กระแสการจับตาการเปลี่ยนแปลงผู้นำกองทัพเรือยังคงเป็นที่สนใจของสาธารณชนในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความเหมาะสมของบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือคนใหม่นั้น เป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ขณะนี้กระบวนการสรรหาและเสนอชื่อยังคงดำเนินไปตามขั้นตอน โดยผ่านการพิจารณาจากรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะนำเสนอเพื่อทูลเกล้าฯ
สังคมให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพเรือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความโปร่งใสและความเหมาะสม ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งต้องเป็นบุคคลที่ปราศจากข้อครหาและมีความประพฤติที่เรียบร้อย มีประสบการณ์และความรู้ความสามารถในด้านการทหารทางเรือมาอย่างยาวนาน และที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะยอมรับความพ่ายแพ้และพร้อมที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อนำพากองทัพเรือให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ในส่วนของกองทัพเรือ มีแคนดิเดต 3 นาย ได้แก่
คนที่ 1 พล.ร.อ.วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง เสนาธิการทหารเรือ นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 24 จบการศึกษาโรงเรียนนายเรือไทย
เคยดำรงตำแหน่ง
ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์
ผบ.ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย
ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทยประจำกรุงลอนดอน
หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
เสนาธิการทหารเรือ
คนที่ 2 พล.ร.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการทหารเรือ นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 25 จบการศึกษาโรงเรียนนายเรือไทย
เคยดำรงตำแหน่ง
ผู้บังคับการเรือหลวงปิ่นเกล้า
ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย
ผู้บังคับการเรือหลวงจักรีนฤเบศร
ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทยประจำกรุงวอชิงตัน
ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ
ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ
หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
รองผู้บัญชาการทหารเรือ
คนที่ 3 พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 23 จบการศึกษาโรงเรียนนายเรือเยอรมนี
เคยดำรงตำแหน่ง
ผู้บังคับการเรือหลวงประแส
ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย
ผู้บัญชาการกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
ผู้บัญชาการทหารเรือคนปัจจุบัน ตรวจสอบบุคคลท่านนี้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ต้องไม่มีเรื่องร้องเรียน ไม่มีการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมอย่างร้ายแรง หรือมีข้อมูลที่ชี้ชัดถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ที่ขัดต่อข้อบังคับและกระบวนการที่ถูกต้อง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความสามัคคีและภาพลักษณ์ของกองทัพเรือ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการเปิดช่องให้เกิดการใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง และนำไปสู่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในอนาคตได้ ยกตัวอย่างการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติขัดกับตำแหน่ง อย่างการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ส่งผลต่อ อดีตนายกฯ เศรษฐา จนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว สิ่งนี้อาจจะยิ่งตอกย้ำความไม่น่าไว้วางใจที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน.
ดังนั้นคนที่จะได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งผบ.ทร.ก็จะต้องเป็นคนที่มีประวัติดีที่สุดถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับต้น