พฤติกรรมเลียนแบบ ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อเด็กเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น พูดคำหยาบ ก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น พ่อแม่มักจะไม่รู้ตัวว่าเด็กไปเรียนรู้พฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Youtube Tiktok โดยบางครั้งการเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้น เด็กก็อาจไม่รู้ความหมายในสิ่งที่กำลังพูดหรือกำลังทำอยู่

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์ Bangkok Mental Health Hospital (BMHH) กล่าวว่า พฤติกรรมการเลียนแบบสามารถอธิบายตามแนวคิดและทฤษฎีจิตวิทยาของบันดูราได้ว่า

การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการสังเกตจนเกิดการเลียนแบบ เพราะมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเด็กจะเห็นพ่อ แม่ เพื่อน หรือแม้กระทั่งบุคคลจากสื่อต่าง ๆ ทำพฤติกรรมเช่นใด เด็กจะซึมซับพฤติกรรมนั้นมา

6 กระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรม

คนเรามักจะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวเอง เพราะมองว่าเป็นเรื่องง่ายต่อการนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้กับตัวเอง เช่น อายุใกล้กัน เพศเดียวกัน มุมมองแนวคิดคล้ายกัน สนใจหรือให้คุณค่าในสิ่งที่คล้ายกัน
เด็กสามารถมีต้นแบบได้หลายคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในชีวิตจริง เช่น ผู้ปกครอง ลูกพี่ลูกน้อง หรือเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นผ่านสื่อต่าง ๆ

โดยบุคคลต้นแบบนั้นมีผลลัพธ์อะไรบางอย่างที่บุคคลผู้เลียนแบบอยากมีพฤติกรรมที่ได้รับคำชื่นชมหรือให้ผลในเชิงบวก มักเป็นพฤติกรรมที่ถูกนำมาเลียนแบบมากกว่า พฤติกรรมที่ให้ผลในเชิงลบ เช่น นักเรียนได้รับคำชื่นชมเมื่อกล้าถามคำถามคุณครู ทำให้เด็กคนอื่นในห้องเรียนมีพฤติกรรมถามคำถามมากขึ้น

บุคคลมักเลียนแบบบุคคลที่มีสถานะสูงกว่า เช่น หัวหน้างาน บุคคลมีชื่อเสียง หรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จในด้านที่สนใจ

บุคคลมักเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน เพราะพฤติกรรมของบุคคลต้นแบบมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมตัวเอง ทำให้ง่ายที่จะประสบความสำเร็จได้คล้ายกัน เช่น เด็กชอบว่ายน้ำ แล้วมีนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติเป็นต้นแบบ

บุคคลรอบข้างมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น ถ้าเด็กเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิดแล้วได้รับคำชม หรือรางวัล เด็กจะจดจำและมีแนวโน้มจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำต่อไป

เช่น เด็กหญิงเล่นตุ๊กตาแบบทะนุถนอมตามแบบพี่ แล้วผู้ปกครองพูดชมว่าเป็นเด็กอ่อนโยนเหมือนพี่ก็ได้รับคำชมก่อนหน้านี้ ทำให้เด็กอยากทำพฤติกรรมนั้นไปเรื่อย ๆ เรียกกระบวนเหล่านี้ว่าการเสริมแรงทางบวก (positive reinforcement) แต่ถ้าเด็กดื้อซนแล้วผู้ปกครองตักเตือนหรือทำโทษอย่างเหมาะสม จะทำให้พฤติกรรมดื้อซนลดลงได้

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเลียนแบบเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการของเด็กที่มีทั้งผลดีและผลลบ พ่อแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

หากพบว่ามีพฤติกรรมที่เลียนแบบในเชิงบวก ก็สามารถสนับสนุนบุตรหลานต่อไปได้ในทางที่ถูกต้อง ส่วนเด็กที่เริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบไม่เหมาะสม พ่อแม่ควรเข้าไปพูดคุยอธิบายด้วยเหตุผล แต่ถ้าเข้าไปพูดคุยแล้ว เด็กยังมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์

Written By
More from pp
ศรชล.ภาค 2 ร่วมกับด่านควบคุมโรค ตรวจคัดกรองโควิดเรือสินค้าไทย
เมื่อวันที่ 25 เม.ย.63 เวลา 07.30 น. ศรชล.ภาค 2 โดย น.อ.สุดทวิช เบญจจินดา หน.ศคท.จว.สงขลา...
Read More
0 replies on “พฤติกรรมเลียนแบบ ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม”