ถนอมสายตาอย่างไร ในยุคดิจิตอล

Asian woman got headache from working on notebook all day long, Computer Vision Syndrome

ปัจจุบันเรามักจะจ้องมองอุปกรณ์อิเล็กทรนิกส์มากกว่าการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการจ้องจอสมาร์ทโฟน จอคอมพิวเตอร์ จอแล็ปท็อป หรือจอทีวี สิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อดวงตาของเราได้เพราะแสงสีฟ้าที่ส่งออกมาจากจอ ทำให้ดวงตาแห้ง ตาล้า และส่งผลต่อการนอนหลับได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากหากเราจะหลีกเลี่ยง ในการไม่จ้องมองแสงสีฟ้า เนื่องจากปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอลซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำงานผ่านอุปกรณ์   อิเล็กทรนิกส์ โดยเฉพาะช่วงเวลาการกักตัวทำงานที่บ้าน (Work from home) ดังนั้นเราควรที่จะดูแลสายตาโดยการ..

  • กะพริบตาบ่อยๆ ควรกะพริบตาให้ได้ 1- 2 ครั้งต่อ 10 วินาที เพื่อให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ เสมอ เป็นการช่วยลดภาวะตาแห้งที่เกิดจากการใช้จอนานๆ ได้
  • หลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้าจอ 1 – 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • ลดความสว่างหน้าจอ คือ การปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา ไม่เปิดแสงจ้าจนเกินไป โดยเฉพาะการปรับหน้าจอมือถือ จอแท็บเล็ต ให้อยู่ในโหมดกลางคืน (Night หรือ Dark Mode) สำหรับการใช้งานในช่วงเย็น
  • ทำตามกฎ “20 – 20 -20” พักสายตาทุกๆ 20 นาที โดยการมองออกไปในระยะที่ไกลๆ อย่างน้อย 20 ฟุต ซึ่งมองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 20 วินาที สามารถช่วยคลายความ เมื่อยล้าจากการใช้สายตาได้
  • ควรตรวจสุขภาพตา ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติอื่นๆ ทางด้านสายตา เป็นการป้องกันการสูญเสียสายตา
  • รับประทานผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักเคล ผักคะน้า บร็อคโคลี่ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ  ลูทีน และ ซีแทนซิน ซึ่งมีความสำคัญต่อจอประสาทตาของเรา
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ช่วยบำรุงสายตามีวิตามินซีสูง สามารถช่วยชะลอเรื่องจอประสาทตาเสื่อมได้

นพ.ศุภฤกษ์ ทิพาพงศ์

จักษุแพทย์เฉพาะทางจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา

ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลหัวเฉียว

Written By
More from pp
มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ฯ เปิดเวทีเสวนาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ทิศทางไปต่อของโนรา หลังขึ้นทะเบียนยูเนสโก
มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ฯ โดยหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ด้วยกิจกรรมการเสวนาและสาธิต “โนรา มรดกภูมิปัญญาไทย...
Read More
0 replies on “ถนอมสายตาอย่างไร ในยุคดิจิตอล”