ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท

ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท

ไวรัสโควิด-19 (โคโรน่า) ทำราคาหน้ากากอนามัยแพงขึ้นต่อเนื่อง ความต้องการโตขึ้นจากเดิม 690% ยันออนไลน์มีของขายไม่ขาดตลาด

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังไม่ทันหาย ไวรัสโควิด-19 หรือไวรัสโคโรน่าที่ทำคนตายไปแล้วกว่า 1,000 คน ก็มาแพร่ระบาดซ้ำเติม ซึ่ง หน้ากากอนามัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดต่อจากคนสู่คนที่เห็นผลมากที่สุด กลายเป็นสินค้าที่คนต้องการมากในตอนนี้ จนมีไม่พอขาย และมีราคาที่สูงขึ้น

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณทำให้ราคาแพงขึ้น

ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนคงพอจะทราบถึงสถานการณ์ความลำบากในการหาซื้อกันดีอยู่แล้ว ไปร้านไหนก็หมด แม้แต่ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดในประเทศยังก็ไม่มีขาย แต่เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนเรามีข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจที่จะมาแชร์ให้ดู

ตามข้อมูลปริมาณการค้นหาราคาหน้ากากอนามัยบนเว็บไซต์ Priceza.com ระหว่างวันที่ มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พบว่าปริมาณความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังที่แสดงในกราฟด้านล่าง

จากข้อมูลข้างต้น บ่งบอกถึงปริมาณการค้นหารวมในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นถึง 690% เมื่อเทียบระหว่างปี 2562 และ ปี 2563 สะท้อนปริมาณความต้องการมหาศาลของตลาดได้เป็นอย่างดี

ซึ่งสวนทางกับปริมาณสินค้าที่มีไม่พอขายในตลาด แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะขอความร่วมมือจาก 10 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยที่ใหญ่ที่สุดในไทย ให้เร่งผลิตใช้ภายในประเทศอย่างเต็มกำลัง บางแห่งผลิตติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง รวมแล้วกว่า 100 ล้านชิ้น แต่ดูเหมือนว่ามันก็ยังไม่เพียงพอที่จะให้ร้านค้าปลีกซื้อมาขายให้ผู้บริโภคได้

ราคาหน้ากากอนามัยพุ่ง 10 เท่า

จากการสำรวจราคาล่าสุด จากร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้าพร้อมขายบน Priceza.com ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า

  • ราคาหน้ากากอนามัยต่อกล่องบรรจุขนาด 50 ชิ้น สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 10 เท่า
  • มีราคาขายปลีกเป็นรายชิ้นต่ำสุดชิ้นละ บาท
  • ราคาสูงสุดชิ้นละ 15 บาท

ตัวอย่าง ราคาหน้ากากอนามัย Dura แบบ ชั้น กล่องบรรจุ 50 ชิ้น จากร้านค้าออนไลน์บนไพรซ์ซ่าดอทคอม จากประวัติราคาสินค้าที่เก็บมาในปี 2562 จะอยู่ที่ 45 – 60 บาทต่อกล่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับราคา ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ราคาในตอนนี้พุ่งไปสูงสุดถึงกล่องละ 120 – 650 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่ากันเลยทีเดียว

โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาเพิ่มไปได้ขนาดนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงาน ที่หมายรวมต้นทุนทั้งเรื่องทรัพยากรและแรงงานที่สูงขึ้น เลยส่งผลให้จำเป็นต้องขายราคาที่สูงขึ้นตามไปเพื่อรักษาสมดุลของกำไร

ค้าปลีกไม่มีของขาย ร้านออนไลน์สต็อคเต็ม

หนึ่งสิ่งที่แปลกมากคือ ในขณะที่ร้านค้าปลีก ร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ แทบจะหาสินค้ามาขายไม่ได้ แต่บรรดา ร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นร้านบน Shopee Lazada หรือว่าร้านค้าบนโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก กลับมีสต็อคสินค้าพร้อมขายเป็นจำนวนมาก และขายในราคาที่สูงมากด้วยเช่นกัน เลยเกิดเป็นสมมุติฐานว่า น่าจะมีการกักตุนสินค้าเกิดขึ้น

