ทรูมันนี่ เผยกลโกงออนไลน์ยุค New Normal ที่ทุกคนพึงระวัง พร้อมแนะสร้างเกราะป้องกันอยู่ให้รอดแบบ “ห่าง-ปิด-ติด-จ่าย”

ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากภัยการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนจำนวนมากต่างได้รับผลกระทบทั้งตกงาน รายได้ลด และสิ่งที่ตามมาซ้ำเติมในยามลำบากนี้ก็คือ “ภัยการหลอกลวง” ของเหล่ามิจฉาชีพที่แฝงตัวมาหากินกับการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียมาหลอกลวงผู้อื่นแบบไม่เกรงกลัวกฏหมาย

ข้อมูลของ AppsFlyer เผยการหลอกลวงออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) นั้นมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงร้อยละ 60 และที่น่าตกใจคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ถูกโจมตีมากที่สุดโดยเฉพาะในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม

นอกจากนี้ ผลสำรวจระดับโลกจาก Next Caller ผู้พัฒนาโซลูชั่นและเทคโนโลยีการตรวจจับการฉ้อโกงทางโทรศัพท์แบบเรียลไทม์ เผยว่า 37% ของชาวอเมริกันเชื่อว่าพวกเขากำลังตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงในเรื่องเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า และอีก 44% บอกว่าพวกเขารู้สึกว่าเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นเมื่อทำงานจากบ้าน (WFH) ในขณะที่ประเทศไทยทุกวันนี้ ดูเหมือนว่ายิ่งเราเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเราบนโลกออนไลน์มากเท่าไร ยิ่งเป็นการเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดีมาฉวยโอกาสจากเรามากขึ้น

ดังจะเห็นได้จากข่าวการหลอกลวงออนไลน์มากมาย ตั้งแต่การหลอกสั่งซื้อของออนไลน์ หลอกลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ หลอกชวนทำบุญบริจาค หลอกให้เงินกู้ หรือแม้กระทั่งสวมรอยเป็นคนรู้จักเพื่อหลอกขอยืมเงินที่พบกันประจำ เพราะมิจฉาชีพก็ปรับรูปแบบไปกับยุค New Normal ด้วยเหมือนกัน โดยสอดส่องพฤติกรรมของผู้คนและพัฒนาทักษะการหลอกลวงให้เข้ากับยุคสมัย หวังล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวและจ้องฉกเงินจากกระเป๋าสตางค์หากเราไม่ทันระวังตัวด้วยกลโกงต่าง ๆ

โดย ทรูมันนี่ มีความห่วงใยและได้รวบรวมกลโกงในยุค New Normal  มาเตือนภัยผู้ใช้เทคโนโลยีให้ระมัดระวังภัยออนไลน์ในยุค New Normal ที่ต้องเพิ่มความระวัง ดังนี้


1.เสนองานออนไลน์ (Job Offer Scam)

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.ท.อ.) เผยภาพรวมมีลูกจ้างในระบบได้รับผลกระทบจากพิษโควิดแล้วกว่า 3.3 ล้านราย หลายคนต้องมองหางานหรืออาชีพเสริมนอกเหนือจากรายได้ประจำ กลายเป็นโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีคิดกลโกงล่อลวงผู้ที่อาจจะกำลังตกงานหรือมองหางานเพิ่มเติมด้วยการเสนองานออนไลน์ที่ไม่มีจริง ล่อลวงด้วยการเสนอค่าตอบแทนจำนวนมากเกินปกติ หรือบางคนโดนหลอกให้ทำงานจนสำเร็จแล้วแต่กลับเจอการจ่ายเงินด้วยเช็คเด้ง กลโกงนี้อาจเริ่มต้นจากการส่งอีเมลมาเสนองานที่ไม่ตรงกับสายงานเรา หรืออาจจะเป็นโพสต์ชวนมาทำงานบนโซเชียลมีเดีย โดยใช้บุคคลที่มีบุคลิกภาพดีมาโฆษณาชวนเชื่อ (บางกรณีอาจแอบอ้าง)

2.ลวงบริจาค (Charity  Fraud Scam)

ด้วยวิถีการใช้จ่ายเงินที่เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบดิจิทัล ดังนั้นการจะไปทำบุญหรือบริจาคเงินวันนี้ทำได้ง่ายเพียงเข้าแอปฯ และโอน มิจฉาชีพพวกนี้อาศัยความใจอ่อน ขี้สงสาร และเห็นอกเห็นใจของคนไทยมาสร้างกลโกงเพื่อหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง บางรายอาจสร้างข่าวดราม่าที่ไม่จริงและชวนบริจาค บางรายอาจสวมรอยเป็นหนึ่งในทีมงานของมูลนิธิหรือตัวแทนรับบริจาคในโครงการที่กำลังอยู่ในกระแส ดังนั้นเราควรเช็คข้อมูลต่าง ๆ ให้ดีและตั้งสติก่อนโอน เพื่อให้เงินที่เราตั้งใจทำบุญไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ


3.สวมรอยเป็นตัวแทนหรือผู้เชี่ยวชาญไอที (Repair Scams)

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ไอทีมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เมื่อบางออฟฟิศยังเปิดโอกาสให้พนักงานทำงานกันแบบ Hybrid คือ สลับกันเข้ามาที่ออฟฟิศเพื่อเว้นระยะห่าง และลดความแออัดในสถานที่ทำงาน เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพสวมรอยเป็นผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทไอทีดัง ๆ มาหาเราตอน WFH เพื่อขอ Remote ตั้งค่าเครื่องต่าง ๆ ก็เป็นได้ ซึ่งอาจมาในรูปแบบ email phishing หรือ call ตรงหาเหยื่อก็มี

