นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ได้รับเชิญจาก ดร.ธีรวัฒน์ วงศ์วรทัตและ สถาบัน House of iKons โดยคุณ Savita Kaye ให้นำชุดปากายัน มลายู ของเทศบาลนครยะลา จำนวน 9 ชุด ร่วมแสดงในงาน London Fashion Week เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงแรม leonardo กรุง London ประเทศอังกฤษ ได้รับความชื่นชมจากผู้ร่วมงานและได้รับความสนใจอย่างมาก เป็นการนำปากายัน มลายูสู่สากล
โครงการ ปากายันมลายู มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้พื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา เป็นศูนย์กลางออกแบบ จำหน่าย แฟชั่นเสื้อผ้ามลายู ชายแดนใต้ โดยเทศบาลนครยะลา ผนึกกำลังผู้ประกอบการจำหน่ายผ้า นักออกแบบผ้า ดีไชน์เนอร์สนง.วัฒนธรรมจังหวัดยะลา สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผลักดันพื้นที่ย่านตลาดเก่า และย่านการค้าในเขตเทศบาลนครยะลา ให้เป็นศูนย์กลางการจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นมลายู เน้นออกแบบให้เป็นอัตลักษณ์ ทำแบรนดิ้ง เพื่อส่งขายในโลกมลายู
โดยนายกเทศมนตรีนครยะลาได้กล่าวว่าเมื่อตอนลงหาเสียงการเลือกตั้ง ครั้งที่ผ่านมา ได้พบว่าคนจากจังหวัดอื่นนิยมเข้ามาซื้อสินค้าที่เป็นผ้าพื้นเมืองของยะลาจำนวนมาก พอเดินเข้ามาหลังร้านก็มีการไลฟ์สดขายผ้าดังกล่าวด้วย และมีผู้ที่สนใจเป็นจำนวนมากเช่นกัน จึงทำให้ขณะนั้นเกิดเป็นแนวคิดที่จะสร้างยะลาให้ “เป็นศูนย์กลางของแฟชั่นเสื้อผ้ามลายู” เพื่อเป็นการส่งเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ก็ได้คิดกว้าง ๆ ไว้ ซึ่งได้มองผ้าออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ผ้าร่วมสมัย คือ ผ้าที่เราใส่กันทั่วไป
2. ผ้าพื้นเมือง คือ ผ้าบาติก ผ้าปะลางิง
3. ผ้าพระราชทาน ซึ่งเป็นผ้าไหม หรือที่เป็นลายพระราชทาน ซึ่งพระองค์เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ได้ออกแบบลวดลายด้วยพระองค์เอง แล้วพระราชทานให้นักออกแบบผ้าพื้นเมืองประยุกต์ใช้
ในขณะเดียวกัน การแต่งกายก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภท เช่นกัน คือ
1. การแต่งกายร่วมสมัย
2. การแต่งกายพื้นเมือง
3. การนำผ้าลายพระราชทานมาออกแบบ ผสมกับผ้าร่วมสมัย หรือผสมผ้าพื้นเมือง ให้สอดคล้องกับการแต่งกายที่เป็นพื้นเมือง หรือการแต่งกายที่เป็นร่วมสมัย
เทศบาลนครยะลา ร่วมกับ สถานกงสุลใหญ่อินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลาจัดการแข่งขันออกแบบลายผ้ามลายูเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตผ้าเป็นแบรนด์ดังของยะลา ที่สามารถจะขายไปทั่วโลกมาร่วมประกวดการออกแบบดีไซด์ และตัดเย็บ
และในส่วนทางด้านนักออกแบบบผ้าในยะลา ได้นำเสนอความเห็นที่หลากหลาย เพื่อช่วยกันผลักดันให้เสื้อผ้าที่ผลิตโดยคนยะลาเป็นศูนย์กลางการออกแบบ การจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นเครื่องแต่งกายมลายู โดยใช้ชื่อว่า ปากายัน มลายู แปลว่า เครื่องแต่งกายตามอัตลักษณ์มลายู อันเป็นจุดเด่นของสินค้าบ้านเราที่จะส่งจำหน่ายได้กว้างขึ้นในอนาคตต่อไป และในครั้งนั้ เทศบาลนครยะลาได้คัดเลือกชุดที่ผ่านการประกวดในกิจกรรม ปากายัน มลายู 2022 ดังกล่าว มาร่วมแสดงที่ประเทศอังกฤษ จำนวน 9 ชุด