ครั้งแรกในไทย ผนึกความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน “Life Engineering 2019” 

ณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีเป็นประธานพิธีเปิดงานประชุมวิศวกรรมชีวภาพ Life Engineering 2019 พร้อมด้วย ศ.ดร.เคอิจิ อิระมินะ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และ รศ.ดร.ยศชนัน วงสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล สองประธานจัดงาน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยเป็นการพบกันระหว่างนักวิชาการไทยและญี่ปุ่นชั้นนำทางด้าน Life Engineering จำนวนกว่า 200 คนที่กรุงเทพฯ ณ โรงแรมเอเชีย

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานประชุมวิศวกรรมชีวภาพ Life Engineering 2019  เกิดขึ้นได้ด้วยคว่ามร่วมมือของ The Society of Instrument and Control Engineers (SICE) ประเทศญี่ปุ่น และ สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศแห่งประเทศไทย (ECTI) สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายและส่งเสริมพลวัตรในความร่วมมือระหว่างประเทศไทย – ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนงานวิจัยองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมชีวภาพ หรือ ชีวการแพทย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่มีบทบาทต่อการสร้างนวัตกรรมลิ่งประดิษฐ์เพื่อชีวิตและสุขภาพในยุคดิสรัพชั่น ที่สอดคล้องกับเทรนด์ของโลกอนาคต

ภายในงาน Life Engineering 2019  นำเสนอสาระความเปลี่ยนแปลงในความก้าวหน้าและความท้าทาย 4 เรื่องสำคัญ คือ

1. การมุ่งสู่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์: ยุคใหม่แห่งการรักษาพยาบาล 

2. หุ่นยนต์ผ่าตัดสมองผ่านกล้องเอนโดสโคป 

3. มุมมองในองค์ความรู้วิทยาศาสตร์วิศวกรรมชีวภาพ-ชีวการแพทย์  

4. โอกาสของการลงทุนวิจัยในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

 รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ประธานจัดงาน และรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและญี่ปุ่นได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิศวกรรมชีวภาพ หรือชีวการแพทย์ เช่น ความท้าทายการประเมินทักษะการเลื่อยโดยใช้อัตราเร่งเซ็นเซอร์สามแกน , การพัฒนาระบบการวัดแบบ มิติแบบไม่ต้องใช้มือช่วยให้ความผิดปกติของสมองสูงขึ้นและสภาพแวดล้อมการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับถุงมือควบคุมแบบนิวเมติก , ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบสัญญาณการพยากรณ์ความร้อนในการออกกำลังกายเกินพิกัด เป็นต้น รวมถึงการบรรยายหัวข้อต่างๆจากนักศึกษาที่ได้รับรางวัล อาทิ กิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันในการทำความเข้าใจที่เข้าใจง่ายในงานคณิตศาสตร์ , การตรวจสอบ EEG-DMN โดยใช้ค่าการล๊อคเฟสการเปิดใช้งานใน Cortex Somatosensory ในระหว่างกระบวนการรับรู้วัตถุข้อเสนอดัชนีสุขภาพพร้อมระบบประสาทอัตโนมัติโดยใช้ภาพวีดีโอ RGB เป็นต้น

สีสันของงานวิจัยและข้อคิดเห็นสร้างพลังความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจยิ่งในวิทยาการต่างๆ เช่น อุปกรณ์เสริมสั่งงานด้วยระบบประสาทข้อมูลแบบบูรณาการในเครือข่ายประสาทการเปรียบเทียบข้อมูล NIRS โดยใช้ฟอร์มที่เป็นมาตรฐานความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ทำคะแนนในการให้คะแนนแบบแมนนวลของช่วงระยะหลับ EEG แบบช่องเดี่ยวการวัดการหายใจและการเต้นของหัวใจโดยใช้ขั้วไฟฟ้าด้วยระบบไดรฟ์เรโซแนนท์การพัฒนาเครื่องวัดไร้สายชนิดหลายช่องสัญญาณแบบสวมใส่ได้หุ่นยนต์ทางไกลสำหรับการวินิจฉัยจากระยะไกล เป็นต้น

ในวันสุดท้ายของงาน Life Engineering 2019  เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจและความก้าวล้ำของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก  เช่น การปลูกกระดูกโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติหุ่นยนต์ช่วยพยุงคนสูงวัยการพัฒนาระบบฟื้นฟูแขนขาบนพื้นฐานของการฝึกผสมกันของมอเตอร์และความรู้ความเข้าใจแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และกล้ามเนื้อโครงร่างการออกแบบต้นแบบหุ่นยนต์สำหรับใช้ในโรงพยาบาลกิจกรรม EEG ในระหว่างการเล่นเกมออกแบบดูเพื่อการตอบสนองทางประสาทระบบคำสะกดภาษาไทยในภาษาสมองระบบจัดอันดับอารมณ์ตาม Brain Computer Interface (BCI) สำหรับระบบประสาท, ผลกระทบของเสียงความถี่คงที่ต่อการมองเห็น เป็นต้น 

ผลสำเร็จของงานเป็นจุดเริ่มต้นมิตรภาพและพลังสร้างสรรค์ที่จะงอกงามต่อไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและมนุษยชาติ

Written By
More from pp
บุฟเฟ่ต์มื้อกลางวันอาหารจีนมื้อมงคลต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ณ ห้องอาหารแทพเพสทรี โรงแรมคลาสสิค คามิโอ อยุธยา
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. – 14.00 น. ห้องอาหารแทพเพสทรี โรงแรมคลาสสิค...
Read More
0 replies on “ครั้งแรกในไทย ผนึกความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน “Life Engineering 2019” ”