หลับตาเห็นรัฐบาลหน้า-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

โพลเรียกน้ำย่อย

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “๖ พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล” จาก ๑,๓๑๐ ตัวอย่าง

ผลตามนี้ครับ

๑.พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว / น.ส.แพทองธาร ชินวัตร)

ร้อยละ ๔๐.๓๘ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ ๓๒.๔๔ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๑๖.๘๘ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๘.๒๔ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

๒.พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์)

ร้อยละ ๓๑.๔๕ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๓๐.๒๓ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ ๒๓.๖๖ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๑๑.๐๐ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

๓.พรรคพลังประชารัฐ (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

ร้อยละ ๓๓.๕๑ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๓๒.๖๐ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๒๐.๓๘ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ ๑๐.๗๖ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

๔.พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค / พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

ร้อยละ ๔๓.๑๒ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๓๑.๔๕ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๑๕.๗๓ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ๕.๗๓ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

๕.พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)

ร้อยละ ๓๙.๑๖ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๓๐.๘๔ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๒๑.๖๐ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ ๔.๙๖ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

๖.พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)

ร้อยละ ๔๐.๖๙ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ ๓๘.๙๓ ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ ๑๓.๒๐ ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ ๔.๕๘ ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

โดยภาพรวมก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ รัฐบาลหน้า พรรคเพื่อไทยน่าจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้ง เพราะชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์บันไดเลื่อน

ส่วนจะรวมกับใครคงขึ้นกับคำสั่งจากจ้าของพรรคตัวจริงจากแดนไกล หาได้ขึ้นกับโพลไม่

นิด้าโพล เขาสำรวจประเด็นนี้เหมือนกันโดยตั้งคำถาม กระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า

พบว่า ร้อยละ ๔๕.๖๕ ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะเป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยากเนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน

ร้อยละ ๒๙.๒๔ ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้

ร้อยละ ๑๖.๖๔ ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน

ร้อยละ ๕.๑๙ ระบุว่า เชื่อมากเพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน

โพลอาจจะแม่นในผลการเลือกตั้ง

แต่เมื่อถามประเด็นพรรคไหนได้จัดตั้งรัฐบาลบ้าง ผลที่ออกมามีแนวโน้มจะกลายเป็นคนละเรื่อง

ว่าไปแล้วมีแนวโน้มสูงมากที่พรรคเพื่อไทยจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล หากผลการเลือกตั้งออกมา พรรคก้าวไกลเป็นพรรคอันดับ ๓-๔

โอกาสที่เพื่อไทยจะร่วมรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทยนั้นมีสูงมาก หากพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่ได้เก้าอี้ส.ส.ตามเป้า

เรื่องพวกนี้มันไกลเกินความอยากของประชาชน เพราะมันเป็นความต้องการของเจ้าของพรรคเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

กรณีของพรรคก้าวไกล ดูจะเป็นปัญหาในการร่วมรัฐบาลมากที่สุด

เราเคยได้ยินบ่อยว่าอุมการณ์ไม่ตรงกันไม่สามารถร่วมรัฐบาลกันได้ แต่เชื่อหรือไม่ ร่วมรัฐบาลกันมาเยอะแล้ว

รัฐบาลบรรหาร ช่วงปี ๒๕๓๘-๒๕๓๙ พรรคชาติไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ สู้กันดุเดือดมาก

ฝ่ายค้านนำโดยพรรรประชาธิปัตย์อธิปรายไม่ไว้วางใจถล่มอย่างดุเดือด

สุดท้าย พรรคชาติไทย มาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล “ชวน ๒”

การเมืองต่อให้ตีกันเละในสภา สุดท้ายก็สามารถโคจรมาตั้งรัฐบาลด้วยกันได้

แต่ พรรคก้าวไกล เป็นกรณีพิเศษ เพราะการเมืองอื่นๆ ในอดีตและปัจจุบันไม่เคยก้าวข้าม ไปรื้อสถาบันพระมหากษัตริย์