ผู้เขียนเลยได้ลองไปสำรวจตาม กลุ่มซื้อ-ขายหน้ากากอนามัยบนเฟซบุ๊ก และในทวิตเตอร์ ย้อนไปดูตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมในช่วงไวรัสเริ่มระบาด พบว่าราคาที่ถูกโพสต์ขายสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และเริ่มมีการรับซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยในหลักหมื่น หลักแสน ไปกระทั่งจนถึงหลักล้านชิ้น ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม เป็นต้นมา

สอดคล้องกับกราฟที่แสดงปริมาณการค้นหาของไพรซ์ซ่า ที่ปริมาณเริ่มทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลานั้นพอดี ผนวกกับการที่ผู้เขียนได้อ่านบทความจาก ผู้จัดการออนไลน์ เกี่ยวกับการเผยกระบวนการปั่นราคาหน้ากากอนามัย ยิ่งสนับสนุนให้สมมุติฐานที่คิดไว้ว่าน่าจะมีการกักตุนสินค้า และปั่นราคาชัดเจนยิ่งขึ้น

แล้วผู้ซื้ออย่างเราควรทำอย่างไร ไปซื้อที่ไหนได้บ้าง

สำหรับคนที่ไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อแถวบ้านได้ แล้วคาดหวังจะไปที่โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ขอให้หยุดความคิดนั้นได้เลย เพราะจากการสอบถามโรงงานที่ผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศ ส่วนใหญ่เค้าจะมีสัญญาซื้อกับบริษัทรับซื้ออยู่แล้ว และไม่มีนโนบายขายปลีกให้หน้าโรงงาน

ในเบื้องต้นหากหน้ากากอนามัยไม่มีขาย เราสามารถใช้ หน้ากากผ้า เพื่อป้องกันโรคในเบื้องต้นได้ แม้ประสิทธิภาพการกันไวรัสจะน้อยกว่าแบบปกติ แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรมาใช้เลย อีกทั้งข้อดีของหน้ากากผ้ายังสามารถซักล้างเอากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย แต่! ต้องซักให้สะอาด หรือแช่น้ำยาฆ่าเชื้อด้วยนะ

เพราะตามธรรมชาติไวรัสชนิดนี้จะติดต่อจากละอองฝอยจากการจามหรือไอ พูดง่าย ๆ ว่าถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสการไอการจามได้ เราก็จะไม่ติดโรค

แต่สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ เช่น จำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง จำเป็นที่ต้องอยู่ใกล้คนที่เสี่ยง คงต้องจำใจถูกมัดมือชกซื้อจากร้านออนไลน์ที่ตอนนี้มีสต็อคอยู่เยอะมากในราคาสูงอยู่ดี

นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว ยังมี เจลล้างมือ สินค้าที่กำลังประสบปัญหาความต้องการสูง และราคาพุ่ง เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ เจลล้างมือแบบพกพา ที่แทบจะขาดตลาด ณ ตอนนี้ ก็มียอดค้นหาเพิ่มขึ้นมากขึ้นถึง 6,110% และมีราคาสูงขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงสุดถึง เท่า

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าจะจบลงเมื่อไหร่ แต่ในตอนนี้ผู้บริโภคเรายังคงต้องแบกรับภาระด้านราคาหน้ากากอนามัย หรือเจลล้างมือ ที่สูงมาก ไปอีกสักพักใหญ่ ๆ ทั้งนี้การหาสินค้าทดแทน อาทิ หน้ากากผ้า หรือเจลล้างมือแอลกอฮอลล์ทำเองมาใช้ ก็พอจะช่วยลดรายจ่ายในส่วนนี้ลงได้บ้าง

Written By
More from pp
CRC รุ่ง รับต้นปี ปิดดีล COL คิกออฟโปรเจ็กต์แรก คอนเซ็ปต์สโตร์รูปแบบใหม่ “บีทูเอส ธิงค์สเปซ” ที่เซ็นทรัล ชิดลม
บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (CRC) ปิดดีลในการซื้อกิจการกับ บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน)...
Read More
0 replies on “ผู้บริโภคอ่วม ราคาหน้ากากอนามัยออนไลน์พุ่ง 10 เท่า แพงสุดชิ้นละ 15 บาท”