‘ราชบุรี มีลาย’ อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ “ลายผ้าราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง ร่วมเปิดงาน

นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ร่วมเปิดงานกิจกรรมพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์ลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ในกิจกรรม “ราชบุรี มีลาย” ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่)” โดยมี ดร.นภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และนายธนกร สดใส 1 ในผู้ออกแบบลายผ้า “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) และคณะทำงานโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ชุมชน ด้านฐานธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 16 – 17 เมษายน 2567 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เพื่อต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ที่ชาวราชบุรีภาคภูมิใจ

นายปิยพงศ์ รองผู้ว่า ฯ กล่าวว่า เราทุกคนมารวมตัวเพื่อจัดงานนี้ อยากบอกว่าราชบุรีมีของดีมากมายที่คนทั้งประเทศอาจจะรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง ราชบุรียังเป็นเมืองตลาดน้ำแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเป็นเมืองแห่ง มะพร้าวน้ำหอมได้ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปต่างประเทศ หลายพันล้านต่อปี สร้างรายได้ สูงสุดถึงอันดับที่ 17 ของ ประเทศ จากการส่งออกด้านการเกษตร

ในส่วนของการนำผ้าลาย “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) มาโชว์ในวันนี้ ลายผ้าที่เชื่อมโยงจาก ธรรมชาติทั้งหมด เช่น สีที่ทำการย้อมผ้า วิธีการออกแบบนำเสนอลวดลายต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจ และเชื่อว่า เป็นการบอกกล่าวให้ทุกคนทำความรู้จักกับผ้าของราชบุรีมากยิ่งขึ้น

ส่วนของการออกแบบลายผ้า “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) นายธนกร สดใส กล่าวว่า…ในฐานะผู้ออกแบบ ลาย อยากบอกความเป็นโอ่งมังกรผ่านลายผ้า ถ้านึกถึงราชบุรีต้องนึก ถึงโอ่งมังกร มันคือพลังที่มีอยู่ในตัวอยู่แล้วแต่จับต้องไม่ได้ ให้มารวมอยู่ในลายผ้า ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) กับ 3 คอลเลกชั่นเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ผมใช้คำว่าตะโกน มันคือซอฟต์พาวเวอร์ ที่อยากบอกทุกคน ผ่านลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ใครที่ได้เห็นจะต้องนึกถึงโอ่งมังกร ให้อยู่ทุก ๆ มิติ มาอยู่ในลายผ้า ในจานอาหาร ในทุกมิติ ของเทศกาลจังหวัดราชบุรี

ด้วยการทำงานกับทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในกิจกรรมนี้เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่า ดร.นภสร โศรกศรี ได้เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากปี 2565 ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีนโยบาย ค้นหาลายอัตลักษณ์ผ้าไทยในทุก ๆ จังหวัด ในปีนั้นเราได้มีการสำรวจ ซึ่ง จ.ราชบุรี มีถึง 8 ชาติพันธุ์ ถ้าลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ควรจะเป็นลายไหนที่เป็นอัตลักษณ์ที่ส่งเสริมจังหวัด จึงเป็นที่มาในการค้นหา และตั้งทีมคณะทำงานในหลายภาคส่วน

ด้วยลายผ้าทอไทยยวนในจังหวัดราชบุรี เป็นที่รู้จักของชาวราชบุรีอยู่แล้ว แล้วเราก็เติมอัตลักษณ์ของโอ่งมังกรเข้าไปในลายผ้า เพื่อให้จับต้องได้ ในการนำไปประยุกต์ใช้ ในเรื่องของการพิมพ์ลายเราได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ราคาที่จับต้องได้เป็นการต่อยอดให้ลายผ้า ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ได้เกิดขึ้นจริงนำไปต่อยอด ทำอย่างไร ? ให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสวมใส่ และมีความร่วมสมัยเป็นการเพิ่มมูลค่าในตัวผลิตภัณฑ์ และชูความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองราชบุรีให้ยั่งยืน

เป็นที่น่าเสียดาย ในการจัดงานครั้งนี้ มีเพียงแค่สองวัน แต่เป็นก้าวเริ่มต้นที่ดี อยากให้คนไทยทุกคนได้รู้จักลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ที่สะท้อนความเป็นเมืองราชบุรีว่าเราไม่ได้มีดีแค่โอ่ง รองผู้ว่า ฯ กล่าวทิ้งท้าย

“ราชบุรี” เมืองที่เต็มไปด้วยเรื่องราว ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า หนึ่งเดียวในโลก ผ้าทอลาย “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งชาติพันธุ์ ร่วมกันส่งเสริมต่อยอดและอนุรักษ์รักษาไว้สืบไป

Written By
More from pp
กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนช่วงปีใหม่นี้ หลีกเลี่ยงการกินหมูดิบ หรือสุกๆดิบๆ เสี่ยงป่วยโรคไข้หูดับ อาจทำให้หูหนวกถาวรได้
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนช่วงปีใหม่นี้ หลีกเลี่ยงการกินหมูดิบ หรือสุกๆดิบๆเสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับ และอาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้ แนะทำสดใหม่ ปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อน และขอให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด
Read More
0 replies on “‘ราชบุรี มีลาย’ อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ “ลายผ้าราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง ร่วมเปิดงาน”