8 พ.ย.2564- พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(ผบก.ปคบ.) และเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการตรวจค้นโกดัง 2 แห่ง ย่านบางกะปิ กรุงเทพมหานคร หลังสืบทราบว่ามีการลักลอบนำเข้าเครื่องมือแพทย์และวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. พบของกลาง ชุดตรวจ ATK , หน้ากากอนามัย , ชุด PPE , เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว , เทอร์โมมิเตอร์ , ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และป้ายห้อยคอกันไวรัส จำนวนทาก รวมมูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีผู้ฉวยโอกาสลักลอบจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ทาง บก.ปคบ. และ อย.หนูร่วมกันสืบสวนหาข้อมูลกวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังมีบริษัทนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แจ้งมาว่ามีการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวขายตามท้องตลาด จึงจนกระทั่งสืบทราบเส้นทางขบวนการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขยายผลจนทราบว่า มีการลักลอบนำเข้าชุดตรวจ ATK และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ไปเก็บไว้ที่โกดังสินค้า 2 แห่ง ย่านบางกะปิ
จึงเข้าตรวจค้นและพบของกลางเป็นจำนวนมากดังกล่าว ดำเนินคดีความผิดพ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 นำเข้าเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้จดทะเบียนสถานประกอบการ, นำเข้าเครื่องมือแพทย์ปลอม, ขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ผ่านการประเมินเทคโนโลยี และขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับใบรับแจ้งรายการละเอียด
มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับผิด พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 นำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้ขออนุญาต, นำเข้าวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียน และนำเข้าวัตถุอันตรายที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เภสัชกรหญิงสุภัทร กล่าวว่า การตรวจค้นครั้งนี้ของกลางส่วนใหญ่จะไม่รับอนุญาตจาก อย.และปลอมแปลงขึ้นมา แต่ที่น่าสนใจคือ ป้ายห้อยคอกันไวรัส หรือ Virus shut out ที่มีการตรวจยึดได้จำนวนถึง 16,000 ชิ้น จึงอยากชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนว่า
ป้ายห้อยคอกันไวรัสดังกล่าว ทำจากครอรีนไดออกไซด์บรรจุซอง แล้วทำเป็นป้ายห้อยคอ โดยผู้ใช้มีความเชื่อว่าจะสามารถป้องกันไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศบริเวณรอบตัวได้ แต่ในความจริงแล้วป้ายห้อยคอกันไวรัสดังกล่าว ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน โควิด-19 หรือไวรัสชนิดอื่นได้อต่อย่างใด อย่าหลงเชื่อซื้อมาใช้ เพราะห้อยคอไปก็ไม่ประโยชน์ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือ เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด