กรรมการไตรภาคี ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง สวน ‘เศรษฐา’ แนะรัฐบาลแก้ปัญหาของแพงดีกว่า

11 ธันวาคม 2566 นายอรรถยุทธ ลียะวณิช คณะกรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ระบุว่า ในเมื่อคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบไปด้วยฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ มีมติเป็นเอกฉันท์ ตกลงกันไปแล้วว่า ภาพรวมทั่วประเทศ ได้ขึ้นค่าจ้างอีก 2-16 บาท ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ที่จะใช้ในปี 2567 จะอยู่ที่วันละ 330- 370 บาท แตกต่างกันเป็นรายพื้นที่เศรษฐกิจ โดยภาพรวมทั่วประเทศ ได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2.37% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กันยายน 2566 อยู่ที่ 2.04%

ขณะที่ นายวีรสุข แก้วบุญปัน คณะกรรมการค่าจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ระบุว่า ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ถึงแม้ลูกจ้าง จะไม่พอใจ ต่อให้ได้ขึ้นไปถึงวันละ 400 บาท ก็ยังไม่พอกิน พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ที่ตกลงกันได้ในอัตรา 330-370 บาท เป็นจุดสมดุลเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่นายจ้างจ่ายไหว ไม่เดือดร้อนกับการประกอบกิจการ ขณะที่ อัตราใหม่ ถึงจะได้ขึ้นน้อย แต่ลูกจ้างก็พออยู่ได้ จึงไม่ได้เรียกร้องค่าจ้างที่สูงเกินไป และประเด็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะการจ้างงานให้คงอยู่ ให้แรงงานมีงานทำ มีรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด พร้อมเสนอให้ภาครัฐ ควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาข้าวของแพง แก้ไขปัญหาปากท้องให้เป็นรูปธรรม.

Written By
More from pp
มูลนิธิสัมมาชีพ (มสช.) จัดงานครบรอบ 10 ปีสุดยิ่งใหญ่ เชิดชู ต้นแบบสัมมาชีพ เดินหน้าเสริมสร้างสังคมและชุมชนที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “สัมมาชีพเต็มพื้นที่” เชื่อมคน เชื่อมชุมชน เชื่อมสังคม เชื่อมรัฐ
ครบรอบ 10 ปี มูลนิธิสัมมาชีพ ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2552 “ศ.นพ.ประเวศ วะสี” ผู้นำด้านประชาสังคม และ “ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายสมัยได้เล็งเห็นปัญหาความขัดแย้งสังคมไทยอยู่ในภาวะหลุมดำไร้ทางออกจึงได้ระดมความคิดจากบุคคลทุกฝ่ายทุกอาชีพร่วมกันหาทางออกให้กับสังคม ในที่สุดจึงเห็นร่วมกันจัดตั้ง “มูลนิธิสัมมาชีพ” ขึ้นมา โดยยึดหลัก “สัมมาชีพเต็มพื้นที่” หมายถึง...
Read More
0 replies on “กรรมการไตรภาคี ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง สวน ‘เศรษฐา’ แนะรัฐบาลแก้ปัญหาของแพงดีกว่า”