กัญชาทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยโรคลมชักความผิดปกติทางระบบประสาท รักษาด้วยสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การใช้สารสกัดกัญชาในการรักษาโรคลมชักมีมานาน ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้เป็นยาได้

แต่ในหลายประเทศยังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การศึกษาระยะแรกไม่มีการควบคุมขนาดของยาที่ชัดเจน พบว่าได้ผลในผู้ป่วยโรคลมชักบางราย ในปี พ.ศ.2560 ในต่างประเทศได้ทำการศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบสารสกัดกัญชาซีบีดีกับยาหลอก

พบว่าสารสกัดกัญชาซีบีดีสามารถรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่รุนแรงรักษายากในเด็กโดยลดชักชนิดรุนแรง แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงมากเช่นกัน

ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2562 มีการประกาศใช้กฎหมายให้สามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ภายใต้รูปแบบพิเศษในการเข้าถึงยา

โดยสถาบันประสาทวิทยาและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ได้ทำการศึกษาวิจัยติดตามผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็กที่ได้สารสกัดกัญชาซีบีดีสูง ร่วมกับยากันชักหลายชนิด เป็นระยะเวลา 12 เดือน จำนวน 14 ราย

พบว่าจำนวนผู้ป่วยมีอาการชักรุนแรงลดลง7 ราย คิดเป็นร้อยละ50 พบผลข้างเคียงทุกราย ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและมักเกิดในช่วง 3 เดือนแรก โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารสกัดกัญชาในขนาดสูง

ซึ่งพบผู้ป่วย 4 ราย ที่ต้องหยุดยาเนื่องจากชักมากขึ้น จึงสรุปได้ว่าสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็กไทยพบผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง โดยเริ่มยาขนาดต่ำและเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่รุนแรงในช่วง 3 เดือนแรก

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของการใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก

จากผลการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทย โดย 2 สถาบันของกรมการแพทย์ พบว่ามีประสิทธิผล ลดชักได้ ทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องดูแลอาการชักที่รุนแรงตลอดเวลา และเป็นการสนับสนุนการใช้ยาที่พัฒนาจากสมุนไพรที่ผลิตในประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศไทยในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

กรมการแพทย์จึงได้เสนอสารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูง ในการรักษาโรคลมชักรักษายากในเด็ก เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร และได้รับอนุมัติบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร บัญชี 3 สามารถเบิกจ่ายในสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มนี้

และดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็กอยู่ในความดูแลของกุมารแพทย์ประสาทวิทยา

กรมการแพทย์ จึงได้ร่วมกับสมาคมกุมารประสาทวิทยา(ประเทศไทย) จัดทำโครงการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักรักษายากในเด็กที่ใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงทั่วประเทศ เพื่อให้การใช้สารสกัดกัญชาชนิดซีบีดีสูงที่ผลิตในประเทศมีความปลอดภัย มีประสิทธิผลเชื่อถือได้ และนำไปสู่การเสนอเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร บัญชี 1 ในปี พศ. 2567 ต่อไป

Written By
More from pp
เกษตรกรได้เฮ ! “เฉลิมชัย” ฉับไวสั่งเตรียมพร้อมเยียวยาเกษตรกรกว่า 7 ล้านราย ใช้ฐานข้อมูลบิ๊กดาต้า เน้นรวดเร็วครอบคลุมถูกต้อง หลังนายกฯ ประกาศจะช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบโควิด19
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (6 ม.ค.64) ว่า หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)...
Read More
0 replies on “กัญชาทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในเด็ก”