รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2566 เปิดวิสัยทัศน์สู่ยุค Low Carbon ททท. ยกระดับเติบโตอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เชิญชวนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

ททท. เปิดตัวโครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 14 เพิ่มประเภทรางวัล Low Carbon & Sustainability มุ่งสู่เป้าหมาย การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำพร้อมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน (High Value and Sustainability)
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Thailand Tourism Awards นับเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่ง ททท. จัดประกวดอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปี และในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 14 โดยเปิดรับสมัครทั้งหมด 5 ประเภท คือ

1.แหล่งท่องเที่ยว (Attraction) 2.ที่พักนักท่องเที่ยว (Accommodation) 3.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Tourism) 4.รายการนำเที่ยว (Tour Programmes) และ 5.การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน (Low Carbon & Sustainability)

เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ STGs (Sustainable Tourism Goals) ซึ่งรางวัลประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืนนั้น จะช่วยเพิ่มมูลค่า สร้างจุดเด่น และเพิ่มโอกาสทางการท่องเที่ยวในการเข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคุณค่า และมูลค่าของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวไทยสู่สากล เป็นการยกระดับภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวได้ว่า เมื่อเลือกใช้สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Thailand Tourism Awards ที่มีสัญลักษณ์เป็นกินรี มั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการจากผู้ประกอบการที่มีการการันตีมาตรฐานและคุณภาพ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและยั่งยืน (Safe and Sustainable Tourism) รวมทั้งการรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism)

โดยกรอบแนวคิดในการพิจารณาตัดสินรางวัล ครั้งที่ 14 ในปี 2566 นี้ อยู่บนพื้นฐานของ 3 แนวคิดหลัก คือ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ภายใต้กระบวนการจัดการที่คำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมโดยมีกลไกสำคัญ คือ โมเดลเศรษฐกิจยั่งยืนแบบใหม่ BCG Economy Model ผสานกับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการบริหารจัดการคาร์บอนต่ำ (Low Carbon & Sustainability management) และอีก 2 แนวคิดหลัก คือ ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Safety & Health Administration) และความสนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยว (Customers Interest)

การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 แบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก 14 สาขาย่อย ดังนี้

1. ประเภทแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 6 สาขา ประกอบด้วย
1.1 สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการผจญภัย (Outdoor & Adventure Activities)
1.2 สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ (Learning & Doing)
1.3 สาขาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (Nature & Park)
1.4 สาขาแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการและความบันเทิง (Recreation & Entertainment)
1.5 สาขาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical & Culture)
1.6 สาขาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (Local & Community)

2. ประเภทที่พักนักท่องเที่ยว (Accommodation) แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 4 สาขา ประกอบด้วย
2.1 สาขาลักซ์ชูรี โฮเทล (Luxury Hotel)
2.2 สาขาโลเคชั่น โฮเทล (Location Hotel)
2.3 สาขารีสอร์ต (Resort)
2.4 สาขาดีไซน์ โฮเทล (Design Hotel)

3. ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Tourism) แบ่งประเภทรางวัลย่อยออกเป็น 4 สาขา ประกอบด้วย
3.1 สาขาสปา (Spa)
3.2 สาขาเวลเนส สปา (Wellness Spa)
3.3 สาขาเวลเนส แอนด์ สปา รีทรีต (Wellness & Spa Retreat)
3.4 สาขานวดไทย (Nuad Thai for Health)

4. ประเภทรายการนำเที่ยว (Tour Programmes)

5. ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน Low Carbon & Sustainability

รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย แบ่งออกเป็น 3 รางวัล ดังนี้
1. รางวัลยอดเยี่ยม (Thailand Tourism Gold Award)
2. รางวัลดีเด่น (Thailand Tourism Silver Award)
3. เกียรติบัตรรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Certificate)
***โดยผลงานที่ได้รับรางวัล Thailand Tourism Gold Award จำนวน 3 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลประเภทเดียวกัน จะได้รับรางวัล Hall of Fame

สิทธิประโยชน์จากทางโครงการ ฯ

ผลงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จะได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย Thailand Tourism Awards ที่มีสัญลักษณ์เป็นกินรี เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดในการเสนอขายสินค้าและบริการแก่นักท่องเที่ยว และได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ส่งเสริมการขายและการตลาด ผลงานที่ได้รับรางวัลได้รับสิทธิ์ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายและการตลาดกับ ททท. ดังต่อไปนี้
● ได้รับเชิญเข้าร่วมงานส่งเสริมการขาย Trade Show/Road Show/Consumer Fair ของ ททท. และพันธมิตรที่ ททท. สนับสนุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มตลาด
● ได้รับสิทธิ์ส่วนลดค่าใช้จ่าย 50% ในการเข้าร่วมงานส่งเสริมการขายกับ ททท. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มตลาด
● ได้รับการนำเสนอข้อมูลขายผ่านสื่อการตลาดดิจิทัลของ ททท. ได้แก่ Video clip/ E-Book/Digital Brochure

2. ประชาสัมพันธ์ ผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ดังต่อไปนี้
● ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออฟไลน์ และออนไลน์ของ ททท. ได้แก่ เพจ Amazing Thailand และเพจ Thailand Tourism Awards/อนุสาร อสท.
● ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ข่าวออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์
● ประชาสัมพันธ์ผ่าน Blog/สื่อโซเชียลมีเดียท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง

3. ยกระดับพัฒนาองค์กร Upskill – Reskill
● ได้รับสิทธิ์ร่วมกิจกรรม Seminar/Workshop อาทิเช่น Online Digital Marketing Workshop และงานสัมมนาเจ้าบ้านที่ดี 2566 เป็นต้น

ทั้งนี้จะเปิดรับสมัครในวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2566 และประกาศผลรางวัลวันที่ 8 กันยายน 2566 โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันท่องเที่ยวโลก (World Tourism Day) วันที่ 27 กันยายน 2566

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ประสงค์เข้าร่วมการประกวด สามารถศึกษาข้อมูลคุณสมบัติและเกณฑ์การตัดสินเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสมัครได้ที่

www.thailandtourismawards.com
www.facebook.com/ThailandTourismAwardsNew
Line Official Account หลักของโครงการประกวดอุสาหกรรมท่องเที่ยวไทย : @tourismawards
Line Official Account แยกตามประเภทรางวัล
ประเภทแหล่งท่องเที่ยว : @tourismawards1
ประเภทที่พัก : @tourismawards2
ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : @tourismawards3
ประเภทรายการนำเที่ยว : @tourismawards4
ประเภทการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน : @tourismawards5

Written By
More from pp
สามารถ เป็นกระบอกเสียงส่งปัญหาชาวสวนมังคุดราคาตกต่ำ ล่าสุดระทมหนักต่ำสุดเหลือโลละ12 คนเก็บเอาโลละ10บาท ชาวสวนเหลืออะไร วอนรัฐบาลช่วยด่วน
24 กรกฏาคม พ.ศ.2564 นาย สามารถ เจนชัยจิตรวนิช ได้ส่งความเดือดร้อนของชาวสวนมังคุดที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศโดยเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ
Read More
0 replies on “รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2566 เปิดวิสัยทัศน์สู่ยุค Low Carbon ททท. ยกระดับเติบโตอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน”