เปิดแนวปฏิบัติ “มท.” ในอดีต ยึดความเห็น “กฤษฎีกา” ย้ำ ผู้บริหารท้องถิ่นเมื่อถูกศาลสั่งฟ้อง ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หากไม่เชื่อ ผู้ว่าฯ สั่งพ้นตำแหน่งได้ แตกต่างจากแนวทาง “วิษณุ” ที่ให้ไปร้องศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย หลายกรณีในอดีต ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในกรณีต่างๆ ที่วางบรรทัดฐาน และแนวทางปฏิบัติ เมื่อมีผู้บริหารท้องถิ่นถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลอาญาดคีทุจริตและประพฤติมิชอบ จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่โดยผลของกฎหมายมาตรา 93 และ 81 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เทียบเคียงความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา

หากผู้บริหารท้องถิ่นรายใด ฝ่าฝืนไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย สั่งให้ผู้บริหารท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว โดยให้ไปโต้แย้งคำสั่งต่อศาลปกครองต่อไป

โดยแนวปฏิบัติดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนกรณี นายชาญ พวงเพ็ชร์ ที่ชนะเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี แต่มีคดีเก่าในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่าท้ายสุดแล้วหาก กกต.รับรองผลการเลือกตั้ง นายชาญ จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่โดยอัตโนมัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา แตล่าสุดนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ที่ออกมาระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สร้างความสับสนว่าจะยึดแนวทางใดกันแน่

พบว่า ในอดีตเคยมีคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย อาทิเช่น คำสั่งจังหวัดจันทบุรี ที่ 106 /2567 เรื่อง ให้นายอานนต์ รัตโนภาส นายกเทศมนตรีตำบลนายอาม อำเภอนายอาม จังหวัด จันทบุรี พ้นจากตำแหน่งเพราะประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความเรียบร้อย เนื่องจากไม่ฝ่าฝืนไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้า ตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา 93 และ 81 หลังถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 โดยอาศัยกฎหมายพ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ. 2562 สั่งให้พ้นตำแหน่ง โดย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 15 ม.ค พ.ศ. 2567

อีกทั้งยังมีคำสั่งจังหวัด กาฬสินธุ์ ที่ 10552 / 2566 ของ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัด กาฬสินธุ์ ลงวันที่ 4 ส.ค. พ.ศ.2566 สั่งให้นายนิพนธ์ มาตสะอาด พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลนามน อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ ตามมาตรา73/1 แห่งพรบ. เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ. 2562 หลังตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พบว่า ไม่หยุดปฏิบัติหน้าที่ ตามมากฎหมาย มาตรา 93 และ 81 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่ 1 หลัง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 4 ได้ประทับรับฟ้อง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564

นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท.0804.3/ว. 85 ลงวันที่ 7 ม.ค. 2566 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นผู้ว่าฯจังหวัดเลย ,ลำปาง และ กาฬสินธุ์ ) กรณีหากศาลฯได้ประทับรับฟ้องแล้ว และต่อมาบุคคลดังกล่าวได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นอีก

โดยบุคคลดังกล่าวต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 81 และ 83 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยยึดแนวทางคณะกรรมการกฤษฎีกาชุด ที่1 เรื่องเสร็จที่ 1486/2565 เรื่องการหยุดปฏิบัติหน้าที่ ประกอบการพิจารณา

รวมถึงคำสั่งของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท.0804.3/83 ลงวันที่ 7 ม.ค. 2566 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง หลังนายนิมิตร จิวะสันติการ (นายกเทศมนตรีนครลำปาง) ถูกศาลอาญาคดีทุจริตฯ ประทับรับฟ้อง เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 โดยกระทรวงมหาดไทย และ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาเรื่องเสร็จแล้ว ยึดแนวทางตามบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1486/2565 ให้พิจารณารายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

คำสั่งของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยด่วนที่สุด ที่ มท.0804.3/84 ลงวันที่ 7 ม.ค. 2566 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด กาฬสินธุ์ กรณีเมื่อ ปี2552 ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้ประทับฟ้อง และ ต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุก 5 ปีมีเหตุให้ลดโทษคงเหลือ 2 ปี และ ไม่รอลงอาญา แก่นายบัณฑิต ภูนากลม เมื่อครั้งตำรงตำแหน่งนายกฯองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮงาม และ นายบัณฑิตได้ อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาล และต่อมาจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงขอแนวทางการปฏิบัติ เกี่ยวกับการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยกระทรวงมหาดไทย และ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาเรื่องเสร็จแล้ว ยึดแนวทางตามบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1486/2565 ให้พิจารณารายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

Written By
More from pp
บอร์ด คปภ. รับคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์และไทยประกันภัย
บอร์ด คปภ. รับคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์และไทยประกันภัย พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขฯ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค ให้ปฏิบัติให้แล้วเสร็จ ก่อนเสนอบอร์ด คปภ. เพื่อพิจารณาว่าจะอนุญาตให้เลิกกิจการหรือไม่ ในระหว่างนี้บริษัททั้งสองยังต้องดำเนินการประกอบธุรกิจตามปกติ โดยประชาชนยังสามารถยื่นเคลมประกันภัยได้
Read More
0 replies on “เปิดแนวปฏิบัติ “มท.” ในอดีต ยึดความเห็น “กฤษฎีกา” ย้ำ ผู้บริหารท้องถิ่นเมื่อถูกศาลสั่งฟ้อง ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ หากไม่เชื่อ ผู้ว่าฯ สั่งพ้นตำแหน่งได้ แตกต่างจากแนวทาง “วิษณุ” ที่ให้ไปร้องศาล”