ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท

ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท

ไวรัสโควิด-19 (โคโรน่า) ทำราคาหน้ากากอนามัยแพงขึ้นต่อเนื่อง ความต้องการโตขึ้นจากเดิม 690% ยันออนไลน์มีของขายไม่ขาดตลาด

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่ทันหาย ไวรัสโควิด-19 หรือไวรัสโคโรน่าที่ทำคนตายไปแล้วกว่า 1,000 คน ก็มาแพร่ระบาดซ้ำเติม ซึ่ง หน้ากากอนามัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดต่อจากคนสู่คนที่เห็นผลมากที่สุด กลายเป็นสินค้าที่คนต้องการมากในตอนนี้ จนมีไม่พอขาย และมีราคาที่สูงขึ้น

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณทำให้ราคาแพงขึ้น

ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนคงพอจะทราบถึงสถานการณ์ความลำบากในการหาซื้อกันดีอยู่แล้ว ไปร้านไหนก็หมด แม้แต่ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดในประเทศยังก็ไม่มีขาย แต่เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนเรามีข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจที่จะมาแชร์ให้ดู

ตามข้อมูลปริมาณการค้นหาราคาหน้ากากอนามัยบนเว็บไซต์ Priceza.com ระหว่างวันที่ มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พบว่าปริมาณความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังที่แสดงในกราฟด้านล่าง

จากข้อมูลข้างต้น บ่งบอกถึงปริมาณการค้นหารวมในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นถึง 690% เมื่อเทียบระหว่างปี 2562 และ ปี 2563 สะท้อนปริมาณความต้องการมหาศาลของตลาดได้เป็นอย่างดี

ซึ่งสวนทางกับปริมาณสินค้าที่มีไม่พอขายในตลาด แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะขอความร่วมมือจาก 10 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยที่ใหญ่ที่สุดในไทย ให้เร่งผลิตใช้ภายในประเทศอย่างเต็มกำลัง บางแห่งผลิตติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง รวมแล้วกว่า 100 ล้านชิ้น แต่ดูเหมือนว่ามันก็ยังไม่เพียงพอที่จะให้ร้านค้าปลีกซื้อมาขายให้ผู้บริโภคได้

ราคาหน้ากากอนามัยพุ่ง 10 เท่า

จากการสำรวจราคาล่าสุด จากร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้าพร้อมขายบน Priceza.com ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า

  • ราคาหน้ากากอนามัยต่อกล่องบรรจุขนาด 50 ชิ้น สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 10 เท่า
  • มีราคาขายปลีกเป็นรายชิ้นต่ำสุดชิ้นละ บาท
  • ราคาสูงสุดชิ้นละ 15 บาท

ตัวอย่าง ราคาหน้ากากอนามัย Dura แบบ ชั้น กล่องบรรจุ 50 ชิ้น จากร้านค้าออนไลน์บนไพรซ์ซ่าดอทคอม จากประวัติราคาสินค้าที่เก็บมาในปี 2562 จะอยู่ที่ 45 – 60 บาทต่อกล่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับราคา ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ราคาในตอนนี้พุ่งไปสูงสุดถึงกล่องละ 120 – 650 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่ากันเลยทีเดียว

โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาเพิ่มไปได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงาน ที่หมายรวมต้นทุนทั้งเรื่องทรัพยากรและแรงงานที่สูงขึ้น เลยส่งผลให้จำเป็นต้องขายราคาที่สูงขึ้นตามไปเพื่อรักษาสมดุลของกำไร

ค้าปลีกไม่มีของขาย ร้านออนไลน์สต็อคเต็ม

หนึ่งสิ่งที่แปลกมากคือ ในขณะที่ร้านค้าปลีก ร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ แทบจะหาสินค้ามาขายไม่ได้ แต่บรรดา ร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นร้านบน Shopee Lazada หรือว่าร้านค้าบนโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก กลับมีสต็อคสินค้าพร้อมขายเป็นจำนวนมาก และขายในราคาที่สูงมากด้วยเช่นกัน เลยเกิดเป็นสมมุติฐานว่า น่าจะมีการกักตุนสินค้าเกิดขึ้น

