12 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส. และรองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายนโยบาย ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินนโยบายของรัฐบาล สืบเนื่องจากการแถลงผลงาน 90 วัน เมื่อเช้าวันนี้ของรัฐบาล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านฯ ขอฝากข้อสังเกตและข้อคิดเห็นไปยังรัฐบาล รวมถึงข้อเรียกร้องต่าง ๆ ต่อรัฐบาล ใน 2 เรื่อง ดังนี้
1. รัฐบาลนี้ไม่ได้เพิ่งเข้ามาบริหารงานเพียง 90 วัน แต่ได้ดำเนินการบริหารราชการมารวม 1 ปี 4 เดือนแล้ว
2. เรื่องที่รัฐบาลแถลงนั้นไม่ใช่ผลการดำเนินงานของรัฐบาล แต่เป็นการมาฝากงานให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ทำการสรุปผลงานที่ผ่านมา 1 ปี ครึ่ง ตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน โดยส่วนมากเป็นการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นไว้อย่างไรบ้าง แต่มีการดำเนินงานบางอย่างที่กล่าวเฉพาะหัวข้อเรื่องแต่ได้ลงรายละเอียดมากนัก ซึ่งคล้ายกับการแถลงนโยบายภาค 2 ที่เป็นการแถลงลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากที่แถลงนโยบายไปเมื่อ 3 เดือนก่อนเพียงเล็กน้อย
ส่วนนโยบายการลดค่าไฟ การทลายทุนผูกขาด สุราชุมชน การปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่ได้ครบทั้งระบบ แต่เป็นการแถลงนโยบายภาค 2 โดยไม่มีการจัดทำโครงสร้างอย่างเป็นระบบ รวมทั้งนโยบายคนไทยมีบ้านอยู่ ซึ่งไม่ได้ระบุว่าจะสร้างทั้งหมดกี่ยูนิต กระจายอยู่ในจังหวัดใดบ้าง และนโยบายการลดราคาพลังงานหรือค่าไฟฟ้ามีการลดค่าพลังงาน เมื่อปี 2565 ลงประมาณ 0.08 สตางค์เท่านั้น
ส่วนนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการนำเศรษฐกิจที่อยู่ใต้ดินให้ขึ้นมาอยู่บนดิน ซึ่งไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นร้อยละเท่าไร ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น ยังไม่สามารถทำได้อย่างที่หาเสียงเอาไว้ และยังไม่สามารถระบุว่าจะแจกเมื่อไร ส่วนเงินหมื่นบาทของผู้สูงอายุที่จะแจกภายในตรุษจีน ปี 2568 นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่คณะรัฐมนตรี
สำหรับกองทุน SML ที่เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ แต่ไม่มีรายละเอียดมากนัก ทั้งนี้ 2 เรื่องที่ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุนคือ กระบวนการส่งออกข้าว สุราชุมชน และการทลายกลุ่มมิจฉาชีพ
และสิ่งที่ขอฝากและเรียกร้องให้รัฐบาลในอนาคตให้ความสำคัญกับฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การตอบกระทู้ถามของนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายต่าง ๆ อาทิ เรื่องการแข่งขันทางการค้า การปฏิรูประบบงบประมาณ การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา หรือแม้แต่การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรม AI เป็นต้น