4.ลวงเล่นพนันออนไลน์ (Fraud In Online Gambling)

ข้อมูลจากเครือข่ายเยาวชนเผยช่วงโควิด-19 พบจำนวนเว็บพนันออนไลน์เพิ่มขึ้นเกือบ เท่าตัว และพบเห็นแบนเนอร์โฆษณาชวนเล่นพนันหรือเสี่ยงโชคออนไลน์จำนวนมาก อาทิ “เล่นเกมแล้วได้เงิน” หรือ “กักตัวไม่กลัวจน” แน่นอนว่าข้อความชวนเล่นพนันออนไลน์เหล่านี้คือจุดเริ่มต้นไปสู่หายนะในชีวิต เพราะจากสถิติบอกว่าผลการเล่นพนันส่วนใหญ่ คือ กว่า 82% เสียมากกว่าได้ นอกจากนั้นเว็บเหล่านี้จะมีการซ่อนเทคนิคกลโกงต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้ผู้เล่นตายใจคิดว่าโชคเข้าข้าง เมื่อถอนตัวไม่ทันก็จะต้องสูญเสียเงินก้อนโตไปในที่สุด และมิจฉาชีพพวกนี้ไม่เพียงแต่ได้เงินคุณไป แต่บางเว็บยังมีการขอข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชนเพื่อใช้สมัครเล่น เป็นต้น เมื่อข้อมูลเหล่านี้ตกไปอยู่ในแวดวงการพนัน คุณก็จะได้รับข้อความเชิญชวนอยู่ตลอดเวลาผ่านทาง SMS ดังนั้นคิดให้ดีก่อนคลิกไปต่อกับข้อความชวนเล่นพนันออนไลน์เหล่านี้

เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้แก่ผู้ใช้ e-Wallet ในยุค New Normal ทรูมันนี่ขอเสนอแนวทางอยู่ให้รอดแบบ “ห่าง ปิด ติด จ่าย” ป้องกันง่าย ๆ ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ดังนี้


  • ห่าง – ห่างให้ไกลจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้ใจ ตลอดจนโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริง อย่าเชื่อใจคนง่าย โดยเฉพาะคนที่เพิ่งรู้จักกันผ่านออนไลน์ ควรวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับให้ดีก่อนคลิกไปต่อ
  • ปิด – ปิดกั้นข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ อย่าให้ใครรู้ได้เป็นดี โดยเฉพาะรหัส OTP บัตรประชาชน บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต/เดบิต หากไม่มั่นใจให้เช็คกับธนาคารหรือผู้ให้บริการโดยตรงก่อนเสมอ
  • ติด – ติดตั้งแอปฯ พวกแอนตี้ไวรัส ศึกษาการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว และหมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดจากผู้ให้บริการโดยตรงเพื่อเสริมระบบความปลอดภัยให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ และตั้งคำถามหรือข้อสงสัยไว้ก่อนว่าคนที่แชทหรือโทรมาหาคุณนั้นเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม
  • จ่าย – จ่ายเงินแต่ละทีต้อง “ตั้งสติให้ดี” ตรวจสอบให้ถี่ถ้วน ทั้งชื่อผู้โอน จำนวนเงิน บัญชีดูน่าสงสัยหรือไม่ เช็คทุกครั้งที่ได้รับการแจ้งเตือน หรือตรวจเช็คกับเจ้าหน้าที่ผ่าน Call Center นอกจากนี้ ยังควรศึกษาการใช้งานฟีเจอร์ความปลอดภัยของแอปฯ e-Wallet ยุค New Normal เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์การยืนยันตัวตนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้ระบบการยืนยันความถูกต้องในการทำธุรกรรม ทั้ง PIN 6 หลักและ OTP, Real-time notification ให้ผู้ใช้เช็คประวัติการใช้ได้ตลอดเวลาระบบความปลอดภัยสำหรับผูกบัญชีกับบัตรเครดิต/เดบิตต่าง ๆ อาทิ verified by VISA, MasterCard SecureCode และ J Secured จาก JCB และมี Customer Care ดูแลช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Live Chat และ Call Center เป็นต้น

ทรูมันนี่ มีความห่วงใยในความปลอดภัยของผู้ใช้บริการทุกท่าน กรณีพบพิรุธหรือความผิดปกติเกี่ยวกับบัญชีของคุณ สามารถติดต่อ TrueMoney Customer Care เบอร์ 1240 หรือ Call Center ธนาคารเจ้าของบัญชีท่านได้ตลอด 24 ชม. หรืออ่านเงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมที่ https://www.truemoney.com/terms-conditions/


Written By
More from pp
ให้หม้อข้าวทันดำ?-สันต์ สะตอแมน
สันต์ สะตอแมน “ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี!!…… พยายามเข้าใจนะว่าผมอาจจะมาจากดาวดวงอื่น แต่ดันมีชีวิตมาจนถึงต้องอยู่อาศัยบนดาวดวงนี้ พยายามเข้าใจมาตลอด แต่หลายสิ่งที่รับไม่ได้จริงๆ แล้วไม่ตลกด้วย คือ
Read More
0 replies on “ทรูมันนี่ เผยกลโกงออนไลน์ยุค New Normal ที่ทุกคนพึงระวัง พร้อมแนะสร้างเกราะป้องกันอยู่ให้รอดแบบ “ห่าง-ปิด-ติด-จ่าย””