‘รมช.มนัญญา’ สั่งคุมเข้ม ย้ำห้ามตัดทุเรียนอ่อนขาย พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นทุเรียนไทย ผ่านมาตรฐาน GAP และ GMP Plus
รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 พร้อมด้วยนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พล.อ.อรรฆพงษ์ สุนทรวิภาต รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแถลงข่าวการจับกุมทุเรียนหมอนทองอ่อน ณ ห้องประชุม โรงแรมแซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ว่า
จากการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดชลบุรี และจันทบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมมาตรการในการส่งออกผลไม้ไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามการตัดทุเรียนอ่อนเพราะจะเป็นการทำลายโครงสร้างของการส่งออกทุเรียนทั้งหมด ซึ่งกรมวิชาการเกษตรยึดหลักการตรวจการส่งออก ตามหลัก GAP, GAP Plus, GMP และ GMP Plus และมาตรการของทางจังหวัดจันทบุรี ที่จะติดตามการส่งออกอย่างเคร่งครัด ซึ่งจีนให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะทุเรียน
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ลงพื้นที่เข้าตรวจติดตามล้งรับซื้อทุเรียนอ่อนเพื่อดำเนินการจับกุมล้งที่กระทำความผิดมาอย่างต่อเนื่อง
รมช.มนัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ดี ต้องป้องปรามไว้ก่อน เจ้าของสวนเองต้องมีความรับผิดชอบ อีกทั้งได้รับรายงานจากฑูตเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง ชื่นชมประเทศไทยที่ได้ดำเนินการในเรื่องของ GAP Plus และ GMP Plus ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และจังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกอบการมีความซื่อสัตย์ เข้มงวดในเรื่องของมาตรฐานในการกำหนดวันตัดทุเรียน และการป้องกันในเรื่องมาตรการโควิด-19 และขอวอนผู้ประกอบการอย่าทำลายโครงสร้างของการส่งออกทุเรียน จะทำให้ทุเรียนเกิดความล่มสลายในที่สุด
ด้านอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ตรวจสอบ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้เข้าตรวจติดตามล้งรับซื้อทุเรียน และพบว่า มีทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีกำหนดให้ตัดได้ในวันที่ 25 เมษายน 2565 ปรากฏว่า พบทุเรียนอ่อนจากทั้งหมด 17% ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในการส่งออกซึ่งมีความผิด เกษตรกรอาจจะโดนเพิกถอนใบ GAP และล้ง จะถูกยกเลิกใบ DOA (ใบอนุญาติในการส่งออก) ทั้งนี้ ภายหลังจากการตรวจสอบได้ยึดทุเรียนอ่อนทั้งหมด ส่ง สภ.ขลุง จ.จันทบุรี ดำเนินคดี เมื่อวันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้การอำนวยการของนายณัฏฐพงษ์ พัฒนรัฐ นายอำเภอขลุง ได้นำกำลังชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพอำเภอขลุง
ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 สำนักงานเกษตรอำเภอขลุง ฝ่ายปกครองอำเภอขลุง ตำรวจภูธรขลุง เข้าตรวจสอบล้งรับซื้อทุเรียน อ.ขลุง จ.จันทบุรี โดยเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทองทั้งหมด ตัดมาจากสวนทุเรียนในเขตจังหวัดตราด มีการตรวจพบตัวอย่างทุเรียน 7 ตัวอย่าง พบว่าผ่านเกณฑ์ 2 ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่จึงให้ลูกจ้างของล้งฯ คัดทุเรียนในส่วนที่ผ่านเกณฑ์ออกไป ส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 73 ลูก น้ำหนักรวม 200.5 กิโลกรัม จากทั้งหมด 1,152 กิโลกรัม คิดเป็น ร้อยละ 17% ที่อ่อน ซึ่งเจ้าหน้าที่ยึดออกมาเพื่อนำไปเป็นของกลางในการดำเนินคดีอาญา คือ มาตรา 271 และ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภคกับเจ้าของล้ง ต่อไป
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความเข้มงวดของประเทศจีนในด้านสุขอนามัยพืชและการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำมาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดสินค้าผลไม้ไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ยกระดับด่านตรวจพืช เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตรวจปิดตู้และจะต้องยกระดับมาตรฐานการทำงานให้มีความสามารถในการตรวจสอบศัตรูพืช และสารพิษตกค้าง รวมถึงการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และจะเร่งดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกที่กำลังจะมีผลผลิตมาก โดยเฉพาะทุเรียน
ด้วยการวางแผนการส่งเสริมการบริโภคภายในทั้งระบบ และหาตลาดใหม่ ๆ ในต่างประเทศ พร้อมทั้งการแปรรูป เพิ่มการขนส่งสินค้าตรง ไม่ผ่านประเทศที่ 3 ด้วยทางเรือ และอากาศเพิ่มเติม รวมทั้ง การเจรจาในระดับต่าง ๆ เพื่อเร่งแก้ปัญหาให้เป็นระบบ ที่สำคัญได้เน้นย้ำผู้ประกอบการเอกชน และเกษตรกร ต้องเข้มงวดและปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางของจีนอย่างเข้มงวด จริงจังในการควบคุมแมลงศัตรูพืช สารตกค้าง และการควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ปนเปื้อนไปกับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสินค้าเกษตรไทยให้กับประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับในปี 2565 คาดการณ์สถานการณ์การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2565 ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นคาดการณ์ว่าปี 2565 ทุเรียน จะมีผลผลิตปริมาณ 744,549 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จํานวน 169,007 ตัน คิดเป็น 29.36 % โดยผลผลิตทุเรียนจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง สิงหาคมซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมาก ที่สุดในเดือนพฤษภาคม จํานวน 357,223 ตัน มังคุด ผลผลิตเพิ่มขึ้นคาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีผลผลิตปริมาณ 210,864 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จํานวน 104,068 ตัน คิดเป็น 97.44% โดยผลผลิตมังคุดจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง กรกฎาคม
ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม จํานวน 112,762 ตัน ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี คาดว่า ปี 2565 จะมีผลผลิตทุเรียน ปริมาณ 508,876 ตัน โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม จํานวน 240,902 ตัน และจะมีผลผลิตมังคุด ปริมาณ 145,079 ตัน โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม จํานวน 80,069 ตันจํานวน 104,068 ตัน คิดเป็น 97.44 % โดยผลผลิตมังคุดจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง กรกฎาคม ซึ่งผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม จํานวน 112,762 ตัน ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี คาดว่า ปี 2565 จะมีผลผลิตทุเรียน ปริมาณ 508,876 ตัน