การใช้พลังงานก็จะแทรกซึมไปในทุกช่วงทุกเวลาทั้งการใช้ไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพลังงานจึงต้องมีการผลิตออกมาตลอดเวลาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงตัวก๊าซธรรมชาติเองก็ยังเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะนำไปพัฒนาเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) ใช้เพื่อการขนส่ง หรือจะไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นคนที่ทำธุรกิจก๊าซธรรมชาติจึงไม่สามารถที่จะหยุดดำเนินการได้แม้แต่วันเดียว

ซึ่งในตอนนี้หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านพลังงานและผลิตก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยก็ยังต้องเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ที่เป็นเจ้าหลักและยังคงมุ่งมั่นจัดหาพลังงานให้ประชาชนมีใช้อย่างเพียงพอในช่วงนี้ ซึ่งกำลังสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปได้ ก็คือพนักงาน ปตท. นั่นแหละที่ยังปฏิบัติงานตามหน่วยปฏิบัติการต่างๆ อย่างแข็งขันตลอด 24 ชั่วโมงโดยการปฏิบัติงานของ ปตท. ก็แยกออกเป็นหลายสัดส่วน แบ่งเป็นโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ทำหน้าที่แยกส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากอ่าวไทย เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่ควบคุมทั้งระบบท่อบนบกและในทะเล ด้วยความยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร ที่ลำเลียงก๊าซธรรมชาติตั้งแต่แหล่งผลิตไปสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว และส่งไปยังโรงไฟฟ้าและโรงงานต่างๆ รวมถึงระบบควบคุมและบริหารการรับจ่ายก๊าซธรรมชาติ เรียกรับก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิต และสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีก๊าซธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการพอดูจากสถิติปี 2562 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติสูงสุด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ที่ปริมาณก๊าซธรรมชาติ 5,557 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่สำหรับปีนี้ที่ทุกคนต้องอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสซึ่งกันและกัน และเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผนวกกับเป็นเดือนที่มีสภาพอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดของประเทศไทย จึงคาดว่าจะส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ไฟและพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และการใช้ก๊าซธรรมชาติก็จะสูงขึ้นตามมา ปตท. จึงยิ่งต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งและเพื่อลดการแพร่กระจายไปพร้อมๆ กับลดโอกาสในการติดเชื้อนี้ให้กับพนักงานที่ยังคงทำงานอยู่ กลุ่ม ปตท. ได้จัดตั้ง “ศูนย์พลังใจ” ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารสถานการณ์และเฝ้าระวัง โดยได้ออกมาตรการงดให้พนักงานเดินทางไปปฏิบัติงานต่างประเทศ ขอให้พนักงานงดเดินทางส่วนตัวในประเทศกลุ่มเสี่ยงชั่วคราว รวมถึงให้พนักงานและพนักงานลูกจ้างชั่วคราวแบ่งทีมปฏิบัติงาน

อีกหนึ่งงานที่ทำควบคู่กันมา ก็คือการจัดหาแอลกอฮอล์เกรดคุณภาพทางการแพทย์จากแหล่งผลิต เนื่องจากกลุ่ม ปตท. ไม่มีโรงงานผลิตแอลกอฮอล์เป็นของตัวเอง โดยได้ส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ มากมาย อาทิ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พร้อมทั้งยังได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ Face Shield เสื้อกาวน์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Disposable Gown) ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติก InnoPlus หน้ากาก N95 และหน้ากากผ้า ซึ่งกระจายไปยังแหล่งต่างๆ อย่างทั่วถึง

Written By
More from pp
ฟันธง
ฟันธง เป็นสำนวน มีความหมายว่า ตัดสินชี้ขาด หรือ ระบุอย่างแน่นอน มักใช้เมื่อมีความเห็นหรือตัวเลือกหลายทาง เช่น ทำไมหัวหน้าจึงไม่ฟันธงไปเลยว่าจะจัดการกับปัญหาในแผนกเราอย่างไร
Read More
0 replies on “ปตท. ดูแลความมั่นคงทางพลังงาน ฝ่าวิกฤตโควิด-19”