ผู้เขียนเลยได้ลองไปสำรวจตาม กลุ่มซื้อ-ขายหน้ากากอนามัยบนเฟซบุ๊ก และในทวิตเตอร์ ย้อนไปดูตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมในช่วงไวรัสเริ่มระบาด พบว่าราคาที่ถูกโพสต์ขายสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และเริ่มมีการรับซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยในหลักหมื่น หลักแสน ไปกระทั่งจนถึงหลักล้านชิ้น ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม เป็นต้นมา

สอดคล้องกับกราฟที่แสดงปริมาณการค้นหาของไพรซ์ซ่า ที่ปริมาณเริ่มทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้นพอดี ผนวกกับการที่ผู้เขียนได้อ่านบทความจาก ผู้จัดการออนไลน์ เกี่ยวกับการเผยกระบวนการปั่นราคาหน้ากากอนามัย ยิ่งสนับสนุนให้สมมุติฐานที่คิดไว้ว่าน่าจะมีการกักตุนสินค้า และปั่นราคาชัดเจนยิ่งขึ้น

แล้วผู้ซื้ออย่างเราควรทำอย่างไร ไปซื้อที่ไหนได้บ้าง

สำหรับคนที่ไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อแถวบ้านได้ แล้วคาดหวังจะไปที่โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ขอให้หยุดความคิดนั้นได้เลย เพราะจากการสอบถามโรงงานที่ผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศ ส่วนใหญ่เค้าจะมีสัญญาซื้อกับบริษัทรับซื้ออยู่แล้ว และไม่มีนโนบายขายปลีกให้หน้าโรงงาน

ในเบื้องต้นหากหน้ากากอนามัยไม่มีขาย เราสามารถใช้ หน้ากากผ้า เพื่อป้องกันโรคในเบื้องต้นได้ แม้ประสิทธิภาพการกันไวรัสจะน้อยกว่าแบบปกติ แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรมาใช้เลย อีกทั้งข้อดีของหน้ากากผ้ายังสามารถซักล้างเอากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย แต่! ต้องซักให้สะอาด หรือแช่น้ำยาฆ่าเชื้อด้วยนะ

เพราะตามธรรมชาติไวรัสชนิดนี้จะติดต่อจากละอองฝอยจากการจามหรือไอ พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสการไอการจามได้ เราก็จะไม่ติดโรค

แต่สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ เช่น จำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง จำเป็นที่ต้องอยู่ใกล้คนที่เสี่ยง คงต้องจำใจถูกมัดมือชกซื้อจากร้านออนไลน์ที่ตอนนี้มีสต็อคอยู่เยอะมากในราคาสูงอยู่ดี

นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว ยังมี เจลล้างมือ สินค้าที่กำลังประสบปัญหาความต้องการสูง และราคาพุ่ง เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ เจลล้างมือแบบพกพา ที่แทบจะขาดตลาด ณ ตอนนี้ ก็มียอดค้นหาเพิ่มขึ้นมากขึ้นถึง 6,110% และมีราคาสูงขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงสุดถึง เท่า

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าจะจบลงเมื่อไหร่ แต่ในตอนนี้ผู้บริโภคเรายังคงต้องแบกรับภาระด้านราคาหน้ากากอนามัย หรือเจลล้างมือ ที่สูงมาก ไปอีกสักพักใหญ่ ๆ ทั้งนี้การหาสินค้าทดแทน อาทิ หน้ากากผ้า หรือเจลล้างมือแอลกอฮอลล์ทำเองมาใช้ ก็พอจะช่วยลดรายจ่ายในส่วนนี้ลงได้บ้าง

Written By
More from pp
สาวกป๊อปคอร์นเตรียมเฮ!!! เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จัดเต็มความสุขให้อร่อยสุดฟิน กับ “National Popcorn Day” 19 มกราคมนี้ เพียง 19 บาท ทุกสาขาทั่วประเทศ LINE MAN – GRAB ร่วมฉลอง สั่งถังซูปเปอร์ไซซ์ 199 บาท แลกซื้อป๊อปคอร์น ถุงซิปล็อค 19 บาท
ป๊อปคอร์น…ของว่างแสนอร่อยหากได้กินแล้วยากจะหยุด เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จัดเต็มความสุขให้คนชอบป๊อปคอร์นได้เฮ!!! ให้อร่อยสุดฟิน กับความหอม กรอบ อร่อย ของป๊อปคอร์นโรงหนังที่มีรสชาติและเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร กับ “National...
Read More
0 replies on “ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท”