กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 24 ตุลาคม 2564

พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 12 จังหวัด 40 สายทาง 67 แห่งการจราจรผ่านไม่ได้ 19 แห่ง โดยพื้นที่น้ำท่วมสูงส่วนใหญ่เป็นจุดกลับรถใต้สะพานเนื่องจากปริมาณน้ำสะสมจากฝนตกต่อเนื่องทำให้เอ่อล้นท่วมผิวจราจร พร้อมเร่งระบายคืนการสัญจรให้ประชาชน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม  เปิดเผยว่า กรมทางหลวง (ทล.)
ได้ขานรับข้อสั่งการของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่มอบแนวทางแก้ไขให้หน่วยงานเร่งรัดสำรวจซ่อมแซมฟื้นฟูเส้นทางสัญจรที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนในหลายพื้นที่

และกำชับให้ออกแบบสายทางโดยคำนึงถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมก่อนช่วงฤดูฝนปี 2565 ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำชับให้ติดตามการเตือนภัยของกรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากยังอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนโดยภาพรวมหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย ระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง สามารถสัญจรได้ตามปกติ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง จึงมอบให้หน่วยงานเร่งระบายน้ำ สำหรับเส้นทางที่ยังไม่สามารถเปิดสัญจรได้ให้ติดตั้งป้ายเตือน หลักนำทาง ไฟกะพริบและป้ายแนะนำเส้นทางเลี่ยงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

โดยพื้นที่ที่ยังคงมีระดับน้ำสูงส่วนใหญ่เป็นจุดกลับรถ เช่น จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้างระดับน้ำผิวทาง 200 เซนติเมตร บน ทล.2 ท่าพระ – ขอนแก่น และจุดอุโมงค์ท่าขอนยาง ระดับน้ำ 220 เซนติเมตร ทล.213 มหาสารคาม – หนองขอน เนื่องจากปริมาณน้ำสะสมจากฝนตกต่อเนื่องทำให้น้ำในแม่น้ำชีเอ่อล้นท่วมผิวจราจร จุดกลับรถบางศาลาบน ระดับน้ำ 135 เซนติเมตร ทล.32 อ่างทอง – ไชโย เนื่องจากคันกั้นน้ำจระเข้ร้องแม่น้ำเจ้าพระยาพังเนื่องจากน้ำไหลแรงเข้ามาบริเวณคลอง จุดกลับรถคลองกะท่อ ระดับน้ำ 165 เซนติเมตร ทล.32 นครหลวง – อ่างทอง และจุดกลับรถใต้สะพานสีกุก ระดับน้ำ 195 เซนติเมตร ทล.3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำน้อยสะสมจำนวนมากจากฝนตกต่อเนื่องทำให้เอ่อล้นท่วมผิวจราจรบริเวณใต้สะพาน

สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2564 เวลา 14.15 น. ทางหลวงถูกน้ำท่วม ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 12 จังหวัด 40 สายทาง 67 แห่ง ทั้งนี้ การจราจรผ่านไม่ได้ 8 จังหวัด 19 แห่ง ดังนี้

1. จังหวัดขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล.2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม. ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 200 เซนติเมตร

2. จังหวัดมหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล.213 มหาสารคาม – หนองขอน ช่วง กม. ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 220 เซนติเมตร

3. จังหวัดนครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล.202 ดอนตะหนิน – ตลาดไทร ช่วง กม. ที่ 93+611 ระดับน้ำสูง 10 – 30 เซนติเมตร

4. จังหวัดนนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า – ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+610 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่เพื่อมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ำสูง 30 – 40 เซนติเมตร
– ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า – ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+50 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนแคราย) ระดับน้ำสูง 20 – 25 เซนติเมตร
– ทล.307 แยกสวนสมเด็จ – ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 75 เซนติเมตร

5. จังหวัดอ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล.32 อ่างทอง – ไชโย ช่วง กม. ที่ 57+500 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ำสูง 135 เซนติเมตร
– ทล.33 นาคู – ป่าโมก ช่วง กม. ที่ 36+000 – 36+200 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก) ระดับน้ำสูง 20 เซนติเมตร

6. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
– ทล.32  นครหลวง – อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 165 เซนติเมตร
– ทล.32  นครหลวง – อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ำสูง 95 เซนติเมตร
– ทล.3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 195 เซนติเมตร
– ทล.3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 195 เซนติเมตร
– ทล.3412 บางบาล – ผักไห่ ช่วง กม. ที่ 13+900 – 20+000 เป็นช่วง ๆ ระดับน้ำสูง 80 เซนติเมตร

7. จังหวัดสุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
– ทล.33 สุพรรณบุรี – นาคู ช่วง กม. ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 100 เซนติเมตร
– ทล.340 สาลี – สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 49+673 – 49+750 (สะพานสาลี) ระดับน้ำสูง 35 – 40 เซนติเมตร
– ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 180 เซนติเมตร
– ทล.340 สาลี – สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 71+230 – 71+400 (ช่องทางคู่ขนานซ้ายขวาทาง) ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร
– ทล.3557 ถนนเข้าเมืองสุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 0+700 – 0+726 (ด้านซ้ายทาง) ระดับน้ำสูง 45 เซนติเมตร

8. จังหวัดนครปฐม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล.338 พุทธมณฑลสาย 4 – นครชัยศรี ช่วง กม. ที่ 24+800 – 25+500 ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ

สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1


Written By
More from pp
ข้อเท็จจริงจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จากกรณีที่สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้นำเสนอข่าวประเด็นการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของประเทศไทย มีเกณฑ์เข้มงวดเกินไปสำหรับชาวต่างชาติ
จากประเด็นสำนักพิมพ์บางกอกโพสต์ ได้กล่าวถึงเกณฑ์การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตของประเทศไทยว่ามีเกณฑ์เข้มงวดเกินไปสำหรับชาวต่างชาตินั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
Read More
0 replies on “กรมทางหลวง รายงานสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันที่ 24 ตุลาคม 2564”