AOC 1441 เตือนภัย “โจรออนไลน์” หลอกให้รัก ก่อนเชิดเงินหนีกว่า 6 ล้านบาท

นางสาววงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ AOC 1441 (Anti Online Scam Operation Center) ได้มีรายงานเคสตัวอย่างอาชญากรรมออนไลน์ที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการถูกหลอกลวง จำนวน 5 เคส ประกอบด้วย

คดีที่ 1 หลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน มูลค่าความเสียหาย 5,740,000 บาท ผู้เสียหายได้รู้จักกับมิจฉาชีพผ่านช่องทาง Facebook ได้พูดคุยกันผ่านทาง Messenger Facebook จนสนิทใจ แต่ไม่เคยพบเจอกัน อ้างตนว่ารับราชการเป็นทหารอยู่ที่ต่างประเทศ ถ้าเกษียณอายุราชการแล้วจะมาหาผู้เสียหายและใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ประเทศไทย ต่อมาภายหลัง ขอความช่วยเหลือให้โอนเงินเป็นค่าเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ตนหลงเชื่อจึงโอนเงินไปช่วยเหลือ จากนั้นอีกไม่นานมีการขอให้ช่วยเหลือค่าธรรมเนียม ตรวจคนเข้าเมืองที่ต่างประเทศเพิ่ม แต่ตนไม่มีเงินจะโอนไปช่วยเหลือแล้ว จึงแจ้งกลับไป หลังจากนั้นไม่สามารถติดต่อได้อีก ผู้เสียหายเชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพหลอก

คดีที่ 2 หลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบโทรศัพท์ ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์ มูลค่าความเสียหาย 137,755 บาท โดยผู้เสียหายได้รับการติดต่อกับมิจฉาชีพผ่านช่องทางโทรศัพท์ อ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สำนักงานใหญ่ แจ้งว่าจะเวนคืนที่ดินให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ มิจฉาชีพให้เพิ่มเพื่อนทาง Line แล้วให้ทำตามที่เจ้าหน้าที่บอกตามขั้นตอน ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของกรมที่ดินและ ให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เข้าแอปพลิเคชันธนาคารของผู้เสียหาย ต่อมาภายหลังเช็ค ยอดเงินในบัญชีของตนพบว่า มีการโอนออกไป จึงติดต่อกลับไปแต่ไม่สามารถติดต่อได้อีก ตนจึงเชื่อว่าถูกมิจฉาชีพหลอก

คดีที่ 3 หลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบโทรศัพท์ ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์ มูลค่าความเสียหาย 102,885 บาท ทั้งนี้ผู้เสียหายได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางการโทรศัพท์ อ้างตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะทำการโอนเงินคืนค่าติดตั้งอุปกรณ์มิเตอร์ไฟฟ้าให้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ผู้เสียหายหลงเชื่อได้เพิ่มเพื่อนทาง Line จากนั้นทำตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่ บอกทุกขั้นตอน ต่อมาภายหลังผู้เสียหายเช็คยอดเงินในบัญชีของตนพบว่า ได้ถูกโอนออกไป ตนจะติดต่อกลับไปหาเจ้าหน้าที่ แต่ไม่สามารถติดต่อได้อีก จึงเชื่อว่าตนเองถูกมิจฉาชีพ หลอกลวง

คดีที่ 4 หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ ที่ไม่มีลักษณะเป็นขบวนการ มูลค่าความเสียหาย 53,000 บาท ผู้เสียหายพบโฆษณากระเป๋าแบรนด์เนม อ้างว่าเป็นสินค้านำเข้า ผ่านช่องทาง Instagram เกิดความสนใจจึงทักไปสอบถามรายละเอียดทาง Chat Instagram และได้ตกลงซื้อขายสินค้า โดยโอนเงินชำระค่าสินค้าและค่าขนส่งเป็นที่เรียบร้อย จากนั้นผู้เสียหายต้องการทักไปสอบถามข้อมูลเลขพัสดุเพิ่มเติม แต่ไม่สามารถติดต่อได้อีก ตนเชื่อว่าถูกมิจฉาชีพหลอก

