1 เมษายน “วันเลิกทาส” ไทย

1 เมษายน พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” และ “พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสิทร์ศก 124”

เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น (ร.3) เมืองไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เนื่องจากพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ต้องตกเป็นทาสต่อไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่ (ทาสในเรือนเบี้ย)
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรลูกทาสลูกไทย” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เป็นทาสอีก
ประเทศไทยมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน ข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิม ได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบอาชีพหลากหลาย
เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ทรงออก “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทยในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทยแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว
ทาส มี 7 ประเภท (ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา)
  1. ทาสสินไถ่ เป็นทาสที่มีมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด โดยเงื่อนไขของการเป็นทาสชนิดนี้ คือ การขายตัวเป็นทาส เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา หรือขายตัวเอง ดังนั้น ทาสชนิดนี้จึงเป็นคนยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวหรือตนเองได้ จึงได้เกิดการขายทาสขึ้น โดยสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปเมื่อมีผู้มาไถ่ถอน และทาสชนิดนี้ที่ปรากฏในวรรณคดีไทยคือนางสายทองซึ่งขายตัวให้กับนางศรีประจันนั่นเอง
  2. ทาสในเรือนเบี้ย ด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาสของนายทาส ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
  3. ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก ทาสที่ตกเป็นมรดกของนายทาส เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนายทาสคนเดิมเสียชีวิตลง และได้มอบมรดกให้แก่นายทาสคนต่อไป
  4. ทาสท่านให้ ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่น
  5. ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ ในกรณีที่บุคคลนั้น เกิดกระทำความผิดและถูกลงโทษเป็นเงินค่าปรับ แต่บุคคลนั้น ไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ หากว่ามีผู้ช่วยเหลือให้สามารถชำระค่าปรับได้แล้ว ถือว่าบุคคลนั้น เป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
  6. ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาสเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากนายทาส
  7. ทาสเชลย ภายหลังจากได้รับการชนะสงคราม ผู้ชนะสงครามจะกวาดต้อนผู้คนของผู้แพ้สงครามไปยังเมืองของตน เพื่อนำผู้คนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
การพ้นจากความเป็นทาส
  1. การหาเงินมาไถ่ถอน
  2. การบวชเป็นสงฆ์โดยได้รับความยินยอมจากนายทาส
  3. ไปสงครามและถูกจับเป็นเชลย หลังจากนั้น สามารถหลบหนีออกมาได้
  4. แต่งงานกับนายทาสหรือลูกหลานของนายทาส
  5. ไปแจ้งทางการว่านายทาสเป็นกบฏ และผลสืบสวนออกมาว่าเป็นจริง
  6. การประกาศไถ่ถอนจากพระมหากษัตริย์ ในช่วงของการเลิกทาส
ปี 2448 ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) วันเลิกทาส ทุกวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของคนไทยอย่างล้นพ้น ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงให้มีการเลิกทาสนับแต่นั้นมา ไทยจึงเป็น ‘ไท’ จนถึงทุกวันนี้
Written By
More from pp
“อนุสรณ์” จี้ กองทัพหยุดทำไอโอ สร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนโดยด่วน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ระบุถึง การที่โซเชียลมีเดียยังคงเผยแพร่ภาพกำลังพลของ ทบ. เข้าอบรมการทำปฏิบัติการข่าวสาร (ไอโอ)...
Read More
0 replies on “1 เมษายน “วันเลิกทาส” ไทย”