จุดที่พรรคเพื่อไทยต้องคิดหนักที่สุดคือ พรรคก้าวไกลยืนกราน แก้ไขหรือยกเลิกม.๑๑๒ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

หาก ๒ ประเด็นนี้ถูกบรรจุไว้ในนโบายรัฐบาล ก็มีแนวโน้มว่าอายุรัฐบาลต้องนับเป็นวันๆ ไป

แต่กับภูมิใจไทย รวมทั้งพลังประชารัฐ ที่บอกว่าคนละอุมการณ์กัน สุดท้าย ไม่มีหรอกครับอุดมการณ์ เพราะนักการเมืองทั้ง ๓ พรรคนี้จำนวนหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลกับพรรค ย้ายพรรคถ่ายเทกันไปมา

พรรคก้าวไกลต่างหากที่แปลกแยก

อาจมีคนบอกว่า เมื่อพรรคก้าวไกลได้ร่วมรัฐบาล ก็จะไม่พูดถึงการเลิก ม.๑๑๒ หรือปฏิรูปสถาบันอีก

ก็เป็นไปได้ เพราะสถานการณ์ล่าสุดระหว่างพรรคก้าวไกลกับคณะก้าวหน้าดูเหมือนระดับแกนนำเริ่มจะปีนเกลียวกัน

“ปิยบุตร แสงกนกกุล” แสดงความไม่พอใจ พรรคก้าวไกลอย่างชัดเจน เพราะไม่พยายามให้มากพอในการแก้ ม.๑๑๒

ท่าทีนี้ปรากฎในเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล

“…การไม่ทำอะไรเลยในช่วงเวลาเกือบปี แล้วป่าวประกาศว่าพรรคก้าวไกลเสนอร่างแก้ ๑๑๒ แล้วนะ แต่ติดที่ประธานสภา เอาเข้าจริง จะไม่ต่างอะไรกับการไม่ทำอะไรเลย และจะทำให้สังคมและพรรคอื่นๆ คิดไปว่าพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ๑๑๒ โดยไม่หวังผลสำเร็จ แต่ทำไปเพื่อรักษาคะแนนคนรุ่นใหม่ ให้ได้ชื่อว่า “กูทำแล้วนะ”

สุดท้าย การเสนอร่าง พรบ แก้ ๑๑๒ ของพรรคก้าวไกล หวังผลสำเร็จ หวังการผลักดันเข้าสภาจริงๆ หรือ หวัง “ได้แต้ม” ทางการเมืองกันแน่? ณ เวลานี้ ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่า ไม่ว่าจะยกเลิก ๑๑๒ หรือแก้ใหญ่ ๑๑๒ อย่างไรก็ติดล็อกที่ประธานสภา ในขณะที่ไม่มีพรรคใดที่จะเสนอแก้ ๑๑๒ เลย นอกจากพรรคก้าวไกล แล้วทำไมพรรคก้าวไกลไม่คิดทำอะไรต่อ

ตกลงอยากแก้ ๑๑๒ จริงๆ หรือเอามาเป็นเครื่องมือการหาคะแนนเสียงกันแน่?…”

อิทธิพลของ “ธนาธร-ปิยบุตร” ในพรรคก้าวไกลนั้นยังถือว่ามากกว่า “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”

ทิศทางพรรคก้าวไกลนอกจาก “ธนาธร-ปิยบุตร” แล้ว มวลชนของพรรคยังถือว่ามีบทบาทสำคัญ

และที่สำคัญยิ่งเป็นมวลชนที่ถูกปลุกเร้า ไปไกลถึงขั้นเปลี่ยนประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐแล้ว

ลองนึกภาพดูหากพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล จะโกลาหลกันขนาดไหน

Written By
More from pp
มาแน่! ลดค่าเทอมนักเรียน-นักศึกษา เข้าครม. อังคารหน้า
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เห็นชอบในหลักการแนวทางลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษา ในปีการศึกษา...
Read More
0 replies on “หลับตาเห็นรัฐบาลหน้า-ผักกาดหอม”