และคดีที่ 5 ดีหลอกลวงเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน มูลค่าความเสียหาย 4,699 บาท โดยผู้เสียหายได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพผ่านช่องทาง Messenger Facebook โดยใช้รูปโปรไฟล์น้องสาวของผู้เสียหายทักข้อความมายืมเงิน เพื่อชำระค่าสินค้าเพราะจำนวนเงินไม่พอ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงโอนเงินไป ต่อมาผู้เสียหายได้เข้าไปส่องดู Facebook น้องสาว จึงเห็นข้อความที่น้องสาวโพสต์ลง Facebook ว่าถูกมิจฉาชีพใช้แอบอ้างทักไปยืมเงิน ให้ระวังด้วย ตนจึงทราบว่าถูกมิจฉาชีพหลอก

สำหรับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้ง 5 คดี รวม 6,038,339 บาท

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของ ศูนย์ AOC 1441 ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง วันที่ 30 สิงหาคม 2567 มีตัวเลขสถิติผลการดำเนินงานดังนี้

1. สายโทรเข้า 1441 จำนวน 982,937 สาย / เฉลี่ยต่อวัน 3,233 สาย

2. ระงับบัญชีธนาคาร จำนวน 290,017 บัญชี / เฉลี่ยต่อวัน 1,107 บัญชี

3. ระงับบัญชีตามประเภทคดีสูงสุด 5 ประเภท ได้แก่ (1) หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 86,256 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 29.75 (2) หลอกลวงหารายได้พิเศษ 70,597 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 24.34 (3) หลอกลวงลงทุน 47,759 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 16.47 (4) หลอกลวงให้กู้เงิน 22,256 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 7.67 (5) หลอกลวงให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล 22,160 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 7.64 (และคดีอื่นๆ 40,989 บัญชี คิดเป็นร้อยละ 14.13)

“จากเคสตัวอย่าง มิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกลวงผู้เสียหาย ด้วยการหลอกให้รัก หรือ Romance Scam อ้างรับราชการทหารอยู่ต่างประเทศ และจะกลับมาใช้ชีวิตด้วยกัน โดยให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นค่าเกษียณก่อนกำหนด โดยใช้วิธีติดต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย คือ Facebook ทั้งนี้ขอย้ำว่า กรณีที่ไม่เคยรู้จักพบเห็นหน้ากันมาก่อน ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจน และไม่หลงเชื่อ หลงกล เมื่อฝ่ายตรงข้ามให้ทำการโอนเงินให้ โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ขณะเดียวกันยังมีเคสที่แอบอ้างหน่วยงานรัฐ ให้กดลิงก์ยืนยัน โดยขอให้ยึดหลัก 4 ไม่ คือ 1. ไม่กดลิงก์ 2.ไม่เชื่อ 3.ไม่รีบ และ 4.ไม่โอน ก่อนที่จะทำธุรกรรมใดๆ และควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามรายละเอียดให้แน่ชัด หรือติดต่อผ่านทางสายด่วน AOC 1441 เพื่อยืนยันตรวจสอบข้อเท็จจริง” นางสาววงศ์อะเคื้อ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนระมัดระวัง อย่ากดเข้าลิงก์เว็บไซต์ หรือดาวน์โหลด และอัปโหลดแพลตฟอร์ม ที่มีการส่งต่อจากช่องทางที่ไม่แน่ใจ โดยกระทรวง ดีอี ได้เร่งดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยอาชญากรรมออนไลน์ ผ่านศูนย์ AOC 1441 เพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

หากประชาชนโดนหลอกออนไลน์ โทรแจ้งดำเนินการ ระงับ อายัดบัญชี AOC 1441

แจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.) | Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

Line Open Chat *เพิ่มช่องทางการรับข่าวสาร จากเว็บไซต์ *อ่านคอลัมน์ เปลว สีเงิน ก่อนใคร *ส่งตรงถึงมือทุกคืน *เปิดกว้างเพื่อแฟนคอลัมน์พูดคุยแบบกันเอง ทุกเรื่องราว ข่าวสารบ้านเมือง สังคม ฯลฯ
Written By
More from pp
“วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย” รับมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากแอลกอฮอล์ จาก “ไทยเบฟ”
วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย โดย นายสัมฤทธิ์ ศิริธัมย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย รับมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากแอลกอฮอล์ จาก นายสมชาย เขียวสูงเนิน ผู้แทน...
Read More
0 replies on “AOC 1441 เตือนภัย “โจรออนไลน์” หลอกให้รัก ก่อนเชิดเงินหนีกว่า 6 ล้านบาท”