สะพายเป้หนัก ไม่ใช่สาเหตุหลักของกระดูกสันหลังคด

การแบกเป้ สะพายกระเป๋า จนมีส่วนทำให้กระดูกสันหลังคดนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงทั้งหมด

เนื่องจากการเกิดกระดูกสันหลังคด มีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก

1.หลังคดตั้งแต่กำเนิด ถ้าเป็นตั้งแต่เกิดนั้น ส่วนมากแล้วเกิดจากการที่กระดูกเติบโตผิดรูป จนทำให้กระดูกคดในที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะกระดูกสันหลังเอียงตั้งแต่กำเนิด

2.หลังคดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น สาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ โดยความคดจะปรากฎชัดเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โดยมีความเข้าใจผิดว่า กระดูกคดจากการแบกของหนัก เช่น เป้ หรือกระเป๋า ซึ่งไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง แต่จริง ๆ แล้วคือ มีปัญหาเดิมมาก่อนหน้านี้เลยทำให้อาการเห็นชัดเจนมากขึ้น แต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก เพราะถือของหนักแค่ไหนก็ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง มักพบในเด็กผู้หญิงวัย 11-12 ปี และในเด็กผู้ชายวัย 13-15 ปี มากที่สุด

3.กระดูกสันหลังเสื่อม โดยเฉพาะในผู้สูงวัยจนถึงวัยชรา โดยกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้กระดูกทรุดตามวัยที่ใช้ร่างกายมาเนิ่นนาน ปกติจะพบในวัย 60 ปีขึ้นไป แต่ถ้าดูแลร่างกายไม่ดีพอ หรือมีปัจจัยร่วมอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ ก็ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นให้กระดูกเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น แต่ในบางรายรักษาสุขภาพมาดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาว อายุ 60 กว่าไปแล้ว กระดูกยังไม่ทรุดมากก็มีเยอะ

ดังนั้น หากพบว่ากระดูกสันหลังคดเห็นได้ชัด หรือส่งผลกระทบต่อร่างกาย ควรพบแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์อาจรักษาใส่เสื้อเกราะประคองหลังการสวมเสื้อเกราะประคองได้ผลดีในผู้ป่วยเด็ก ที่มีมุมความคดน้อยกว่า 25-30 องศา เนื่องจากกระดูกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต หากผู้ป่วยมีมุมความคดของหลังมากกว่า 45 องศา หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีความไม่สมดุลของแนวกระดูกสันหลัง หรือมีอาการผิดปกติของระบบประสาท แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดรักษา

นพ.ภัทร โฆสานันท์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง
โรงพยาบาลเวชธานี

Written By
More from pp
ปตท. เปิด “สถานีใส่ใจ” นำร่องศูนย์ส่งเสริมและป้องกันสุขภาพอัจฉริยะ ในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station จ.สระแก้ว
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช  เป็นประธานในพิธีเปิด “สถานีใส่ใจ” ศูนย์ให้บริการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Preventive Healthcare Unit) ณ...
Read More
0 replies on “สะพายเป้หนัก ไม่ใช่สาเหตุหลักของกระดูกสันหลังคด”