กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ำท่วม ผลกระทบจากไต้ฝุ่น “โนรู” ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2565 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 22 จังหวัด สัญจรไม่ได้ 14 แห่ง

www.plewseengern.com
www.plewseengern.com

กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม ได้ทำการสรุปสถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง ผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโนรู สถานการณ์ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ อุบลราชธานี หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย กำแพงเพชร ชัยนาท ปราจีนบุรี ลำพูน เชียงใหม่ และ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 72 สายทาง จำนวน 97 แห่ง

ทางหลวงที่การจราจรผ่านได้ 84 แห่ง การจราจรผ่านไม่ได้ 14 แห่ง โดยทุกจุดมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร รายละเอียดดังนี้

1. จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 229 ตอน บ้านไผ่ – มัญจาคีรี ในพื้นที่ อำเภอมัญจาคีรี ช่วง กม. ที่ 23+800 – 24+595 ระดับน้ำ 55 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

2. จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

  • ทางหลวงหมายเลข 2170 ตอน วัดประทุมชาติ – หนองจาน ในพื้นที่ อำเภอจตุรัส ช่วง กม. ที่ 3+125 – 4+100 ระดับน้ำ 40 เซนติเมตร รถเล็กผ่านไม่ได้
  • ทางหลวงหมายเลข 2179 ตอน จตุรัส – บำเหน็จณรงค์ ในพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ช่วง กม. ที่ 13+500 – 13+600 น้ำกัดเซาะคันทางชำรุด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน คาดว่าจะผ่านได้ 7 ตุลาคม 2565
  • ทางหลวงหมายเลข 2484 ตอน เลี่ยงเมืองภูเขียว ในพื้นที่ อำเภอภูเขียว ช่วง กม. ที่ 7+300 – 7+500 ระดับน้ำ 15 เซนติเมตร

3. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

  • ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์ ช่วง กม. ที่ 312+200 – 313+384 ระดับน้ำ 50 60 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
  • ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์ ช่วง กม. ที่ 12+000 – 16+500 ระดับน้ำ 45 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

4. จังหวัดสุรินทร์ 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ลำน้ำชี – บ้านพม่า ในพื้นที่ อำเภอเมือง ช่วง กม. ที่ 163+250 – 163+750 ระดับน้ำ 40 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2485 และ ทล.293 แทน

5. จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 2150 ตอน คง – โนนไทย ในพื้นที่ อำเภอเมือง ช่วง กม. ที่ 40+000 – 40+300 ระดับน้ำ 10 – 45 เซนติเมตร รถเล็กผ่านไม่ได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

6. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 แห่ง

  • ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ช่วง กม. ที่ 319+600 – 320+200 ระดับน้ำ 60 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
  • ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อำเภอวารินชำราบ ช่วง กม. ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร แนะนำเส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี

7. จังหวัดลพบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  • ทางหลวงหมายเลข 205 ตอน เทศบาลลำนารายณ์ – ช่องสำราญ ในพื้นที่ อำเภอชัยบาดาล ช่วง กม. ที่ 82+800 – 84+600 ระดับน้ำ 40 – 70 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
  • ทางหลวงหมายเลข 205 ตอน คลองห้วยไผ่ – เทศบาลลำนารายณ์ ในพื้นที่ อำเภอชัยบาดาล ช่วง กม. ที่ 70+100 – 70+700 ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
  • ทางหลวงหมายเลข 2243 ตอน บัวชุม – สี่แยกบัวชุม ในพื้นที่ อำเภอชัยบาดาล ช่วง กม. ที่ 1+100 – 3+050 ระดับน้ำ 40 – 60 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน
  • ทางหลวงหมายเลข 2275 หนองบง – ซับลังกา ในพื้นที่ อำเภอชัยบาดาล ช่วง กม. ที่ 0+500 – 4+200 ระดับน้ำ 40 – 60 เซนติเมตร ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

โดยแขวงทางหลวงในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ พร้อมเร่งระบายน้ำและบำรุงรักษาเส้นทาง โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยจากการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ทล. ได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นอกจากนี้ ทล. ได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง ในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1



0 replies on “กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ำท่วม ผลกระทบจากไต้ฝุ่น “โนรู” ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2565 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 22 จังหวัด สัญจรไม่ได้ 14 แห่ง”