รมว.เกษตร เปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ ชู นิทรรศการนวัตกรรมยาง–สาธิตการทำผลิตภัณฑ์ยางในชีวิตประจำวัน

วันนี้ (13 มี.ค. 63) รมว.เกษตร เปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ ประจำปี 63 จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายใต้แนวคิด “เปิดประตูสู่เมืองยาง นวัตกรรมนำการผลิต” ณ สำนักงานเทศบาลตำบลปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชู นิทรรศการให้ความรู้นวัตกรรมการผลิตยางและสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ยางใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนกิจกรรมน่าสนใจอีกมากมาย ตั้งแต่วันนี้ – 14 มีนาคม นี้

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางตลอดมา เห็นได้จากการออกมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการประกันรายได้ และการร่วมมือกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันสินค้ายางพารา อีกทั้งยังส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ายางพารา โดยการแปรรูปยางสู่ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าให้กับยางพาราอันจะส่งผลถึงการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยยึดแนวทาง “ทำได้ไว – ทำได้จริง”

พร้อมกันนี้ ได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันว่า ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาช่วยผลักดันการเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศเพื่อกระตุ้นราคายาง รวมถึงการสร้างตลาดกลางยางพาราขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ซึ่งในมุมของเกษตรกร สถาบันเกษตรกรขาวสวนยาง ในฐานะเป็นผู้ผลิตจะต้องใส่ใจคุณภาพในการปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางให้เป็นไปตามหลักวิชาการ มีมาตรฐานสากล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องลงไปให้ความช่วยเหลือ ดูแลให้คำแนะนำ และบริหารจัดการด้านยางพาราไทยทั้งระบบอย่างครบวงจรต่อไป

“การจัดงานครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางให้ดีขึ้น เชื่อว่าเมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง จะทำให้เราสามารถก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญไปได้ในเร็ววัน”

นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ครั้งนี้ มีแนวคิดที่สื่อถึงพื้นที่ปลูกยางทางภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเริ่มขยายจากแถบจังหวัดภาคใต้ ขึ้นมาถึงจังหวัดเพชรบุรี ดังนั้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นจังหวัดรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้ เป็นประตูสู่พื้นที่เพาะปลูกยางเป็นส่วนใหญ่ของประเทศไทย

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางในแต่ละภูมิภาคมีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ยางพาราไปจัดแสดง และจำหน่าย พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแรงกระตุ้นในการคิดค้น/ปรับปรุง พัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและตลาด

เป็นการส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยางพาราของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักแก่ภูมิภาคอื่นๆ พัฒนาช่องทางการตลาดและธุรกิจยางพารา สร้างความสามัคคีให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค ไปสู่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร ในการพัฒนายางพารทั้งระบบต่อไป

นายขจรจักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการที่มุ่งเน้นทิศทางแนวโน้มการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ยุคไทยแลนด์ 4.0 การให้ความรู้ที่เกี่ยวกับ มาตรฐานต่าง ๆ ที่มีผลต่อการผลิตและแปรรูปยางพารา ความรู้ด้านเกษตรกรยั่งยืน ทั้งด้านวิชาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จจริง กิจกรรมนิทรรศการ ที่สื่อถึงนวัตกรรมนำการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และการสาธิต การทำผลิตภัณฑ์ยางสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาง และสินค้าพื้นถิ่น รวมถึงสินค้าที่ส่งเสริมอาชีพเสริมชาวสวนยาง

กิจกรรมประกวดผลผลิตทางการเกษตรพื้นถิ่น อาทิ สับปะรด มะม่วงน้ำดอกไม้ ขนุนทองประเสริฐ ไก่แจ้ กิจกรรมแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์ภาคใต้ ที่รวมยอดฝีมือมาแข่งขันคัดเลือกหาสุดยอดของภาคใต้ ตลอดจนการประกวดธิดาชาวสวนยาง โดยผู้เข้าประกวดต้องเป็นลูกหลานของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมุ่งเน้น “ความงามอย่างมีคุณค่า”

ทั้งนี้ สามารถมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าในงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ “เปิดประตูสู่เมืองยาง นวัตกรรมนำการผลิต” ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2563 ณ สำนักงานเทศบาลปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

Written By
More from pp
ธนาคารโลก ประเมินผล MEA พุ่ง บริการขอไฟฉับไวอันดับ 6 โลก ชูความยากง่ายประกอบธุรกิจไทย เพิ่มขึ้น 6 อันดับ รั้งที่ 21 Doing Business 2020
วันนี้ (25 ตุลาคม 2562) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยผล การจัดอันดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2020) ในการประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (Teleconference) จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ MEA สามารถรักษาตำแหน่งความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าที่รวดเร็วเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ช่วยยกระดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจประเทศไทยเป็นอันดับที่ 21 ของโลก เลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับจากปีที่ผ่านมา โดยมีนายกฤษฎา ตันศิริเสริญกุล ผู้ตรวจการ MEA เป็นผู้แทนผู้ว่าการในการรับฟังผลครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย อาคารสยามพิวรรธน์ถ.พระราม 1 กรุงเทพฯ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ที่ให้บริการด้านจำหน่ายไฟฟ้าองค์กรเดียวของประเทศไทยที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมรับการประเมินความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าในการจัดอันดับจากธนาคารโลก (World Bank) ที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) จาก 190 ประเทศทั่วโลก ผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2563 พบว่า ความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยพัฒนารวดเร็วโดดเด่นขึ้นอย่างมาก โดยคะแนนการประเมินเพิ่มจาก 98.57 เมื่อปี พ.ศ. 2562 มาเป็น 98.70 ในปี พ.ศ. 2563 รักษาตำแหน่งเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งผลคะแนนดังกล่าว เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยยกระดับภาพรวมความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 27 ของปี 2562 เป็นอันดับที่ 21 ของโลก ถือเป็นการเลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คะแนนการประเมิน Doing...
Read More
0 replies on “รมว.เกษตร เปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ ชู นิทรรศการนวัตกรรมยาง–สาธิตการทำผลิตภัณฑ์ยางในชีวิตประจำวัน”