แก้ปัญหาสายตาด้วยเทคโนโลยี ลดความเสี่ยงโควิด

จักษุแพทย์แนะคนที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ รักษาได้ด้วยเทคโนโลยี ไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 จากการสัมผัสดวงตาเป็นประจำ

ด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่กลายเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก และประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเฝ้าระวังโรคระบาดดังกล่าวด้วย เนื่องเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

ทั้งการไอ จาม หรือสัมผัสสิ่งของต่อจากผู้ป่วย COVID-19 แล้วมาจับใบหน้า ปาก จมูก และดวงตาของตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ เนื่องจากต้องใช้มือสัมผัสทั้งคอนแทคเลนส์และดวงตา หากล้างมือไม่สะอาดพอก็อาจได้รับเชื้อโรคดังกล่าวผ่านทางดวงตาได้ หรือแม้แต่การใส่แว่นสายตาก็ต้องใช้มือจับและขยับแว่นบ่อย ทำให้มือสัมผัสบริเวณใบหน้าบ่อย ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคเช่นกัน

แพทย์หญิงอารีนันท์ วิสมิตะนันท์ จักษุแพทย์ประจำศูนย์ตา โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเรื่องที่ทุกควรควรตระหนักให้มาก โดยเฉพาะการล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้าของตัวเอง โดยเฉพาะก่อนใส่แว่นตาและคอนแทคเลนส์ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการแก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติหลากหลายวิธี เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่น ๆ ด้วย

โดยเทคโนโลยีการรักษาความผิดปกติของสายตาที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ ประกอบด้วยการทำ พีอาร์เค (PRK: Photorefractive Keratectomy) การรักษาภาวะสายตาผิดปกติแบบไม่ตัดแยกชั้นกระจกตา เหมาะกับผู้ที่มีตาแห้ง หรือกระจกตาบาง

โดยจักษุแพทย์จะลอกผิวกระจกตาชั้นบนด้วยอุปกรณ์หรือสารเคมี แล้วใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ยิงเลเซอร์ความเร็วสูงเพื่อปรับความโค้งของกระจกตา จากนั้นปิดแผลด้วยคอนแทคเลนส์ เมื่อผิวกระจกตาด้านบนปิดสนิทดังเดิมจึงนำคอนแทคเลนส์ออก ,การทำ เลสิก (LASIK: Laser In-Situ Keratomileusis) คือการรักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง โดยแยกชั้นกระจกตาด้านบนขึ้นด้วยเครื่อง Microkeratome จากนั้นใช้เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาในชั้น แล้วจึงปิดผิวกระจกตาลง สุดท้ายคือการทำ เฟมโตเลสิก (FemtoLASIK: Femtosecond – LASIK) หรือเลสิกแบบไร้ใบมีด เป็นเทคโนโลยีการทำเลสิกที่ใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่แยกชั้นกระจกตาด้วยเฟมโตเซคเคิลเลเซอร์ ปรับความโค้งกระจกตาด้วยเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำ ปลอดภัย และสบายตามากขึ้น อีกทั้งยังทำให้แผลหายเร็ว ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วขึ้น

“การรักษาภาวะผิดปกติของสายตาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของจักษุแพทย์เท่านั้น เพราะการรักษาแต่ละแบบจะมีข้อจำกัดแตกต่างกัน อย่างวิธีพีอาร์เคเหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติไม่เกิน 500 แต่จะเจ็บแผลหลังรับการรักษาประมาณ 3 วัน เมื่อเปิดแผลแล้วการมองเห็นจะยังเป็นภาพมัว 2 สัปดาห์ ก่อนจะค่อยๆ ชัดขึ้นภายใน 1 เดือน

ในขณะที่การทำเลสิกและเฟมโตเลสิกสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติในวันถัดไปหลังเข้ารับการรักษา แต่เลสิกจะไม่เหมาะกับผู้ที่กระจกตาบาง กระจกตามีขนาดหรือความโค้งผิดปกติ รวมถึงคนที่ดวงตาเล็กเกินไป” แพทย์หญิงอารีนันท์กล่าว

การรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้น ไม่สามารถคงสภาวะสายตาให้เป็นปกติได้ตลอดไป เพราะสายตาจะมีการเปลี่ยนแปลงได้อีกตามอายุที่มากขึ้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจกระตุ้นให้สายตาผิดปกติก่อนวัยอันควร นั่นคือการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลต มากเกินไป

ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้หรือปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสม เช่น พักสายตาจากการจ้องจอทุก ๆ 15 นาที เพื่อป้องกันดวงตาอ่อนล้า ตัวมัว และสายตาผิดปกติ

นอกจากนี้ ควรสังเกตตัวเองเป็นประจำ หากมีอาการตาล้า ปวดเบ้าตา ตามัวเฉียบพลัน เคืองตา ตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหลมากขึ้น ค่าสายตาคลาดเคลื่อนหรือระดับสายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความดันตาสูงผิดปกติ เห็นจุดดำตรงกลางหรือมีเงามืดในลานสายตา ตลอดจนเห็นแสงสว่างหรือจุดดำลอยไปมาตามการกลอกตา ควรต้องรีบพบแพทย์

เพราะอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคต่างๆ ทำสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

ดังนั้น การพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยคัดกรองและป้องกันปัญหาโรคทางตาได้

Written By
More from pp
วัคซีนโควิดสัญชาติไทย “จุฬา-ใบยา” เริ่มทดสอบในคนเฟส 1 ต้น ก.ย.นี้ กับ อส.100 คน เดินตามแผนไตรมาส 3 ปีหน้าผลิตวัคซีนได้ เผยวิเคราะห์รับ 10 สายพันธุ์สู้โควิด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตวัคซีนโควิด...
Read More
0 replies on “แก้ปัญหาสายตาด้วยเทคโนโลยี ลดความเสี่ยงโควิด”